เบนจา อะปัญ: กระจายอำนาจ ประชาธิปไตย และกระบวนการยุติธรรม

นับตั้งแต่กระแสลมของการชุมนุมระลอกใหม่ได้อุบัติขึ้นในปี 2563 จนถึงปัจจุบัน มีกลุ่มนักศึกษา และคนรุ่นใหม่หลายคนก้าวออกมานำการเรียกร้องประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ปฏิเสธไม่ได้ว่าสิ่งนี้พามาซึ่งความเปลี่ยนแปลงที่ไม่เพียงปลุกผู้คนให้ตระหนักถึงปัญหา และร่วมมองไปยังอนาคตที่ดีกว่า หากยังรวมไปถึงการปักหมุดทางความคิดในเรื่องสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน และความเทียมเท่ากันในฐานะมนุษย์ให้กับสังคมไทย เบนจา อะปัญ หนึ่งในนักศึกษาที่เปิดหน้าต่อสู้กับเผด็จการสืบทอดอำนาจ แม้ตัวเธอเองจะกล่าวกับผมว่าไม่เคยมองว่าตัวเองเป็นแกนนำ หากเป็นแต่เพียงคนคนหนึ่งที่เชื่อว่าประเทศนี้สามารถดีกว่าที่เป็นอยู่ได้ กระนั้น ในภาพจำของผู้คนส่วนใหญ่ เบญจาก็ถือเป็นหนึ่งบุคคลที่เปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของการชุมนุมในช่วงเริ่มต้น เบญจาเกิดและโตที่จังหวัดนครราชสีมา ก่อนที่จะเข้ามาเรียนต่อในกรุงเทพฯ ผ่านชีวิตและเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ทำให้มองเห็นถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำ สิทธิมนุษยชน และโครงสร้างสังคมที่กดถ่วงผู้คน อย่างไรก็ตาม เบญจาถูกดำเนินคดีด้วยมาตรา 112 จากการปราศรัยหน้าตึกซิโนไทย ในวันที่ 10 สิงหาคม 2564 เธอถูกคุมขังในเรือนจำเป็นเวลา 99 วัน และสวมกำไลอีเอ็มหลังจากออกมาแล้วอีก 11 เดือน 12 วัน เรานัดพบกันที่คาเฟ่ย่านอารีย์ เลือกโต๊ะหน้าร้านริมทางเท้า ต่อหน้าชีสเค้ก และโกโก้เย็น ซึ่งหลังจากพูดคุยกัน คงไม่เกินเลยหากผมจะกล่าวว่า เบญจาคือภาพสะท้อนของคนรุ่นใหม่ที่จะเป็นกำลังสำคัญของประเทศ และสิ่งที่ท่านจะได้อ่านต่อจากนี้ ก็คือบทสัมภาษณ์ของเธอ ท่ามกลางสนธยาครานั้น การกระจายอำนาจในมุมมองของคุณคืออะไร การทำให้ส่วนย่อยได้มีอำนาจในการตัดสินในเรื่องต่างๆ ด้วยตนเอง ถ้ามองภาพกว้างระดับประเทศก็คือเราไม่ต้องรอส่วนกลาง จังหวัดหรือตำบลสามารถจัดการเรื่องในท้องถิ่นเองได้

ทำไมต้องลงชื่อร่างเลือกตั้งผู้ว่าทั่วประเทศ

กล่าวอย่างไม่อ้อมค้อม ผมมีเรื่องสำคัญจะปรึกษาหารือกับคุณผู้อ่านและขอใช้เวลาไม่มากนัก มันเกี่ยวข้องกับสาเหตุว่าทำไม ประเทศไทยจึงมีแค่เมืองหลวงเท่านั้นที่เจริญ ส่วนพื้นที่อื่นๆ ล้วนมีคุณภาพชีวิตย่ำแย่ ขนส่งสาธารณะไม่ได้เรื่อง ผู้คนไม่มีงานทำต้องเร่ร่อนเข้ากรุง น้ำประปาขุ่นราวโคลน เหตุผลหลักๆ ข้อหนึ่งคือ เราไม่มีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ คุณผู้อ่านอาจสงสัยคลางแคลงใจว่ามันเกี่ยวกันได้อย่างไร เกี่ยวครับ เกี่ยวมากด้วย ผมขออนุญาตปูพื้นเล็กๆ น้อยๆ ประเทศเราประกอบไปด้วย 3 ส่วน 1.ราชการส่วนกลาง 2.ราชการส่วนภูมิภาค และ3.ส่วนท้องถิ่น 3 ส่วนนี้โยงใยกันอย่างที่เราคาดไม่ถึง   ถอยเข็มนาฬิกากลับไปในปี พ.ศ. 2440 รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสอังกฤษ นำการปกครองท้องถิ่นของที่นั่นเข้ามาจัดตั้งสุขาภิบาลกรุงเทพฯ แต่เป็นการบัญชาการทุกอย่างจากเบื้องบน ประชาชนไม่มีส่วนร่วม แต่งตั้งขุนนางในกระทรวงเป็นผู้บริหารสุขาภิบาล ปี 2448 จัดตั้งสุขาภิบาลทั่วประเทศ ทุกอย่างยังคงเดิม คือ ให้ขุนนางบริหารสุขาภิบาล ประชาชนไม่มีบทบาทใดๆ ไม่มีการเลือกตั้ง ไม่มีการให้การศึกษาอบรมใดๆ แก่คนท้องถิ่น เมื่อเกิดกบฏตามภาคต่างๆ ในทศวรรษ 2440 รัฐไทยจึงปราบกบฏ เข้ายึดครองและปกครองอาณานิคมรอบๆ โดยตรง ยกเลิกฐานะประเทศราชและระบบเจ้าผู้ปกครอง ผนวกดินแดนโดยรอบ

รู้หรือไม่ ในร่างเลือกตั้งผู้ว่าทั่วประเทศ ประชาชนมีส่วนร่วม

การกระจายอำนาจและงบประมาณ ไม่ได้หมายถึง การกระจายไปให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเท่านั้น แต่ต้องกระจายให้ประชาชนมีอำนาจและมีส่วนร่วม ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฯ ที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานสภาท้องถิ่นเพื่อให้สภาท้องถิ่นพิจารณาออกข้อบัญญัติท้องถิ่นได้ ข้อบัญญัติท้องถิ่นหมายถึง ข้อบังคับ หรือ กฎหมายที่องค์กรปกครองท้องถิ่นเป็นผู้ออก ได้แก่ กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตลาด สถานที่จำหน่าย สะสมอาหาร เป็นอาทิ จำนวนผู้มีสิทธิเข้าชื่อ หลักเกณฑ์และวิธีการเข้าชื่อ รวมทั้งการตรวจสอบรายชื่อ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ ประชาชนในท้องถิ่นมีสิทธิในการมีส่วนร่วมการบริหารกิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่จัดให้มีวิธีการให้ประชาชนมีส่วนร่วมดังกล่าว ให้มีกฎหมายว่าด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่นในการบริหารกิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งอย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้ 1.จัดให้มีการศึกษาผลกระทบและการรับฟังความคิดเห็นก่อนการดำเนินการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีผลกระทบต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในท้องถิ่นในสาระสำคัญ 2.การจัดให้มีการออกเสียงประชามติของประชาชนในท้องถิ่นเพื่อตัดสินใจในเรื่องสำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น จะสร้างอะไรที่ใช้เงินมาก 3.การจัดตั้งสภาพลเมืองประจำท้องถิ่นให้สมาชิกมาจากการสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันภายในประชาชนในท้องถิ่นทุกปี เพื่อทำหน้าที่ เสนอแนะ และ ตรวจสอบ การบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4.การจัดทำงบประมาณแบบมีส่วนร่วม โดยให้ประชาชนในท้องถิ่นได้ตัดสินใจเลือกโครงการหรือแผนงานที่จะนำงบประมาณรายจ่ายไปใช้ได้ เช่น โครงการที่จะส่งเสริมคุณภาพชีวิตประชาชนให้ดีขึ้น ขนส่งสาธารณะ การจัดการน้ำประปาให้ใสสะอาด 5.การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของการดำเนินการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยให้ประชาชนในท้องถิ่นเข้าถึงข้อมูลข่าวสารนั้นได้โดยง่ายและไม่เสียค่าใช้จ่าย

ศิลปะผูกขาดและการเลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ

หากจะพูดถึงงานศิลปะ เราอาจนึกถึงผลงานที่ยิ่งใหญ่ระดับโลกในแต่ละยุคสมัยของประวัติศาสตร์ศิลปะ เทคนิคและแนวคิดที่แยบยล อย่าง ภาพอาหารมื้อสุดท้าย ของ เลโอนาร์โด ดา วินชี  แห่งยุคสมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยา งานศิลปะที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคม อย่าง คาราวัจโจ ศิลปินผู้กบฎต่อความศรัทธาต่อศาสนาผ่านผลงานของเขาชื่อ มรณกรรมของพระแม่มารี และเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการศิลปะบาโรคด้วย หากกลับมามองที่ปัจจุบัน เราสามารถเข้าถึงศิลปะได้ง่ายขึ้น มีเทคนิคและรูปแบบการนำเสนอที่แตกต่างไปจากอดีต จนเกิดเป็นศิลปะแขนงใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมายทั่วโลก แต่ถ้าดูงานศิลปะในไทย เราจะพบว่างานศิลปะนั้นยังคงไม่ก้าวหน้า มีรูปแบบที่คล้ายคลึงกันตามกระแสนิยม หรืออาจอยู่ในสินค้ารูปแบบต่างๆ ตลอดจนงานที่ได้รับการยกย่องและมีราคาสูงนั้นก็มักหนีไม่พ้นงานที่เล่าด้วยเรื่อง ความดีงามของมนุษย์ผ่านแนวคิดทางศาสนาและคุณธรรม ยกย่องชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ซึ่งไม่ได้ผิดอะไรเพียงแต่ความหลากหลายและเสรีภาพในการรังสรรค์งาน จนถึงการนำเสนองานออกมานั้นยังเป็นสิ่งที่น่าชี้ชวนต่อการตั้งคำถามว่า ศิลปะมีเสรีภาพอยู่หรือไม่ ราวกับมีมุ้งบางๆ ครอบศิลปะไทยไว้ว่า จงจรรโลงสังคมอย่างประณีตบรรจง และหลีกเลี่ยงการวิพากษ์วิจารณ์สังคมเพราะอำนาจของ ‘ใคร’ บางคนอยู่หรือไม่ บทสัมภาษณ์ชิ้นนี้จะพาไปคุยกับ อ.ทัศนัย เศรษฐเสรี อาจารย์ภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ผู้นำเสนอการวิพากษ์วิจารณ์สังคมและการเมืองไทย ผ่านงานศิลปะ อย่าง นิทรรศการ WHAT YOU DON’T SEE WILL HURT

เดินเลียบน้ำแม่ข่า ในน้ำมีคน: แม่ข่าในกิโลเมตรก่อนหน้าและถัดไป

หมายเหตุ: ศ.ดร.ธเนศวร์ เจริญเมือง เสนอว่า ควรเรียกแม่ข่าว่า ‘แม่น้ำ’ ไม่ใช่ ‘คลอง’ เหตุหนึ่งเพราะคนเมืองในอดีตเรียกว่าน้ำแม่ข่า ไม่ใช่คลองแม่ข่า เหตุหนึ่งเพราะแม่ข่าเป็นน้ำธรรมชาติไหลลงมาจากดอยสุเทพ จากหลักฐานโบราณไม่มีการเรียกแม่ข่าว่าคลอง ในบทความชิ้นนี้ผู้เขียนจะใช้คำว่า น้ำแม่ข่า เป็นหลักเท่าที่จะทำได้ ข้อความบางส่วนจะคงไว้ว่า ‘คลอง’ ตามคำให้สัมภาษณ์ของแหล่งข่าวและเอกสารการพัฒนาเมืองในยุคหลัง การปรับภูมิทัศน์แม่ข่าระยะ 750 เมตรแรกเปลี่ยนใบหน้าแม่ข่าราวน้ำคนละสาย จากน้ำเน่าในระดับ 5 ถูกปรุงแต่งด้วยกลิ่นอโรมาของโอกาสทางเศรษฐกิจตลอดความยาวตั้งแต่ถนนระแกงถึงประตูก้อม แม่น้ำสวยงามประดับประดาด้วยดอกไม้สีสดใส ผู้คนยิ้มแย้มอัธยาศัยดี ร้านค้าต่างปรับตัวให้กลมกลืนกับบรรยากาศแบบโอตารุ  แม้ว่าฉายานามนี้จะขัดอกขัดใจ เสาวคนธ์ ศรีบุญเรือง อยู่ไม่น้อย “ก็ทำไมต้องโอตารุ เชียงใหม่ก็คือเชียงใหม่” แม่ข่ามีความยาวทั้งหมด 31 กิโลเมตร ส่วนที่ไหลผ่านเข้ามาในเทศบาลเมืองเชียงใหม่มี 11 กิโลเมตร แม้ผู้คนมากมายจะอาศัยอยู่ริมแม่น้ำสายเดียวกัน แต่เส้นทางคดโค้งของลำน้ำกลับขีดเขียนเรื่องราวผู้คนในชุมชนแต่ละแห่งต่างออกไป ใบหน้าใหม่ของแม่ข่าทำให้ผู้อยู่อาศัยเดิมรวมถึงคนภายนอกมองเห็นเหมืองทองคำสะท้อนอยู่ในเงาน้ำซึ่งครั้งหนึ่งมีสีดำและเน่าเหม็น แม้ปัญหาหลักอย่างสิทธิในที่อยู่อาศัยจะยังไม่ถูกแก้ แต่เรือลำไหนจะกล้าขวางกระแสน้ำ ความสำเร็จของแม่ข่าในระยะ 750 เมตรแรกไม่สามารถกลบคำถามที่มีต่ออนาคตของแม่ข่าในกิโลเมตรถัดไป แม่ข่าไม่ได้มีเพียง 750 เมตร ตลอดความยาว 11 กิโลเมตรที่แม่ข่าไหล่ผ่านเทศบาลเมืองเชียงใหม่ ยังคงมีผู้คนและเรื่องราวดำเนินไปอย่างเงียบเชียบ We Walk

กระจายอำนาจก่อนวอนนภาอีกไม่นานคงไม่ได้พบกัน

ประมงท้องถิ่นหาดวอนนภา เป็นประมงพื้นบ้านใช้เรือเล็กในการออกทำประมง และเป็นอีกชุมชนหนึ่งที่อยู่ท่ามกลางพื้นที่ท่องเที่ยวของบางแสน แต่เศรษฐกิจกลับสวนทางกับการเติบโตของบางแสน ตอนนี้รายได้จากการทำประมงพื้นบ้านกำลังลดลง รวมถึงปริมาณสัตว์ทะเลที่ลดลงสวนกระแสกับความคึกคักของบางแสนที่ไม่เคยขาดผู้มาเยือนอยู่ตลอดปี แต่ก่อนลุงก็ออกไปหาปลาเหมือนกัน ออกครั้งหนึ่งก็จะได้ 10-20 ก.ก. ต่อรอบ แต่ตอนนี้บางทีออกไปยังได้มาแค่พอทำแกงกินที่บ้าน 3-4 ก.ก.ต่อครั้ง พอขายได้นิดหน่อย ได้แค่นั้นแหละ สุทิน ถวิลหา ชาวประมงในชุมชนหาดวอนนภา ทำประมงมาเกินกว่า 10 ปี “แต่ก่อนได้ปลาเยอะ ปลาทู ปลาทราย สารพัด ออกจากหน้าหาดไปนิดเดียวก็ได้ละ ตัวใหญ่ด้วย แต่ทุกวันนี้ออกไปไกลขึ้น ปลายังน้อยกว่าแต่ก่อนมาก ค่าน้ำมันพงอีก ยิ่งไม่คุ้มที่จะออกไปหาปลาเลย” สุทิน เปรียบเทียบความคุ้มค่าในการทำประมงทุกวันนี้ว่าไม่คุ้ม เพราะค่าน้ำมันที่แพงขึ้น ปริมาณปลาที่ลดลง ทำให้การทำประมงพื้นบ้านของหาดวอนนภากำลังลดลงไปด้วยเช่นกัน พื้นที่การท่องเที่ยวขยายตัวไปในชุมชน การท่องเที่ยวขยายตัวมันก็ดี นักท่องเที่ยวมาเยอะ แต่มันก็มีผลเสียต่อประมงพื้นบ้านนะ วิรันดร์ สีวันพิมพ์ ชาวประมงท้องถิ่นชุมชนหาดวอนนภา หมู่ 14 เล่าถึงผลกระทบจากการท่องเที่ยว ว่ามีผลต่อประมงชุมชน เพราะทำให้เกิดการเช่าที่ดินริมหาดไปเป็นร้านอาหารริมทะเล และนั่นทำให้ไม่สามารถเอาเรือจอดเข้าฝั่งได้ พอมีร้านอาหารเข้ามา เราก็จะไปจอดเรือตามหน้าหาดไม่ได้ เดี๋ยวไปบังหน้าร้านเขา ของจากทะเลเอาขึ้นมาก็ขาดพื้นที่ในการขนย้าย แกะปลาจากอวนหรือซ่อมเรือก็ไม่มีพื้นที่หาดที่จะทำ

บทกวีคือการทรยศ กระจายอำนาจในบทกวี

เราทุกคนมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก และสามารถเป็นผู้บันทึกประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์ส่วนตัว หรือประวัติศาสตร์บ้านเมือง บางท่านอาจคุ้นชินกับเอกสารวิชาการ หรือบทความในรูปของสารคดี วรรณกรรม ภาพถ่าย แต่ยังมีเครื่องมืออีกชิ้นหนึ่งที่ไม่เพียงบันทึกเรื่องราว หากยังรวมถึงความรู้สึกนึกคิด จิตใจ อุดมการณ์ กระแสเสียง และการแสดงออกของผู้คนในแต่ละยุคสมัย เรากำลังพูดถึงบทกวี เวลาบ่าย แสงแดดสังสรรค์กับผิวน้ำเป็นประกายระยิบ ในร้านกาแฟริมแม่น้ำเจ้าพระยา ผมนั่งอยู่กับกวี 2 คน นักอ่านรู้จักพวกเขาในนาม รอนฝัน ตะวันเศร้า และ ชัชชล อัจฯ เราเลือกนั่งโต๊ะที่ถูกแยกไว้ในห้องเล็กๆ ที่เต็มไปด้วยตลับเทปและแผ่นเสียง แล้วบทสนทนาก็ค่อยๆ ไต่ความเข้ม ไล่เรียงตั้งแต่ความหมายของบทกวี ความเป็นส่วนหนึ่งของกันและกันระหว่างบทกวีกับการต่อสู้เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย ล่วงไปถึงเรื่อง การกระจายอำนาจ การเลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ การเมืองในภาพใหญ่ และการชักชวนจ้องมองใบหน้าของเผด็จการไทย บทกวีคืออะไร “ถ้าเป็นเมื่อ 7-8 ปีที่แล้ว ผมอาจบอกว่าบทกวีคือการปลดปล่อย การระเบิดออก ตะโกน สำราก ด้วยช่วงเวลานั้น เรารู้สึกอยากปลดปล่อยบางอย่างที่เวลาปกติแทบไม่มีโอกาสได้ทำ ผมเริ่มเขียนบทกวีจริงจังราวปี 2552 ซึ่งก็มีสถานการณ์หลายอย่างที่มันเกิดขึ้นแล้วเรารู้สึกอยากปลดปล่อย “แต่ปัจจุบัน ผมรู้สึกว่าคำตอบนั้นเปลี่ยนไป ในเวลานี้สำหรับผม

ท้องถิ่นอภิวัฒน์ด้วยการกระจายอำนาจ

ภายในสองปีนับแต่การประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ให้คณะรัฐมนตรีจัดทำแผนการยกเลิกราชการส่วนภูมิภาค นับเนื่องเป็นความภาคภูมิยิ่งที่มหาวิทยาลัยบูรพา เชิญผมไปร่วมเสวนาวิชาการ วันสถาปนาคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ประจำปี 2566 ในหัวข้อ ภูมิภาคอภิวัฒน์ ท้องถิ่นอภิวัฒน์ การออกเเบบการกระจายอำนาจของรัฐไทย ในวันที่ 26 มกราคม 2566 เวลา 13.00 – 17.30 น. ณ ห้องประชุม 402 ชั้น 4 คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ท่านสามารถดูสดและย้อนหลังได้ทาง www.facebook.com/Polsci.LawBuu ร่วมกับวิทยากรท่านอื่นๆ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ แห่ง คณะก้าวหน้า / วรภพ วิริยะโรจน์ ส.ส. พรรคก้าวไกล  / และ 3 เอกอุด้านกระจายอำนาจ อ.ชำนาญ จันทร์เรือง / บรรณ แก้วฉ่ำ รวมไปถึง อ.โอฬาร ถิ่นบางเตียว เจ้าถิ่น มีนักการเมืองแล้ว นักรณรงค์ปลดล็อกท้องถิ่นแล้ว นักวิชาการแล้ว ผมขอพูดในฐานะคนทำสื่อ

8 ข้อเสียของการกระจายอำนาจ

ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการกระจายอำนาจ มักหยิบยกข้ออ้างสารพัดราวตนเองเป็นพหูสูตหรือปราชญ์ผู้หยั่งรู้ฟ้าดิน ในฐานะที่ผมเป็นคนรู้น้อยจึงจำเป็นยิ่งที่ต้องศึกษาให้มาก และครูคนสำคัญของผมคือ อาจารย์ชำนาญ จันทร์เรือง ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการกระจายอำนาจ ตัวจริงเสียงจริง รวมถึง ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ธเนศวร์ เจริญเมือง คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ชำนาญในสาขาวิชาการเมืองการปกครอง และด้านการเมืองการปกครองส่วนท้องถิ่น ผมขออนุญาตลำดับเป็นข้อๆ ที่ว่าจะเกิดความเสียหายแก่ประเทศนั้น มีอะไรบ้าง 1.กระจายอำนาจแล้วจะโกงกินมาก ตอบ: ไม่จริง ข้อมูลความเสียหายที่ประเมินมูลค่าได้ จากการตรวจสอบของ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เมื่อปีงบประมาณ 2564 ระบุว่า มูลค่าความเสียหายรวม 4,224.90 ล้านบาทนั้น เกิดจากส่วนกลางมากกว่าท้องถิ่นเสียอีก โดยแบ่งเป็นความเสียหายจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) 715.08 ล้านบาท (จากการตรวจสอบ 7,886 หน่วยรับตรวจ) และความเสียหายจากหน่วยงานราชการส่วนกลางและภูมิภาค 3,510.82 ล้านบาท (จากการตรวจสอบ 1,962 หน่วยรับตรวจ) นอกจากนี้ การแสดงความเห็นต่อรายงานการเงินอย่างไม่มีเงื่อนไข (การตรวจสอบงบการเงิน) พบว่า อปท. สอบผ่าน 92% (ตรวจจาก 7,849

ปิยบุตร แสงกนกกุล: จับคนเคยทำรัฐประหารมาติดคุก

ในประวัติศาสตร์ระยะไกล ปิยบุตร แสงกนกกุล เคยเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย เป็นหนึ่งในคณะนิติราษฎร์ชุมนุมนักวิชาการที่ยึดมั่นหลักการที่สุดคณะหนึ่ง เขยิบเข้ามาในประวัติศาสตร์ระยะใกล้หน่อย ปิยบุตรคือ ส.ส.พรรคอนาคตใหม่ ก่อนถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรค ใกล้เข้ามาอีก ปิยบุตรคือเลขาธิการ คณะก้าวหน้า มุ่งมั่นให้ความรู้คนเรื่องการปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ไม่ว่าจะประวัติศาสตร์ระยะไหน หนึ่งสิ่งที่ทำให้กระดูกสันหลังของเขาตั้งตรง คือไม่ยอมรับการรัฐประหาร ไม่ว่าจะยกเหตุผลสวยหรูประดามีมากมาย   นับตั้งแต่ปี 2475 ประเทศไทยมีรัฐประหารมาแล้ว 13 ครั้ง และครั้งล่าสุดในปี 2557 ยึดอำนาจโดย คสช. นำโดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จัดเป็นการรัฐประหารที่มีการสืบทอดอำนาจยาวนานที่สุดเท่าที่ประเทศไทยเคยมีมา อะไรทำให้ประเทศไทยเดินมาถึงจุดนี้ มีสิ่งใดบ้างที่เป็นกลไกในการเกิดของวงจรอุบาทว์ เราในฐานะประชาชนจะรวมพลังกันต้านรัฐประหารที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคตได้อย่างไร รวมไปถึงการลบล้างผลพวงรัฐประหารจะเป็นจริงได้หรือไม่ เราจะจับคนเคยทำรัฐประหารมาติดคุกได้ไหม และคำถามสำคัญไม่ถามไม่ได้ จะมีการรัฐประหารในอนาคตอีกหรือเปล่า “ถ้าเชื่อกันจริง ๆ ว่ารัฐประหารทำให้นักการเมืองดีขึ้น ทำให้การเมืองไทยดีขึ้น ทำให้ประชาธิปไตยดีขึ้น ป่านนี้มันดีไปนานแล้ว” ปิยบุตรกล่าว การรัฐประหารในมุมมองของคุณคืออะไร สำหรับการเมืองไทย เรามักกล่าวกันว่ารัฐประหารเป็นส่วนหนึ่งของวงจรอุบาทว์ในการเมืองไทย แล้วก็มักจะกล่าวโทษว่านักการเมืองจากการเลือกตั้งนั้นไม่ดี พอไม่ดีก็นำมาซึ่งวิกฤตการณ์ทางการเมือง ทำให้รัฐประหารกลายเป็นทางออกทางสุดท้าย เรามักเชื่อกันแบบนี้มาโดยตลอด เลือกตั้ง เกิดวิกฤต รัฐประหาร