ธีร์ อันมัย: ผู้ว่าฯ แต่งตั้ง = ข้าหลวง ตัวถ่วงเหมือน ส.ว. 250 ตน

ผู้ว่าราชการจังหวัดของไทยก็คือ ‘ข้าหลวงของเจ้าอาณานิคม’ ที่ถูกส่งมาปกครองเมืองขึ้นหรืออาณานิคม เหมือนที่สเปนและโปรตุเกสเคยทำกับประเทศอาณานิคมในลาตินอเมริกา เหมือนอังกฤษเคยทำกับอินเดียกับพม่า เป็นต้น ผู้ว่าราชการจังหวัดของสยาม ก็เป็น ‘ข้าหลวง’ ของสยามที่ถูกส่งตรงจากกรุงเทพมหานครไปเป็นข้าหลวงตามหัวเมืองหรือจังหวัดต่างๆ แบบเจ้าอาณานิคมปกครองเมืองขึ้น และมันก็เป็นมากว่าร้อยปีแล้วและยังคงเป็นอยู่ ที่สำคัญ ที่มาของผู้ว่าราชการจังหวัดก็ไม่ได้ยึดโยงกับประชาชนในท้องถิ่น แต่มาจากการสั่งการของรัฐรวมศูนย์ที่กรุงเทพมหานคร นับตั้งแต่มีเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดมันทับซ้อนกับกลไกการปกครองส่วนท้องถิ่น ทับซ้อนกับนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ทับซ้อนกับนายกเทศมนตรี และทับซ้อนกับนายกองค์การบริหารส่วนตำบล คือทับซ้อนไปทั่ว ขณะที่บรรดานายกองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเหล่านี้ล้วนมาจากการเลือกตั้งของประชาชนในท้องถิ่น แต่อำนาจการบริหารงาน ยังต้องฝ่าด่านการตัดสินใจ ยังต้องผ่านการเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน จะว่าไปแล้ว ตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดในปัจจุบันมันก็เหมือน ‘ส.ว. 250 คน’ ที่มาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหาร คสช.นั่นล่ะ เพราะมันไม่ได้ยึดโยงกับประชาชน แต่ดันมีบทบาทและอำนาจล้นเกิน จนทำให้ระบอบเสรีประชาธิปไตยของไทยไม่ก้าวหน้า ส.ว. 250 ตนที่มาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหารไม่กี่คนดันมีอำนาจมากกว่าเสียงของประชาชนผู้มีสิทธิทั่วประเทศ เพราะกว่าเราจะได้ ส.ส. แต่ละคนนั้นประชาชนนับแสนคนต้องลงคะแนนเลือกตั้ง แต่ไอ้ที่มาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหารดันมีเสียงเท่ากับ ส.ส. ที่ประชาชนเลือกมา ขณะที่การเมืองการปกครองระดับท้องถิ่นเองก็มีผู้ว่าราชการจังหวัดที่เป็นร่างทรงของอำนาจที่ไม่ยึดโยงกับประชาชน รองนายกเทศมนตรีตำบลหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานีเคยเล่าถึงระบบราชการแบบกรมการปกครองของกระทรวงมหาดไทยว่า มันคือกลไกถ่วงความก้าวหน้าของท้องถิ่น แผนหรือนโยบายที่ฝ่ายบริหารที่มาจากการเลือกตั้งของคนในท้องถิ่นวางไว้ต้องล่าช้า เพราะต้องผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดที่ทำตัวเป็นคุณพ่อรู้ดี (สื่อมวลชนไทยก็มักเรียกผู้ว่าฯ ว่า “พ่อเมือง” ด้วยสิ) จนผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแทบจะตัดสินใจเชิงนโยบายไม่ได้ เห็นคนกรุงเทพฯ