แบบอย่างการกระจายอำนาจและการปกครองส่วนท้องถิ่นของญี่ปุ่น

การกระจายอำนาจของญี่ปุ่นเริ่มต้นขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1995 จากเหตุผลความไม่มีอิสระขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ต้องปฏิบัติงานตามคำสั่งรัฐบาลกลางที่ไม่เข้าใจบริบทและความต้องการที่แท้จริงของท้องถิ่น ดังนั้น จุดมุ่งหมายสาคัญของการกระจายอำนาจในปี ค.ศ. 1995 ก็คือ ความพยายามที่จะทำให้ท้องถิ่นมีความเป็นอิสระอย่างแท้จริงในการแก้ไขปัญหาของตนเองอย่างตรงจุด โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการกระจายอำนาจ (Decentralization Promotion Committee) ภายใต้กฎหมายการส่งเสริมการกระจายอำนาจ (Decentralization Promotion Law) ประธานกรรมการมาจากนักบริหารภาคเอกชนที่มีชื่อเสียง ซึ่งข้อเสนอจากคณะกรรมการได้นำไปสู่การประกาศใช้กฎหมายกระจายอำนาจในปี ค.ศ. 1999 และให้มีผลบังคับใช้ในปี ค.ศ. 2000 ผลพวงจากการกระจายอำนาจ 1995 ของญี่ปุ่น ทำให้เกิดยุคใหม่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความเป็นอิสระอย่างแท้จริง เบื้องหลังสำคัญก็คือ การแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการกระจายอำนาจจำนวน 475 ฉบับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายให้อิสระแก่ท้องถิ่น (Local Autonomy Law) โดยมีการยกเลิกหน้าที่ที่ถูกมอบหมาย (Delegation) โดยส่วนราชการที่ทำให้ผู้ว่าราชการจังหวัด และนายกเทศมนตรี ที่มาจากการเลือกตั้ง ต้องปฏิบัติหน้าที่ตามระบบการมอบอำนาจนั้นเป็นหัวใจสำคัญ ความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดังกล่าว เกิดขึ้นในช่วงที่มีการเปิดโปงการคอรัปชันในประเทศญี่ปุ่น ทำให้มีการจับตามองภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากขึ้นจากประชาชน จากเหตุการณ์นี้ ผู้นำท้องถิ่นกลุ่มปฏิรูป (改革派) จึงพยายามผลักดันให้รัฐบาลกลางให้ความเป็นอิสระในการบริหารจัดการท้องถิ่นมากขึ้นและให้การบริหารของรัฐเป็นไปอย่างโปร่งใสมากขึ้น รวมถึงความเคลื่อนไหวในระดับท้องถิ่นเพื่อแสดงประสิทธิภาพในการจัดการตนเองเพื่อเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหารจัดการจากหน่วยล่างขึ้นไปยังหน่วยบนที่เป็นระดับของชาติ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่ประกอบด้วยปัจจัยเสริมหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระแสโลกาภิวัฒน์

เหรียญสองด้านของรัฐราชการญี่ปุ่น-ไทย

นับตั้งแต่การรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติในปี พ.ศ. 2557 คำว่ารัฐราชการได้กลับมาได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายอีกครั้งจากการที่มีนักวิชาการตั้งข้อสังเกตว่าหรือการเมืองไทยกำลังกลับไปเป็นรัฐราชการอีกครั้ง ซึ่งรัฐราชการในที่นี้ เป็นรูปแบบการบริหารปกครองที่มีแนวโน้มรวมอำนาจในการบริหารปกครองและกำหนดนโยบายต่างๆ อยู่ที่รัฐบาล ระบบราชการส่วนกลางและกรุงเทพมหานครอย่างเข้มข้น มีการกระจายอำนาจไปยังการบริหารส่วนท้องถิ่นน้อย ภาคส่วนอื่นๆ โดยเฉพาะภาคสังคม ประชาชนมีบทบาทและส่วนร่วมน้อย ข้าราชการทหารและพลเรือนมีอำนาจในการตัดสินนโยบายสำคัญ ท่านผู้อ่านอาจคุ้นกับลักษณะดังกล่าวและคำอธิบายว่าด้วย รัฐราชการรวมศูนย์ อยู่บ้าง ซึ่งคำว่ารัฐราชการนั้นถูกนำมาใช้อธิบายลักษณะการบริหารปกครองของไทยมาตั้งแต่ในห้วงการปกครองของคณะราษฎรที่อำนาจในการบริหารปกครองอยู่กับข้าราชการทหารและพลเรือน หรือก็คือกลุ่มคณะราษฎร รัฐราชการมีความเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลานำมาสู่การขับเคลื่อนเพื่อลดอำนาจรัฐราชการรวมศูนย์ การกระจายอำนาจไปยังท้องถิ่น และข้อเรียกร้องในการปฏิรูประบบราชการ อย่างไรก็ตามหากมองในบริบทโลกแล้วลักษณะสำคัญของรัฐราชการ ซึ่งก็คือการบริหารปกครองที่พลังฝ่ายข้าราชการทหารและพลเรือนมีอำนาจในการตัดสินใจนโยบายสำคัญและกำหนดทิศทางของประเทศนั้น ไม่ได้ถือเป็นลักษณะเฉพาะที่เกิดในประเทศไทยเท่านั้น ในประเทศอื่นๆ เช่น อินโดนีเซีย อาร์เจนตินา หรือญี่ปุ่นเองก็มีช่วงเวลาที่พลังจากระบบราชการมีอำนาจเหนือฝ่ายการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งเช่นกัน ในบทความนี้ผู้เขียนจะพาผู้อ่านไปรู้จักกับรัฐราชการญี่ปุ่นกลไกขับเคลื่อนรัฐที่ทำให้ญี่ปุ่นเข้าสู่หนึ่งในประเทศที่การพัฒนาทางเศรษฐกิจก้าวกระโดด และเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ญี่ปุ่นถือเป็นประเทศที่มีท้องถิ่นเข้มแข็ง มีการกระจายอำนาจไปยังท้องถิ่นอย่างเข้มข้น ผู้บริหารท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งของประชาชน และมีอำนาจหน้าที่ยึดโยง รับผิดชอบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ เมื่อกล่าวถึงญี่ปุ่นเราจะไม่ได้นึกถึงเพียงโตเกียวที่เป็นเมืองหลวงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเมืองอื่นๆ เช่น โอซาก้า โกเบ ฟุคุโอกะ ฮอกไกโด คุมาโมโตะ ซึ่งนอกจากเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญแล้ว ยังมีสินค้าประจำท้องถิ่นที่ได้รับความนิยมทั้งในและนอกประเทศ เช่น เนื้อวัวโกเบ มาสคอตหมีคุมาโมโตะ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการสร้างแรงจูงใจให้คนกลับไปทำงานในระดับท้องถิ่น เช่น การที่เงินเดือนข้าราชการท้องถิ่นมากกว่าข้าราชการส่วนกลาง การขนส่งสาธารณะโดยเฉพาะรถไฟที่มีค่อนข้างทั่วถึงในเมืองใหญ่ หลังสงครามโลกครั้งที่

จักรพรรดิญี่ปุ่นให้อิสรภาพต่อรัฐบาล ทิศทางชัดเจนนำพาญี่ปุ่นสู่อนาคตด้วยกระจายอำนาจ

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนของญี่ปุ่น โดยสถานะใหม่ด้วยการประกาศความเป็นมนุษย์ ของ พระจักรพรรดิฮิโรฮิโตะ สละสถานะของพระองค์เอง โดยประกาศว่า เขาไม่ใช่พระเจ้าและแนวคิดเรื่องความเป็นพระเจ้าของจักรพรรดินั้นไม่เป็นความจริง ณ วันที่ 1 มกราคม 1946 อำนาจของจักรพรรดิจำกัดอยู่แต่ทางพิธีการ รัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1947 มาตรา 4 ระบุว่า “จักรพรรดิทรงปฏิบัติกิจที่เกี่ยวข้องกับราชการแผ่นดินตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญนี้เท่านั้น และไม่ทรงมีอำนาจในราชการแผ่นดิน” ส่วนมาตรา 3 ก็ระบุว่า “กิจของจักรพรรดิที่เกี่ยวเนื่องกับราชการแผ่นดิน ต้องเป็นไปตามคำแนะนำและความยินยอมของคณะรัฐมนตรี และให้คณะรัฐมนตรีรับผิดชอบกิจดังกล่าว” หลังจากนั้นจักรพรรดิญี่ปุ่นได้รับการป่าวประกาศว่าเป็นสัญลักษณ์แห่ง เอกภาพของประชาชนชาวญี่ปุ่น ด้วยรัฐะรรมนูญใหม่ ว่า “จักรพรรดิจะเป็นสัญลักษณ์ของรัฐและความสามัคคีของประชาชน” ตามที่ระบุไว้อย่างชัดเจนในมาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญ ที่ระบุอย่างชัดเจนว่า จักรพรรดิไม่มีอำนาจเกี่ยวข้องกับรัฐบาล นับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงของจักรพรรดิญี่ปุ่นที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลกกว่า 200 ปี ได้ออกจากอำนาจทางการเมืองและการบริหารและส่งต่อกระจายอำนาจไปสู่รัฐบาล และกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นที่เคลื่อนนโยบายและโครงการต่างๆ แม้ว่าจักรพรรดิของญี่ปุ่นจะไม่มีอำนาจทางการเมือง และสามารถแสดงความคิดเห็นต่อการเมืองและการบริหารของรัฐบาลได้ จักรพรรดิมีความหมายสำหรับประชาชนในเชิงสัญลักษณ์ และเป็นส่วนสำคัญของสังคมของญี่ปุ่นที่ผลต่อโครงสร้างทางสังคมของประเทศให้เป็นปึกแผ่น ที่มีการออกสื่อสาธารณะเป็นพักๆ แม้ว่าการมีอยู่ของสถาบันจักรพรรดินั้นมีประชาชนที่มีความรู้สึกแตกต่างกันเป็นกลุ่มๆ ไป มีทั้งกลุ่มที่สนับสนุน กลุ่มที่ไม่ได้แสดงความคิดเห็นและ กลุ่มที่ต่อต้านสถาบันจักรพรรดิอย่างเปิดเผย เป็นเรื่องปกติที่แสนธรรมดาในสังคมญี่ปุ่น

สังคมเอียงขวากับการพัฒนาประชาธิปไตยประสบการณ์จากญี่ปุ่น

ในบทความชิ้นก่อน ผู้เขียนได้กล่าวถึงแนวคิดอนุรักษนิยมของญี่ปุ่นที่มีความเข้มข้นขึ้นภายใต้การบริหารประเทศของรัฐบาล พรรคเสรีประชาธิปไตย ที่ครองอำนาจมาอย่างยาวนาน ในบทความนี้ก่อนที่จะพาผู้อ่านไปรู้จักกับสังคมอนุรักษ์ของญี่ปุ่น ผู้เขียนจะขอนิยามความหมายของสังคมอนุรักษนิยมเพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกันเสียก่อน แนวคิดอนุรักษ์ หรือขวา ในที่นี้หมายถึงความนิยมในวัฒนธรรม ศีลธรรม เน้นระเบียบวินัย เน้นการใช้อำนาจบังคับ นิยมชมชอบชนชั้นสูงและขุนนาง มีลักษณะชาตินิยมในเชิงลบสุดขั้ว ให้คุณค่ากับกลุ่มคนหรือชุมชนมากกว่าปัจเจก ต่อต้านความเปลี่ยนแปลงและมุ่งรักษาค่านิยมดั้งเดิมของสังคมเอาไว้ โดยความหมายของมันแล้วอนุรักษนิยมดูจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตยแบบเสรีอยู่มิใช่น้อย ในกรณีของประเทศญี่ปุ่นนั้นทั้งสังคมและการเมืองของญี่ปุ่นล้วนฉายให้เห็นภาพของความอนุรักษ์ที่เข้มข้น จุดเริ่มต้นของแนวคิดอนุรักษนิยมญี่ปุ่นสมัยใหม่เป็นผลมาจากแนวคิดชาตินิยมสุดโต่งแบบญี่ปุ่นในช่วงจักรวรรดิญี่ปุ่นออกล่าอาณานิคมเพื่อหาแหล่งทรัพยากรใหม่ๆ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 นอกจากกองทัพแล้วคนญี่ปุ่นและรัฐบาลยังสนับสนุนแนวคิดของกองทัพที่รู้สึกว่าชนชาติของตนเองมีวิญญาณนักรบ มีความเหนือกว่าชนชาติอื่นๆ ในโลก[1] คล้ายกับชาตินิยมสุดโต่งของนาซีเยอรมันที่เชื่อว่าชาวอารยันคือชนเผ่าที่ดีกว่าชนเผ่าอื่นๆ ในกรณีของญี่ปุ่นนำไปสู่การบุกรุกจีนจนเกิดโศกนาฎกรรมนานกิง รวมถึงการบุกรุกฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และเกาหลี ซึ่งการล่าอาณานิคมของจักรวรรดิญี่ปุ่นก็ยุติลงเมื่อญี่ปุ่นพ่ายแพ้ต่อสหรัฐอเมริกานำมาสู่การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่และการเข้ามามีอิทธิพลในญี่ปุ่นของสหรัฐฯ และทำให้ญี่ปุ่นไม่สามารถมีกองทัพประจำการได้อีกต่อไป อย่างไรก็ตามรากฐานความคิดชาตินิยมของญี่ปุ่นไม่ได้หายไปด้วยแต่ยังคงฝังรากลึกอยู่ในสังคมและการเมืองญี่ปุ่น แนวคิดอนุรักษนิยมทางการเมืองของญี่ปุ่นปรากฏอย่างชัดเจนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498 ระบอบการเมืองของญี่ปุ่นมีความเปลี่ยนแปลงน้อย มีการเปลี่ยนพรรคการเมืองหลักในรัฐบาลเพียงแค่ 4 ครั้ง และไม่มีการเปลี่ยนแปลงพรรคการเมืองหลักในช่วงปี พ.ศ. 2498 – 2536 เลย[2]  ซึ่งพรรคการเมืองหลักที่เป็นพรรครัฐบาลมาอย่างยาวนานในประวัติศาสตร์การเมืองญี่ปุ่นคือพรรคเสรีประชาธิปไตย (LDP) ซึ่งเป็นพรรคที่มีแนวคิดทางการเมืองแบบเอียงขวามาทางอนุรักษนิยม ตัวอย่างเช่น ในการออกฎหมายที่สนับสนุนการสมรสเท่าเทียมของกลุ่มเพศหลากหลาย ขณะที่พรรคร่วมรัฐบาลอื่นๆ สนับสนุนการออกกฎหมายดังกล่าว แต่พรรค LDP ยืนกรานที่จะไม่สนับสนุนข้อกฎหมายนี้[3] นอกจากนี้ยังมีนโยบายหรือการแสดงออกจากรัฐบาลพรรค

จากระบบศักดินาสวามิภักดิ์สู่การกระจายอำนาจ: การปรับตัวหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ของญี่ปุ่น

ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีเรื่องราวด้านการปกครองด้วยเจตนารมณ์รวมญี่ปุ่นเป็นแผ่นดินเดียวกันในแต่ละยุคสมัยต่างๆ ได้อย่างน่าสนใจ เพราะในปัจจุบันญี่ปุ่นใช้ระบอบการปกครองเป็นรัฐเดี่ยว ระบบรัฐสภา ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญด้วยระบอบประชาธิปไตย มีจักรพรรดิหรือกษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศ และมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำในการบริหารประเทศ มีกฎหมายสูงสุดคือรัฐธรรมนูญ เช่นเดียวกับ ประเทศไทย แต่ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีการปกครองในระบบรัฐสภาที่มีเสถียรภาพ และญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ใส่ใจและลงมือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมออย่างมากเมื่อเทียบกับหลายประเทศในเอเชีย แต่การที่ญี่ปุ่นจะมาถึงจุดนี้ได้ต้องผ่านเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ทางการเมือง การต่อสู้ สงคราม มาอย่างยาวนาน เเละการแย่งชิงอำนาจทางการเมืองนั้นเกิดขึ้น ช่วงแรกญี่ปุ่นภายใต้ จักรพรรดิ และผู้ที่ดำรงตำแหน่ง โชกุน ที่ดำเนินการบริหารอำนาจการปกครอง โดยผู้ที่ดำรงตำแหน่งโชกุนมาตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1185 เป็นเวลาเนิ่นนานมากกว่า 600 ปี การปกครองแบบระบบฟิวดัล (ระบบศักดินาสวามิภักดิ์) ผ่านการบริหารในรูปแบบจุดอำนาจอยู่ที่เดียว การเกิดกบฏและสงครามกลางเมืองอยู่บ่อยครั้ง นี่เป็นผลสะท้อนของความไม่พึงพอใจของผู้คนในแคว้นต่างๆ ยิ่งช่วงสุดท้ายของยุคเอโดะภายใต้โชกุนที่บริหารด้วยความเผด็จการทางทหารที่ปกครองและยังกระจายอำนาจแบบเลือกพรรคเลือกพวก ทำให้ก่อเกิดสงครามแย่งอำนาจบานปลายกลายเป็นสงครามกลางเมืองหรือสงครามโบะชิง (Boshin) และสิ้นสุดระบอบโชกุนในปี 1868 ในที่สุดเริ่มก้าวใหม่ของการปกครองของญี่ปุ่นแม้ว่าเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์กับราชาธิปไตยในรัฐธรรมนูญเมจิ แต่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญและยิ่งใหญ่มากกว่านั้นได้มาหลังจากการที่ญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ญี่ปุ่นต้องทำตามเสียงเรียกร้องจากฝ่ายชนะสงคราม (สัมพันธมิตร) ที่ต้องการล้างความเชื่อดั้งเดิมว่า จักรพรรดินั้นเป็นเทพเจ้า เป็นเพียงแค่คนธรรมดา การประกาศความเป็นมนุษย์ ของพระจักรพรรดิฮิโรฮิโตะสละสถานะของพระองค์เอง โดยประกาศว่า เขาไม่ใช่พระเจ้าและแนวคิดเรื่องความเป็นพระเจ้าของจักรพรรดินั้นไม่เป็นความจริง ณ วันที่ 1 มกราคม

ทางออกของท้องถิ่นไทย: เลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ 

บทเรียนจากสหรัฐอเมริกา ในโลกสมัยใหม่ สหรัฐฯ เป็นชาติแรกที่มีการปกครองท้องถิ่นที่เข้มแข็ง เนื่องจากคนอเมริกันที่ก่อตั้งประเทศส่วนใหญ่เป็นคนอังกฤษที่รักในสิทธิเสรีภาพ พวกเขาคิดต่างด้านศาสนาและอุดมการณ์ทางการเมืองกับผู้นำประเทศ จึงถูกปราบปราม จับกุมคุมขัง ที่เหลือจึงหลบหนีออกมา ไปสร้างชุมชนใหม่ในโลกใหม่ และขยายเพิ่มโดยมีคนยุโรปจากประเทศอื่นๆ ที่มีความเห็นร่วมอพยพตามมา จนจัดตั้งอาณานิคมได้ 13 แห่งยาวเกือบตลอดแนวชายฝั่งตะวันออก และเพราะอยู่ไกลมากจากอังกฤษ จึงปล่อยให้พวกเขาจัดการบริหารท้องถิ่นกันเอง ซึ่งกลายเป็นประชาธิปไตยท้องถิ่นขั้นพื้นฐาน และพัฒนาเป็นขบวนต่อสู้กับลัทธิล่าอาณานิคม ต่อสู้กับอังกฤษ ได้สถาปนาสหรัฐเป็นประเทศเอกราชขึ้นในปี 1776 จัดตั้งระบบการปกครองท้องถิ่นของตนเองแบบใดก็ได้ถึง 4-5 แบบ และยังจัดระบบการศึกษาและโบสถ์ในท้องถิ่นและรัฐของตนเองได้ด้วย ฯลฯ สำหรับสหรัฐฯ ประชาธิปไตยที่ท้องถิ่นเกิดก่อนระดับชาติ และเป็นรากฐานของประชาธิปไตยทั่วประเทศนับตั้งแต่นั้น คนอเมริกันจึงแทบไม่รู้จักคำว่าการกระจายอำนาจ เพราะท้องถิ่นมีแทบทุกอย่าง บทเรียนจากเยอรมนี-ญี่ปุ่น การปฏิวัติอุตสาหกรรมเริ่มครั้งแรกที่อังกฤษในช่วงทศวรรษ 1760-70 ไล่เลี่ยกับการปฏิวัติอเมริกัน โรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้นและอัดแน่นในบริเวณเดียวกัน กรรมกรก็อัดแน่นในบริเวณรอบๆ เพราะตอนนั้นยังไม่มียวดยานใดๆ เมื่ออยู่อย่างแออัด ชุมชนเมืองที่เกิดขึ้นจึงมีปัญหาตามมาตั้งแต่การกินอยู่ เสียงดัง ขยะ ห้องน้ำ  ทางเดิน ระบบประปา พื้นที่ส่วนรวม ฯลฯ วิกฤตสร้างโอกาส การปกครองท้องถิ่นจึงเป็นความจำเป็นที่จะต้องเกิดเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งต่างๆ ในชุมชนเมืองที่นับวันขยายตัว  สำหรับเยอรมนีและอิตาลีซึ่งมีขนาดและพละกำลังพอๆ กับอังกฤษและฝรั่งเศส แต่ตั้งอยู่ห่างออกไปจึงได้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมช้าไปอีก 1

การปกครองท้องถิ่นญี่ปุ่น: เมื่อการกระจายอำนาจอาจนำไปสู่ความเจริญหลากมิติ

ประเทศญี่ปุ่นเป็น 1 ในประเทศที่คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี ผู้อ่านอาจเคยเดินทางไปยังแดนอาทิตย์อุทัยมาแล้ว หรือมีความคุ้นเคยกับผลิตภัณฑ์ สินค้าต่างๆ เช่น รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารหรือแม้กระทั่งสื่อนิยาย อะนิเมะ เกมต่างๆ ที่มีที่มาจากญี่ปุ่น บางคนอาจพอทราบว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีการปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้มแข็ง แต่หลายคนอาจยังไม่เห็นภาพนักว่าความเข้มแข็งที่ว่านั้นเป็นอย่างไร และส่งผลอย่างไรต่อชีวิตของคนญี่ปุ่น บทความนี้จึงจะพาผู้อ่านไปทำความรู้จักญี่ปุ่นในเรื่องการกระจายอำนาจและการปกครองส่วนท้องถิ่นให้มากขึ้น เพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพว่าเมื่อมีกระจายอำนาจมากขึ้น มีการปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้มแข็งแล้วประชาชนในพื้นที่จะมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไร ส่งผลอย่างไรต่อประชาธิปไตยของประเทศ และจริงหรือไม่ที่กระจายอำนาจแล้วความเจริญจะกระจายไปด้วย โดยจะเริ่มจากการนำเสนอภาพรวมการปกครองท้องถิ่นญี่ปุ่น ตัวอย่างที่เกิดขึ้นในท้องถิ่น และบทสรุปสำหรับประเทศไทย ญี่ปุ่นเป็นรัฐเดี่ยว ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสมเด็จพระจักรพรรดิทรงเป็นประมุข การบริหารราชการแผ่นดินนั้นเป็นระบบสองชั้น (Two tiers system) คือ การบริหารราชการส่วนกลาง ประกอบไปด้วยรัฐสภาเป็นสถาบันสูงสุดของรัฐ มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล โดยนายกรัฐมนตรีได้รับการเลือกจากสมาชิกรัฐสภาซึ่งประกอบด้วย 2 สภา คือสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา และการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ได้แก่ จังหวัดและเทศบาล การจัดการปกครองญี่ปุ่นสมัยใหม่เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงคราม สหรัฐอเมริกาได้เข้ามาในนามคณะยึดครองพร้อมกับปฏิรูประบบเศรษฐกิจ ระบบการเมือง และการบริหารของญี่ปุ่น โดยให้ความสำคัญกับการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น ให้ท้องถิ่นมีอิสระที่จะปกครองตนเองตามหลักการของระบอบประชาธิปไตย โดยบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของญี่ปุ่นที่ประกาศใช้เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ.