วันที่ 24 มิถุนายน 2475 วันที่คณะราษฎรปฏิวัติให้ประเทศนี้เป็นประชาธิปไตย ในวันเดียวกันปี 2566 คณะก่อการล้านนาใหม่ ก็ประกาศกร้าวขึ้นอีกครั้ง แห่ไม้ก้ำ ค้ำจุนประชาธิปไตยให้เกิดขึ้น ปักหมุดกระจายอำนาจ และรัฐสวัสดิการต้องถ้วนหน้า แห่ไม้ก้ำ เป็นประเพณีล้านนาเดิมที่ประชาชนจะเอาไม้ง่ามไปค้ำที่ต้นโพธิ์ในวัดต่างๆ เพื่อสื่อสารถึงการค้ำจุนศาสนาพุทธ แต่ในครั้งนี้แห่ไม้ก้ำได้นำมาใช้อีกครั้ง เพื่อค้ำจุนประชาธิปไตยให้ก้าวหน้า เกิดการกระจายอำนาจ ให้อำนาจเป็นของประชาชน โดยต้องมีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ ไม่เอาผู้ว่าราชการจังหวัดจากการแต่งตั้งของรัฐส่วนกลาง และมีรัฐสวัสดิการเพื่อให้รัฐไม่ใช้อำนาจในทางอื่นใดนอกจากรับใช้ประชาชน นอกจากกิจกรรมแห่ไม่ก้ำประชาธิปไตย ปักหมุดหมายกระจายอำนาจ ในวันที่ 24 มิถุนายน 2566 ยังมี เสวนา-รัฐธรรมนูญ-กระจายอำนาจ จัดที่โรงแรม iBis Style เชียงใหม่ โดยคณะก่อการล้านนาใหม่ มช.ขอย้าย โดยการเสวนา ถูกประกาศขอให้ย้ายสถานที่ เนื่องจากคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้เหตุผลว่า ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หนึ่งในวิทยากรขึ้นพูด รวมถึงเนื้อหาในงาน ทำให้เกิดความกังวลเกรงว่าเสวนานี้จะเป็นการเผยแพร่แนวคิดแบ่งแยกดินแดน และสร้างความขัดแย้งในสังคมได้ โดยทางคณะนิติศาสตร์จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเช่าสถานที่ให้ เสวนา-รัฐธรรมนูญ-กระจายอำนาจ วันที่ 23 มิถุนายน 2566 ณ
เมื่อเดือนกันยายน 2565 ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสไปกล่าวปาฐกถาและร่วมเสวนาในโครงการสัมมนาปัญหาการเมืองไทย ภายใต้หัวข้อ เนาะแบนอ ผู้ว่าฯ รูเมาะฮ์กีตอ กระแสการเรียกร้องเลือกตั้งผู้ว่าฯ กับการปกครองพิเศษชายแดนใด้ ของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ซึ่งเป็นโครงการฯ ที่ดีมาก มีกิจกรรมของนักศึกษาหลายอย่าง มีการสาธิตการเลือกตั้ง ฯลฯ แต่ที่ผมประทับใจมากที่สุดอย่างหนึ่ง คือ การจัดทำเอกสารประกอบการเสวนาฯ เล่มเล็กๆ เล่มหนึ่ง ซึ่งจัดทำโดยนักศึกษาล้วนๆ มีเนื้อหาที่น่าสนใจมาก และมีการอ้างอิงที่มาในบรรณานุกรมอย่างเป็นระบบ ในเนื้อหาประกอบไปด้วยประวัติศาสตร์การเรียกร้องและการผลักดันการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด/พัฒนาการผู้ว่าราชการจังหวัดของไทย/ปัญหาผู้ว่าราชการจังหวัดจากการแต่งตั้ง/ข้อดีของการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด/ข้อเสียของระบบผู้ว่าราชการจังหวัดจากการเลือกตั้ง/ผู้ว่าราชการจังหวัดของญี่ปุ่น/อิทธิพลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ต่อกระแสความต้องการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด//แนวทางและข้อเสนอการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด/โอกาสและความเป็นไปได้ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด/อุปสรรคการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดและกระแสการเรียกร้องเลือกตั้งผู้ว่าฯ กับการปกครองพิเศษชายแดนใต้ ซึ่งผมเห็นว่าเป็นประโยชน์เป็นอย่างยิ่ง และน่าจะได้นำออกเผยแพร่สู่สาธารณะ โดยผมจะยกเอามาเพียงบางส่วนและตอบข้อสงสัยเหล่านั้น คือ หัวข้อ ข้อเสียของระบบผู้ว่าราชการจังหวัดจากการเลือกตั้ง ซึ่งผมเชื่อว่ายังมีผู้เข้าใจและสงสัยไปในทำนองนี้เป็นจำนวนมาก และมักจะถูกยกมาเป็นข้ออ้างพื่อโต้แย้งกระแสการรณรงค์เลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดอยู่เสมอ คือ 1.ทำให้รัฐบาลขาดเอกภาพในการบริหารการปกครองหากให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะหัวหน้าฝ่ายบริหารขององค์การบริหารส่วนจังหวัดแล้ว จะมีผลทำให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นหน่วยงานปกครองท้องถิ่นที่เต็มรูปซึ่งจะสามารถกำหนดนโยบายและการดำเนินการต่างๆ ในเขตจังหวัดของตนเองได้อย่างเต็มที่ ซึ่งอาจมีสาระสำคัญที่แตกต่างกัน ถ้าเป็นลักษณะเช่นนี้จะก่อให้เกิดความวุ่นวายสับสน องค์การบริหารส่วนจังหวัดแต่ละแห่งก็จะพยายามแยกตนออกเป็นเอกเทศ ตอบ – ไม่จริง ยิ่งเป็นเอกภาพเพราะเป็นการควบรวมราชการส่วนภูมิภาคกับราชการส่วนท้องถิ่นเข้าด้วยกัน ไม่ต้องเกิดการทับซ้อนในอำนาจหน้าที่เช่นในปัจจุบันนี้ ส่วนประเด็นการที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดแต่ละแห่งจะพยายามแยกตนออกเป็นเอกเทศยิ่งเป็นไปไม่ได้ เพราะไม่ใช่รัฐอิสระ 2.จะมีผลต่อประสิทธิภาพและงบประมาณในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดยังมีทีมงานนับตั้งแต่ ปลัดจังหวัดในอำเภอและข้าราชการส่วนภูมิภาคตลอดจนกำนันผู้ใหญ่บ้านที่จะช่วยการปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ให้บังเกิดความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพจะมีผลกระทบต่องบประมาณของจังหวัดซึ่งมีน้อยอยู่แล้ว
การมีชีวิตของคนหนึ่งคน ไม่ได้หมายถึงการดำรงอยู่อย่างโดดเดี่ยว ไม่ได้หมายถึงแค่การเกิดมาปรากฏบนดาวเคราะห์ นับตั้งแต่วินาทีแรก การมีชีวิตเริ่มต้นขึ้นและดำเนินต่อไป โดยมีการเอาชีวิตรอดเป็นกิจกรรมหลัก มนุษย์เป็นสัตว์สังคม จึงไม่สามารถดำรงชีวิตได้โดยไม่มีมนุษย์คนอื่นๆ อยู่ด้วย เมื่อมาอยู่รวมกัน ไม่ว่าจำนวนมากหรือน้อย การปฏิสัมพันธ์กันระหว่างมนุษย์ต่อมนุษย์หลายๆ คน เป็นสภาพการณ์อัตโนมัติที่จำเป็นต้องสร้างกติกาบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นข้อตกลง ข้อห้าม การกำหนดว่าอะไรถือเป็นสิ่งที่ดีและทำได้ อะไรคือการกระทำที่ต้องได้รับโทษ ความสัมพันธ์ที่โยงใยกันไปมาในกลุ่มบุคคลขนาดต่างๆ สร้างฉากแห่งการดำรงอยู่ของคน ยิ่งพัฒนาการของปฏิสัมพันธ์เคลื่อนผ่านไป ไม่ว่าจะเป็นการข้ามผ่านเวลาและประสบการณ์ ผ่านการขยายกลุ่มสมาชิกของสังคมนั้นๆ ผ่านปฏิสัมพันธ์อันหลากหลาย เหตุแห่งความร่วมมือหรือเหตุแห่งความขัดแย้ง ถูกผลักดันไปโดยกงล้อที่วิ่งวนไปมา ภายใต้สิ่งที่เรียกว่า การเมือง การเมืองในภาษาอังกฤษ คือคำว่า Politic มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก คือคำว่า Polis ที่แปลเป็นไทยได้ว่า รัฐ หรือ ชุมชนทางการเมือง ในแง่ของคำนิยาม คำว่า Politic ถูกตีความไปในความหมายที่หลากหลายทฤษฎี แต่หากพูดกันให้เข้าใจง่ายๆ การเมืองคือการพยายามบริหารจัดการการอยู่ร่วมกันของคนในสังคม พอมนุษย์กลุ่มหนึ่งต้องการสร้างหลักเกณฑ์กติกาการอยู่ร่วมกัน ด้วยความหวังว่าตัวของเราในฐานะปัจเจกจะอยู่รอดปลอดภัย และมีชีวิตที่ดี จึงเกิดกระบวนการกำหนดบรรทัดฐาน อาศัยอำนาจ เพื่อออกแบบสิ่งเหล่านั้น คำว่าอำนาจทางการเมือง สำหรับ ฮาโรลด์ ลาสเวล (
เชื่อหรือไม่ว่าประเทศไทยเราน่าจะเป็นประเทศที่มีการเสนอข่าวเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมายผ่านทางสื่อทั้งสื่อกระแสหลักและสื่อสังคมออนไลน์มากที่สุดในโลก ถ้าท่านลองสังเกตดูให้ดี จะพบว่าปัญหาข้อขัดแย้งในสังคมที่ถูกหยิบยกสู่การนำเสนอของสื่อโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการเมืองการปกครอง ล้วนแล้วแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายแทบทั้งสิ้น ผู้ที่ตกเป็นจำเลยก็คือบรรดานักกฎหมายทั้งหลายนั่นเองที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นตัวยุ่ง เป็นตัวสร้างปัญหาให้แก่บ้านเมือง เพราะในการให้ความเห็นในปัญหากฎหมายของนักกฎหมาย (ทั้งของจริงและของไม่จริง) ผ่านสื่อต่างๆ ก็มักมีความเห็นสวนทางกันอยู่เสมอ สุดแล้วแต่ว่าตนเองเชียร์ฝ่ายใด โดยมีธงคำตอบอยู่ในใจไว้ล่วงหน้าแล้วก่อนที่จะตีความปัญหา ข้อกฎหมายนั้นๆ ปัญหาที่น่าปวดหัวของคนทั่วไปที่ไม่ได้ร่ำเรียนมาทางกฎหมายโดยตรง (ในบางครั้งก็รวมถึงนักกฎหมายเองด้วย) ก็คือปัญหาในการตีความศัพท์แสงทางกฎหมาย ซึ่งโดยปกติแล้วการตีความกฎหมายจะมีการตีความตามตัวอักษร (Textual Approach) และการตีความตามเจตนารมณ์ (Purposive Approach) ฉะนั้น จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นจะต้องรู้จัก ภาษา ที่ใช้ในกฎหมาย ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ (1) ภาษาคนหรือภาษาธรรมดาทั่วไป โดยปกติถ้อยคำหรือภาษาในกฎหมายทั่วๆ ไปแล้ว ย่อมมีความหมายตามที่ คนทั่วไปเข้าใจ การตีความก็ต้องตีความไปตามความหมายของศัพท์เหล่านั้น เช่น ฆ่า ก็ย่อมหมายถึงทำให้ตายหรือเสียชีวิต ฯลฯ (2) ภาษากฎหมายหรือภาษาทางเทคนิค หมายถึง ภาษาที่มีความหมายพิเศษ กว้างขวางลึกซึ้ง แตกต่างไปจากภาษาธรรมดา หรือภาษาที่คนใช้อยู่ทั่วๆ ไป ภาษากฎหมายนี้ใช้และเข้าใจกันอยู่ในบรรดาของแวดวงนักกฎหมายที่เข้าใจกันเป็นการเฉพาะ ในประเด็นนี้ ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ์ ได้ยกตัวอย่างในรายงานการวิจัย เรื่อง
บรรณ แก้วฉ่ำ ปัจจุบันสวมบทบาท อนุกรรมาธิการการปกครองท้องถิ่น เขาเชี่ยวชาญเรื่ององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ชูข้อเสนอเรื่องจังหวัดจัดการตนเอง ด้วยประสบการณ์ในการทำงานเป็นหัวหน้าฝ่ายนิติการ อบจ.พระนครศรีอยุธยา ทำให้เห็นปัญหา มองขาดว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องมีอะไรบ้าง และลุกขึ้นมาทำงานผลักดันเรื่องการกระจายอำนาจมาตลอด “ถ้าหากเรากระจายอำนาจ กลุ่มข้าราชการจะเสียประโยชน์ เวลาฝั่งที่ไม่เห็นด้วยจะอ้าง มักยกเรื่องความมั่นคง แบ่งแยกประเทศ ขัดต่อความเป็นหนึ่งเดียวของรัฐ อุปสรรคไม่ใช่ประชาชนไม่เห็นด้วย ประชาชนเห็นด้วย นักวิชาการทั่วประเทศนี่เห็นด้วย แต่เป็นฝ่ายข้าราชการประจำ โดยเฉพาะในกระทรวงมหาดไทยที่จะเสียประโยชน์ ที่จะกลัวความเสี่ยงเรื่องความก้าวหน้า คือโดยมากมองแต่ประโยชน์ตนเอง” บทสัมภาษณ์ชิ้นนี้ จะมาชวนคุยเรื่องปัญหาของระบบราชการแบบรวมศูนย์ ทำความเข้าใจว่าการกระจายอำนาจคืออะไร ดีอย่างไร ปัจจุบันประเด็นนี้ถูกผลักดันไปมากน้อยแค่ไหน ก่อนเข้าเรื่อง รบกวนช่วยเล่าให้คนที่ยังไม่เข้าใจเรื่องระบบราชการ ที่แบ่งเป็นส่วนกลาง ภูมิภาคและท้องถิ่น ลำดับการทำงานมันเป็นอย่างไร และทำไมจึงมีปัญหา หลักการปกครอง ก็คือหลักการบริหารระบบราชการ ของประเทศเราแบ่งเป็น 3 ส่วน คือส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น แต่โดยเนื้อแท้แล้วจริงๆ มันมีแค่ 2 ส่วน เพราะส่วนภูมิภาคถูกนับรวมเข้าเป็นการบริหารราชการกับส่วนกลาง เนื่องจากเป็นมือเป็นไม้ของส่วนกลางที่จะเอื้อมเข้ามากำกับดูแลท้องถิ่น ฉะนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนกลางกับราชการส่วนภูมิภาค จึงเป็นเรื่องการบังคับบัญชา ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของ
แม้ว่าการปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ และเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารราชการแผ่นดิน แต่เมื่อวิเคราะห์จากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ เปรียบเทียบกับหลักการกระจายอำนาจหรือการปกครองท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ที่ได้บัญญัติไว้ในหมวด ๕ แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา ๗๖ ซึ่งกำหนดให้รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบาย การตัดสินใจทางการเมือง การวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รวมทั้งการตรวจสอบการ ใช้อำนาจรัฐทุกระดับ นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ มาตรา ๘๗ ก็ได้บัญญัติให้รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายและการมีส่วนร่วมของประชาชนไว้อย่างละเอียดเช่นกัน ส่วนรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ในหมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่บังคับให้รัฐต้องทำ และหมวด ๖ แนวนโยบายแห่งรัฐ ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่กำหนดให้รัฐพึงดำเนินการ แต่ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการส่งเสริมการกระจายอำนาจหรือการปกครองท้องถิ่นบัญญัติไว้เลย ทั้งนี้ เมื่อพิจารณามาตรา ๒๘๒ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ที่บัญญัติว่า “ภายใต้บังคับมาตรา ๑ รัฐจะต้องให้ความเป็นอิสระแก่ท้องถิ่นตามหลักแห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น” ซึ่งเห็นได้ชัดเจนว่ารัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ได้ให้ความสำคัญกับความเป็นอิสระในบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นอย่างมาก นอกจากนี้มาตรา ๒๘๓ วรรคสาม ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ก็ได้กำหนดให้มีกฎหมายกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจสู่องค์ปกครองส่วนท้องถิ่นไว้ด้วย ซึ่งแตกต่างจากรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐
วานนี้ 16 กันยายน 2565 ณ สภาผู้แทนราษฎร มีการพิจารณา รายงานการศึกษา เรื่อง การบริหารราชการ รูปแบบจังหวัดจัดการตนเอง (Self-governing Province) ต่อจากคราวก่อน เมื่อศุกร์ที่ 2 กันยายน 2565 วาระนี้ถูกบรรจุอยู่แล้ว แต่การที่พวกเราร่วมลงชื่อ รวมถึงส่งตัวแทนไปยื่นรายชื่อและข้อเรียกร้อง ต่อ ซูการ์โน มะทา ประธานคณะกรรมาธิการการกระจายอำนาจ การปกครองส่วนท้องถิ่น และการบริหารราชการรูปแบบพิเศษ จนมีการเชิญให้เข้าประชุมชี้แจงที่สภาฯ ซึ่งมีตัวแทนจากกระทรวงมหาดไทยเข้าร่วมรับฟัง มีส่วนช่วยผลักให้วาระพิจารณามาเร็วขึ้น สามารถอ่านได้ที่ https://thevotersthai.com/voteourgovernor/ และในการประชุมครานั้น มีการประท้วงจนต้องเลื่อนไปเป็นวันที่ 16 กันยายน ดังกล่าว สามารถอ่านได้ที่ https://thevotersthai.com/sorrywenotagree/ ศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 ทำหน้าที่เป็นประธานสภากล่าวถึง รายงานการบริหารราชการรูปแบบจังหวัดจัดการตนเอง ซึ่งคณะกรรมธิการกระจายอำนาจฯ พิจารณาเสร็จแล้ว และเชิญคณะกรรมาธิการเข้าประจำที่ วิวรรธน์ นิลวัชรมณี ส.ส.สุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายก่อนว่า ตนขอสนับสนุนรายงานเล่มนี้
กระแสการเรียกร้องให้แต่ละจังหวัดได้มีโอกาสในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นของตนเองนั้น ได้มีเป็นระยะๆ มาช้านานกว่า 30 ปีแล้ว โดยเสียงเริ่มดังขึ้นเรื่อยๆ ดังมากหน่อยก็ตอนมีการรณรงค์เรื่องจังหวัดจัดการตนเองที่วางโครงสร้างให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งแพร่ขยายไปถึง 58 จังหวัด แต่มาดังเป็นพลุแตกกระจายไปทุกจังหวัดในช่วงของการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยคุณชัชชาติเป็นผู้ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งและทำงานอย่างทุ่มเท ทำให้ทุกจังหวัดอยากเลือกตั้งผู้ว่าฯ ของตนเองบ้าง อย่างไรก็ตาม ในสายตาของนักวิชาการผู้เชี่ยวด้านการบริหารราชการแผ่นดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการปกครองท้องถิ่นหรือการกระจายอำนาจได้ให้ความเห็นที่น่าฟังเป็นอย่างยิ่งว่า แม้นจะมีโอกาสเลือกผู้ว่าราชการจังหวัดได้ก็จริง แต่หากยังมี ราชการส่วนภูมิภาค อยู่ก็จะยิ่งเละ หรือยุ่งไปมากกว่าเดิมเสียอีก ในเรื่องของข้อเสนอให้มีการยกเลิกราชการส่วนภูมิภาคนั้น ได้เคยถูกนำเสนอไว้แล้วเมื่อ 18 เมษายน 2554 ในหนังสือปกสีส้ม ข้อเสนอการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ ของคณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) จำนวน 19 คน ที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีกรรมการที่มีชื่อเสียงอีกหลายราย อาทิ ชัยอนันต์ สมุทรวณิช / นิธิ เอียวศรีวงศ์ / พระไพศาล วิสาโล / เสกสรรค์ ประเสริฐกุล / ม.ร.ว.อคิน รพีพัฒน์ ฯลฯ โดยมีเหตุผลที่สำคัญโดยย่อคือ “…เนื่องจากราชการส่วนภูมิภาคเป็นสายอำนาจบัญชาการที่สำคัญของรัฐบาล
ถ้าประชาชนไม่ออกมาเรียกร้องทุกจังหวัดจริงๆ แม้แต่ประชาชนเชียงใหม่ไม่แสดงพลังมากพอ โอกาสที่จะให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ อย่างที่ We’re All Voter เคยเสนอก็เกิดขึ้นได้ยาก คนรุ่นใหม่คิดแบบนี้ได้ แต่จะเปลี่ยนความคิดของคนรุ่นเก่านั้นยาก ไม่ใช่เรื่องของอารมณ์ ว่ากันตามหลักการสากลผ่านงานวิจัยศึกษาและเทียบเคียงประเทศการปกครองคล้ายไทยอย่างอังกฤษหรือญี่ปุ่นซึ่งมีสถาบันพระมหากษัตริย์ การเลือกตั้งผู้ว่าฯ และกระจายอำนาจคือการกระจายคุณภาพชีวิตที่ดีสู่คนทั้งประเทศ คือมรรคาขยับบ้านเมืองสู่ประเทศพัฒนา ขออนุญาตยกตัวอย่างอีกสักเรื่อง การกระจายอำนาจคือการรวมแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่น เมื่อผู้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี คงมีไม่ใครคิดแยก ในอินโดนีเซีย ครั้นสิ้นสุดอำนาจของ ซูฮาโต ความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ ศาสนา ปัญหาการแบ่งแยกดินแดนเคยรุมเร้าในอดีตที่ถูกกดไว้ทวีรุนแรงขึ้น อินโดนิเซียมีผู้นำและนักวิชาการที่สนใจการกระจายอำนาจ เกิดปรากฏการณ์ Big Bang Decentralization ตรากฎหมาย 2 ฉบับ นับเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการกระจายอำนาจ อาเจะห์ที่คล้ายกรณี 3 จังหวัดชายแดนใต้ของไทย แก้สำเร็จด้วยการกระจายอำนาจให้มีการเจรจาตกลงกัน “จังหวัดจัดการตนเองนั่นแหละ คนที่อยู่ใต้ดินก็ขึ้นมาอยู่บนดินหมด” ชำนาญ จันทร์เรือง นักวิชาการด้านกระจายอำนาจเคยกล่าว กลุ่ม We’re all voters : เลือกผู้ว่าฯ ทั่วประเทศต้องเกิดขึ้นจริง ก่อนเปลี่ยนเป็น The Voters เคยยื่นหนังสือข้อเรียกร้องและรายชื่อประชาชนแก่
UPDATE! ส.ส.เพื่อไทย (บางคน) ค้าน เลื่อนอภิปรายเลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ * เพื่อความเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย ท่านสามารถรับชมการอภิปรายเต็มๆ ที่ https://www.youtube.com/watch?v=JfnpuQalFZs อยู่ในช่วงท้ายๆ ศุกร์ที่ 2 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา สภาผู้แทนราษฎรมีการอภิปรายเกี่ยวกับการ #ให้ประชาชนในต่างจังหวัดทุกจังหวัดมีอำนาจเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดของตนเอง ตลอดทั้งข้อเสนอให้ #ยุบรวมราชการส่วนภูมิภาคเข้าเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามหลักการ เรื่อง ‘จังหวัดจัดการตนเอง’ ซึ่งเป็นข้อเสนอในรายงานคณะกรรมาธิการการกระจายอำนาจฯ สามารถอ่านรายงานย้อนหลังที่ลิงค์ https://thevotersthai.com/voteourgovernor/ เริ่มต้นโดย ชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา กล่าวเปิดถึง รายงานการศึกษา เรื่อง การบริหารราชการ รูปแบบจังหวัดจัดการตนเอง ซึ่งคณะกรรมาธิการการกระจายอำนาจ การปกครองท้องถิ่นและการบริหารราชการรูปแบบพิเศษได้พิจารณาแล้วเสร็จ โดยได้เชิญ บรรณ แก้วฉ่ำ และชำนาญ จันทร์เรือง เข้าร่วมชี้แจง สาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ จังหวัดตรัง อภิปรายก่อนว่า ในคณะกรรมาธิการล้วนเป็นผู้คร่ำหวอด แนวคิดจังหวัดจัดการตนเองเป็นเรื่องที่พูดกันมานาน แต่ไปไม่ถึงฝั่งฝัน โดยบอกว่าประชาธิปัตย์สนับสนุนแนวคิดนี้ น่าเสียดายที่รายงานฉบับนี้
- 1
- 2