วีระศักดิ์ เครือเทพ: กระแสกระจายอำนาจมาแล้วไง “ถ้ากลไกรัฐไม่เอาด้วย”

หลายคนอาจยังจำกระแสการตื่นตัวเรื่องการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นได้ เมื่อมีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร การแลนสไลด์ของผู้ว่า กทม. คนปัจจุบัน ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เริ่มปลุกคำถามที่ว่าจังหวัดอื่นๆ ควรมีผู้ว่าฯ เหมือน กทม. ด้วยหรือไม่ จะเป็นไปได้แค่ไหน การเลือกตั้งครั้งใหญ่ที่กำลังเดินทางมาถึงในไม่ช้านี้ เราเริ่มเห็นการให้ความสำคัญเรื่องการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น ที่เห็นได้ชัดและเริ่มมีการพูดถึงบ้าง เช่น เรื่องการเสนอให้มีนายกจังหวัด หรือเพิ่มอำนาจไปสู่ประชาชนให้มากขึ้น โดยรัฐต้องเป็นผู้สนับสนุน เราเห็นการพยายามกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นของไทยที่ชัดเจนในสมัยรัชกาลที่ 5 ตั้งแต่มีการแบ่งอำนาจให้กับส่วนภูมิภาค การจัดตั้งเทศบาลในปี 2476 การจัดตั้งสุขาภิบาล หรือองค์การบริหารส่วนตัวบล (อบต.) ในเวลาต่อมา จนกระทั่งปี 2540 ที่มีการกำหนดเรื่องการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นอย่างชัดเจนขึ้น มีอิสระในการจัดการบริหารตนเอง และที่สำคัญคือได้ผู้บริหารและสภาท้องถิ่นมาจากการการเลือกตั้งโดยประชาชน ความเป็นชุมชนของไทยจึงยังมีอยู่โดยตลอด แต่ก็ถูกกำกับอยู่ภายใต้อำนาจรัฐมาตลอดเช่นเดียวกัน The Voters ชวน รศ.ดร.วีระศักดิ์ เครือเทพ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คุยถึงเรื่องลักษณะการปกครองและการกระจายอำนาจของท้องถิ่นในประเทศไทย กรอบกฎหมายที่ส่งอิทธิพลให้ท้องถิ่นยังติดกับการกดทับภายใต้กลไกของรัฐ ข้อท้าทายสำคัญที่ท้องถิ่นต้องเจอ ภาคประชาชนสามารถกดดันให้มีการกระจายอำนาจได้มากแค่ไหน หรือท่ามกลางข้อจำกัด การเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ อย่างเป็นรูปธรรม สามารถทำได้อย่างไรบ้าง         คำว่า ‘การกระจายอำนาจ’ ในมุมมองของนักรัฐศาสตร์กับการกระจายอำนาจโดยทั่วไปมีความแตกต่างกันไหม

จั๊ม ทัศกร: ศิลปินผู้เชื่อเสมอว่าศิลปะเป็นหนึ่งในทางออก

อดีตครูสอนภาษาอังกฤษทั้งโรงเรียนวัด เอกชน และร.ร.ประจำจังหวัด ผู้ชื่นชอบปาร์ตี้ ออกไปเจอผู้คน และตีแบดมินตันเป็นชีวิตจิตใจ ผลงานล่าสุด เต้นประกอบ MV Solitude is Bliss และธาตุทองซาวด์ของ Youngohm เราสัมภาษณ์เขาเรื่องกระจายอำนาจ และการเลือกตั้งผู้ว่าทั่วประเทศ และนี่คือคำตอบของ จั๊ม ทัศกร ศิลปินผู้เชื่อเสมอว่าศิลปะเป็นหนึ่งในทางออก คิดอย่างไรที่จังหวัดคุณ (น่าน) ไม่มีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ ต่อให้ผู้ว่าฯ สมัยใดก็ตามจะมีศักยภาพสูง และมีความสามารถในการพัฒนาเมืองนั้นได้อย่างดีเยี่ยม แต่เขาจะไม่มีวันฟังเสียงของคนในเมืองนั้นได้เท่ากับ ผู้ว่าฯ ที่มาทำงานเพื่อเป็นตัวแทนจากเสียงคนเหล่านี้ … เหมือนเราต้องอยู่กับสิ่งที่ไม่ได้เลือกเอง ดีไม่ดีเราไม่มีสิทธิ์จัดการหรือทำอะไรกับเขาเลย ถ้ามีการเลือกตั้งผู้ว่าทั่วประเทศ คิดว่าประเทศจะเจริญอย่างไร อย่างที่ได้พูดไปข้างบนว่า ถ้าผู้ว่าฯ มาจากการที่คนในเมืองนั้นเป็นคนเลือก เป็นคนโหวตเอง เขาจะทำงานรับใช้เสียงดังกล่าว หมายความว่าเขารู้ การที่เขามายืนอยู่ในจุดนี้ได้ไม่ใช่เพราะอำนาจพิเศษของการแต่งตั้ง แต่เป็นเสียงของแม่ค้าในตลาดเช้า วินมอเตอร์ไซต์ที่ขนส่ง ครู ร.ร.มัธยม ชาวสวนที่ปลูกมะไฟจีนอยู่นอกตัวเมือง และอื่นๆ ที่ไว้วางใจให้เป็นตัวแทน ดูแลความเป็นไปของตัวเมือง ซึ่งที่จะเกิดขึ้นคือ จะมีความเชื่อใจส่งต่อกัน 2 ทาง คุณให้ผม ผมให้คุณ

ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช ….

ร่าง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช …. …………………………………. ………………………………… ………………………………….                    …………………………………………………………………………                  ……………………… โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย                    …………………………………………………………………………… ……………………………. มาตรา ๑ รัฐธรรมนูญนี้เรียกว่า “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช ….” มาตรา ๒ รัฐธรรมนูญนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๓ ให้ยกเลิก หมวด ๑๔ การปกครองส่วนท้องถิ่น และความใน มาตรา ๒๔๙ ถึงมาตรา ๒๕๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “หมวด ๑๔ การปกครองส่วนท้องถิ่น   มาตรา ๒๔๙ ภายใต้บังคับมาตรา ๑ รัฐต้องจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินแบบกระจายอำนาจ และต้องให้ความเป็นอิสระแก่ท้องถิ่นตามหลักแห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น                   

จากบ้านเกิดสู่ริมทางเท้ากรุงเทพฯ

การรวมทุกสิ่งทุกอย่างไว้ที่ส่วนกลาง ส่งผลให้เมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ เป็นศูนย์รวมของความเจริญทางวัตถุ ที่นำมาซึ่งโอกาส การงาน และความหวังที่จะพยุงชีวิตให้อยู่รอด ท่ามกลางปัญหาทางเศรษฐกิจ ความเหลื่อมล้ำ การไร้สวัสดิการ ระบบทุนผูกขาด ผู้คนตัวเล็กๆ ต่างทำงานหาเช้ากินค่ำแลกกับเงินที่ไม่ได้สัดส่วนกับค่าครองชีพ หลายคนจากบ้านที่ต่างจังหวัดเข้ามาพำนัก บ้างก็ลงหลักปักฐานเป็นประชากรถาวร อาชีพค้าขายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของคนที่ไม่ได้มีต้นทุนมากนัก รวมถึงคนต่างจังหวัดที่เข้ามาหาช่องทางทำกินในกรุงเทพฯ แต่การจะมีหน้าร้านอยู่ในอาคารสักคูหา หรือในห้างสรรพสินค้าติดเครื่องปรับอากาศ ไม่ใช่เรื่องที่คนส่วนมากจะทำได้ ริมทางเท้าจึงเป็นสถานที่ทำงานของพ่อค้าแม่ค้า ไม่ว่าจะเป็นรถเข็น แผงเช่า แผงลอย ซึ่งจากการลงไปสำรวจพูดคุย พ่อค้าแม่ค้ามากกว่าครึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ต่างจากจังหวัด อย่างไรก็ตาม พวกเขาถือเป็นคนกลุ่มสำคัญที่มีส่วนขับเคลื่อนเศรษฐกิจของกรุงเทพฯ เป็นปากท้องของผู้มีรายได้น้อย เราอาจจะพบพ่อค้าแม่ค้าริมทางเท้ากันอยู่ทุกวัน แต่คงไม่บ่อยนักที่เสียงของพวกเขาจะถูกส่งต่อสู่สังคม ทั้งในเรื่องชีวิตที่ผ่านมา ความรู้สึก และความคาดหวังในอนาคต “บ้านอยู่อุบล มาอยู่กรุงเทพฯ ได้ยี่สิบกว่าปี ป้าเช่าบ้านเขาอยู่ แต่เดี๋ยวจะกลับแล้วแหละ อยากกลับไปอยู่บ้าน” “หลายปีที่ผ่านมายังไม่กลับเพราะกลัวลูกเรียนไม่จบ กลัวกลับไปแล้วขายไม่ดีเหมือนกรุงเทพฯ แล้วจะหาค่าเทอมให้ลูกไม่ทัน แต่ตอนนี้ลูกจบแล้ว ว่าจะขายหาเงินอีกสักหน่อยก็จะกลับไปอยู่บ้าน กลับไปขายที่บ้านแค่พอได้กิน ไม่ต้องกลัวจะได้เงินน้อย ลูกมันก็ทำงานทำการแล้ว ไม่ต้องดิ้นรนมากเหมือนที่ผ่านมา” “กรุงเทพฯ มีคนเยอะ เราก็อาศัยขายคนทำงาน นักเรียนนักศึกษา แต่มันไม่ใช่บ้านเรา จะว่าเบื่อก็เบื่อ แต่ตอนลูกยังเรียนไม่จบ

จักรพรรดิญี่ปุ่นให้อิสรภาพต่อรัฐบาล ทิศทางชัดเจนนำพาญี่ปุ่นสู่อนาคตด้วยกระจายอำนาจ

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนของญี่ปุ่น โดยสถานะใหม่ด้วยการประกาศความเป็นมนุษย์ ของ พระจักรพรรดิฮิโรฮิโตะ สละสถานะของพระองค์เอง โดยประกาศว่า เขาไม่ใช่พระเจ้าและแนวคิดเรื่องความเป็นพระเจ้าของจักรพรรดินั้นไม่เป็นความจริง ณ วันที่ 1 มกราคม 1946 อำนาจของจักรพรรดิจำกัดอยู่แต่ทางพิธีการ รัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1947 มาตรา 4 ระบุว่า “จักรพรรดิทรงปฏิบัติกิจที่เกี่ยวข้องกับราชการแผ่นดินตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญนี้เท่านั้น และไม่ทรงมีอำนาจในราชการแผ่นดิน” ส่วนมาตรา 3 ก็ระบุว่า “กิจของจักรพรรดิที่เกี่ยวเนื่องกับราชการแผ่นดิน ต้องเป็นไปตามคำแนะนำและความยินยอมของคณะรัฐมนตรี และให้คณะรัฐมนตรีรับผิดชอบกิจดังกล่าว” หลังจากนั้นจักรพรรดิญี่ปุ่นได้รับการป่าวประกาศว่าเป็นสัญลักษณ์แห่ง เอกภาพของประชาชนชาวญี่ปุ่น ด้วยรัฐะรรมนูญใหม่ ว่า “จักรพรรดิจะเป็นสัญลักษณ์ของรัฐและความสามัคคีของประชาชน” ตามที่ระบุไว้อย่างชัดเจนในมาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญ ที่ระบุอย่างชัดเจนว่า จักรพรรดิไม่มีอำนาจเกี่ยวข้องกับรัฐบาล นับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงของจักรพรรดิญี่ปุ่นที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลกกว่า 200 ปี ได้ออกจากอำนาจทางการเมืองและการบริหารและส่งต่อกระจายอำนาจไปสู่รัฐบาล และกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นที่เคลื่อนนโยบายและโครงการต่างๆ แม้ว่าจักรพรรดิของญี่ปุ่นจะไม่มีอำนาจทางการเมือง และสามารถแสดงความคิดเห็นต่อการเมืองและการบริหารของรัฐบาลได้ จักรพรรดิมีความหมายสำหรับประชาชนในเชิงสัญลักษณ์ และเป็นส่วนสำคัญของสังคมของญี่ปุ่นที่ผลต่อโครงสร้างทางสังคมของประเทศให้เป็นปึกแผ่น ที่มีการออกสื่อสาธารณะเป็นพักๆ แม้ว่าการมีอยู่ของสถาบันจักรพรรดินั้นมีประชาชนที่มีความรู้สึกแตกต่างกันเป็นกลุ่มๆ ไป มีทั้งกลุ่มที่สนับสนุน กลุ่มที่ไม่ได้แสดงความคิดเห็นและ กลุ่มที่ต่อต้านสถาบันจักรพรรดิอย่างเปิดเผย เป็นเรื่องปกติที่แสนธรรมดาในสังคมญี่ปุ่น

จากระบบศักดินาสวามิภักดิ์สู่การกระจายอำนาจ: การปรับตัวหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ของญี่ปุ่น

ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีเรื่องราวด้านการปกครองด้วยเจตนารมณ์รวมญี่ปุ่นเป็นแผ่นดินเดียวกันในแต่ละยุคสมัยต่างๆ ได้อย่างน่าสนใจ เพราะในปัจจุบันญี่ปุ่นใช้ระบอบการปกครองเป็นรัฐเดี่ยว ระบบรัฐสภา ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญด้วยระบอบประชาธิปไตย มีจักรพรรดิหรือกษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศ และมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำในการบริหารประเทศ มีกฎหมายสูงสุดคือรัฐธรรมนูญ เช่นเดียวกับ ประเทศไทย แต่ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีการปกครองในระบบรัฐสภาที่มีเสถียรภาพ และญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ใส่ใจและลงมือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมออย่างมากเมื่อเทียบกับหลายประเทศในเอเชีย แต่การที่ญี่ปุ่นจะมาถึงจุดนี้ได้ต้องผ่านเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ทางการเมือง การต่อสู้ สงคราม มาอย่างยาวนาน เเละการแย่งชิงอำนาจทางการเมืองนั้นเกิดขึ้น ช่วงแรกญี่ปุ่นภายใต้ จักรพรรดิ และผู้ที่ดำรงตำแหน่ง โชกุน ที่ดำเนินการบริหารอำนาจการปกครอง โดยผู้ที่ดำรงตำแหน่งโชกุนมาตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1185 เป็นเวลาเนิ่นนานมากกว่า 600 ปี การปกครองแบบระบบฟิวดัล (ระบบศักดินาสวามิภักดิ์) ผ่านการบริหารในรูปแบบจุดอำนาจอยู่ที่เดียว การเกิดกบฏและสงครามกลางเมืองอยู่บ่อยครั้ง นี่เป็นผลสะท้อนของความไม่พึงพอใจของผู้คนในแคว้นต่างๆ ยิ่งช่วงสุดท้ายของยุคเอโดะภายใต้โชกุนที่บริหารด้วยความเผด็จการทางทหารที่ปกครองและยังกระจายอำนาจแบบเลือกพรรคเลือกพวก ทำให้ก่อเกิดสงครามแย่งอำนาจบานปลายกลายเป็นสงครามกลางเมืองหรือสงครามโบะชิง (Boshin) และสิ้นสุดระบอบโชกุนในปี 1868 ในที่สุดเริ่มก้าวใหม่ของการปกครองของญี่ปุ่นแม้ว่าเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์กับราชาธิปไตยในรัฐธรรมนูญเมจิ แต่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญและยิ่งใหญ่มากกว่านั้นได้มาหลังจากการที่ญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ญี่ปุ่นต้องทำตามเสียงเรียกร้องจากฝ่ายชนะสงคราม (สัมพันธมิตร) ที่ต้องการล้างความเชื่อดั้งเดิมว่า จักรพรรดินั้นเป็นเทพเจ้า เป็นเพียงแค่คนธรรมดา การประกาศความเป็นมนุษย์ ของพระจักรพรรดิฮิโรฮิโตะสละสถานะของพระองค์เอง โดยประกาศว่า เขาไม่ใช่พระเจ้าและแนวคิดเรื่องความเป็นพระเจ้าของจักรพรรดินั้นไม่เป็นความจริง ณ วันที่ 1 มกราคม

ทำไมต้อง #เลือกตั้งผู้ว่าทั่วประเทศ

อันดับแรก ยุคสมัยนี้เป็นยุคสมัยของการตื่นตัวทางการเมืองอย่างที่ชนชั้นนำต้องจับตาด้วยระคาย ไม่มีช่วงเวลาไหนเหมาะสมแก่การรณรงค์ #เลือกตั้งผู้ว่าทั่วประเทศ เท่ายุคของพวกเราอีกแล้ว ถึงขนาด วิษณุ เครืองาม ยังเคยให้สัมภาษณ์นักข่าวไทยโพสต์ว่า เป็นไปได้ยาก https://www.thaipost.net/hi-light/153316/ ผมคิดว่าคุณวิษณุคงเข้าใจอะไรผิดไปมาก ไม่มีสิ่งเก่าใดต้านทานกระแสลมโชกเชี่ยวแห่งความเปลี่ยนแปลงของประชาชนได้ 16 กันยายน 2565 ณ สภาผู้แทนราษฎร มีการพิจารณา รายงานการศึกษา เรื่อง การบริหารราชการ รูปแบบจังหวัดจัดการตนเอง (Self-governing Province) ซูการ์โน มะทา ประธานคณะกรรมาธิการกระจายอำนาจฯ กล่าวปิดท้าย จังหวัดจัดการตนเองสรุปง่ายๆ คือ ยกเลิกผู้ว่าราชการจังหวัดจากการแต่งตั้ง โดยกระทรวงมหาดไทย ให้พี่น้องประชาชนเลือก และยกเลิกนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ส่วนที่เหลือเป็นเทศบาลหรือองค์การบริหารส่วนตำบล ประธานสภาสรุปในวันนั้น ถือว่าที่ประชุมเห็นด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการ ตามข้อบังคับที่ 105 ประกอบกับข้อ 88 ถือว่าจบการพิจารณาระเบียบวาระรายงานการศึกษา โดย อาจารย์ชำนาญ จันทร์เรือง ที่ปรึกษาเว็บไซต์เรา จากคณะก้าวหน้า อธิบายกระบวนการต่อไปว่า จะมีการเสนอไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหลายเพื่อดำเนินการ ผลที่ตามมาคือ พรรคการเมืองหรือภาคประชาสังคมสามารถใช้เป็นร่างเริ่มต้นในการเสนอเป็นกฎหมายต่อไป แต่เอาล่ะ ถึงอย่างนั้นก็ยังมีข้อสงสัยว่า ทำไมต้อง

การปกครองท้องถิ่นญี่ปุ่น: เมื่อการกระจายอำนาจอาจนำไปสู่ความเจริญหลากมิติ

ประเทศญี่ปุ่นเป็น 1 ในประเทศที่คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี ผู้อ่านอาจเคยเดินทางไปยังแดนอาทิตย์อุทัยมาแล้ว หรือมีความคุ้นเคยกับผลิตภัณฑ์ สินค้าต่างๆ เช่น รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารหรือแม้กระทั่งสื่อนิยาย อะนิเมะ เกมต่างๆ ที่มีที่มาจากญี่ปุ่น บางคนอาจพอทราบว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีการปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้มแข็ง แต่หลายคนอาจยังไม่เห็นภาพนักว่าความเข้มแข็งที่ว่านั้นเป็นอย่างไร และส่งผลอย่างไรต่อชีวิตของคนญี่ปุ่น บทความนี้จึงจะพาผู้อ่านไปทำความรู้จักญี่ปุ่นในเรื่องการกระจายอำนาจและการปกครองส่วนท้องถิ่นให้มากขึ้น เพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพว่าเมื่อมีกระจายอำนาจมากขึ้น มีการปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้มแข็งแล้วประชาชนในพื้นที่จะมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไร ส่งผลอย่างไรต่อประชาธิปไตยของประเทศ และจริงหรือไม่ที่กระจายอำนาจแล้วความเจริญจะกระจายไปด้วย โดยจะเริ่มจากการนำเสนอภาพรวมการปกครองท้องถิ่นญี่ปุ่น ตัวอย่างที่เกิดขึ้นในท้องถิ่น และบทสรุปสำหรับประเทศไทย ญี่ปุ่นเป็นรัฐเดี่ยว ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสมเด็จพระจักรพรรดิทรงเป็นประมุข การบริหารราชการแผ่นดินนั้นเป็นระบบสองชั้น (Two tiers system) คือ การบริหารราชการส่วนกลาง ประกอบไปด้วยรัฐสภาเป็นสถาบันสูงสุดของรัฐ มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล โดยนายกรัฐมนตรีได้รับการเลือกจากสมาชิกรัฐสภาซึ่งประกอบด้วย 2 สภา คือสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา และการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ได้แก่ จังหวัดและเทศบาล การจัดการปกครองญี่ปุ่นสมัยใหม่เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงคราม สหรัฐอเมริกาได้เข้ามาในนามคณะยึดครองพร้อมกับปฏิรูประบบเศรษฐกิจ ระบบการเมือง และการบริหารของญี่ปุ่น โดยให้ความสำคัญกับการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น ให้ท้องถิ่นมีอิสระที่จะปกครองตนเองตามหลักการของระบอบประชาธิปไตย โดยบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของญี่ปุ่นที่ประกาศใช้เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ.

ยกเลิกราชการส่วนภูมิภาค และเลือกตั้งผู้ว่าฯ ทุกจังหวัด

กระแสการเรียกร้องให้แต่ละจังหวัดได้มีโอกาสในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นของตนเองนั้น ได้มีเป็นระยะๆ มาช้านานกว่า 30 ปีแล้ว โดยเสียงเริ่มดังขึ้นเรื่อยๆ ดังมากหน่อยก็ตอนมีการรณรงค์เรื่องจังหวัดจัดการตนเองที่วางโครงสร้างให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งแพร่ขยายไปถึง 58 จังหวัด แต่มาดังเป็นพลุแตกกระจายไปทุกจังหวัดในช่วงของการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยคุณชัชชาติเป็นผู้ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งและทำงานอย่างทุ่มเท ทำให้ทุกจังหวัดอยากเลือกตั้งผู้ว่าฯ ของตนเองบ้าง อย่างไรก็ตาม ในสายตาของนักวิชาการผู้เชี่ยวด้านการบริหารราชการแผ่นดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการปกครองท้องถิ่นหรือการกระจายอำนาจได้ให้ความเห็นที่น่าฟังเป็นอย่างยิ่งว่า แม้นจะมีโอกาสเลือกผู้ว่าราชการจังหวัดได้ก็จริง แต่หากยังมี ราชการส่วนภูมิภาค อยู่ก็จะยิ่งเละ หรือยุ่งไปมากกว่าเดิมเสียอีก ในเรื่องของข้อเสนอให้มีการยกเลิกราชการส่วนภูมิภาคนั้น ได้เคยถูกนำเสนอไว้แล้วเมื่อ 18 เมษายน 2554 ในหนังสือปกสีส้ม ข้อเสนอการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ ของคณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) จำนวน 19 คน ที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีกรรมการที่มีชื่อเสียงอีกหลายราย  อาทิ ชัยอนันต์ สมุทรวณิช / นิธิ เอียวศรีวงศ์ / พระไพศาล วิสาโล / เสกสรรค์ ประเสริฐกุล / ม.ร.ว.อคิน รพีพัฒน์ ฯลฯ โดยมีเหตุผลที่สำคัญโดยย่อคือ “…เนื่องจากราชการส่วนภูมิภาคเป็นสายอำนาจบัญชาการที่สำคัญของรัฐบาล

ปรสิต

ไม่ต้องถ่อสังขารถึงจังหวัดไกลปืนเที่ยง ไม่ต้องเป็นคนช่างสังเกต เอาแค่หลืบมุมถูกทอดทิ้งในเมืองหลวง เราก็เห็นชัดถึงคุณภาพชีวิตของผู้คนอันย่ำแย่ ชุมชนแออัด การถูกไล่รื้อที่ซุกหัวนอนในชื่อความเจริญ ผู้ปกครองเป็นหนี้มาเฟียเงินกู้ดอกมหาโหด เยาวชนหลุดระบบการศึกษาเสี่ยงชีวิตบนเบาะมอเตอร์ไซค์ผ่อนนามไรเดอร์ ทั้งหมดนี้มีรากมาจากคำคำเดียว ปรสิต ทางชีววิทยา ปรสิตคือสิ่งมีชีวิตซึ่งมีความจำเป็นต้องอาศัยพักพิงและได้รับอาหารจากสิ่งมีชีวิตอื่น บางครั้งทำร้ายทำลายสิ่งมีชีวิตที่ใช้ประโยชน์จนเจ็บป่วยหรือเสียชีวิต ปรสิตมิใช่ใครคนใดคนหนึ่ง แต่คือเครือข่ายที่พยายามเหนี่ยวรั้งกาลเวลา ดึงฉุดคุณภาพชีวิตของคนทั้งประเทศ ด้วยอำนาจ ด้วยปืน ด้วยวาทกรรมประวัติศาสตร์ทาสรักไว้ผลิตความเกลียดชัง ปรสิตไม่ได้โง่ พวกเขาฉลาดและวางเกมอย่างเป็นระบบ สูบกินภาษีอย่างตะกละตะกลาม สุขสบายบนหยาดเหงื่อของคนจน พูดแบบไม่ห่วงภาพพจน์ ผมเองเป็นชนชั้นกลาง ชนชั้นที่มีโลกทัศน์คับแคบ-บางคน ชนชั้นที่สาดโคลนด่าทอพวกที่ออกมาเสนอนโยบายเรียนฟรีมีเงินเดือนใช้ ยกเลิกหนี้ กยศ. ผมเป็นคนในชนชั้นที่เกลียดชังคำว่ารัฐสวัสดิการเข้ากระดูกดำ ปรนเปรอเข้าไปเดี๋ยวก็ขี้เกียจตาย ปรนเปรอเข้าไปเดี่ยวก็เหลิง ปรนเปรอเข้าไปมันก็เอาไปใช้สุรุ่ยสุร่าย นั่นละทัศนะของชนชั้นผม-บางคน ผมมีอาชีพเป็นสื่อมวลชนอิสระ รักงานสัมภาษณ์ผู้คน หลังออกจากการนั่งประจำที่สำนักงานนิตยสารแห่งหนึ่งนานมาแล้ว แต่เมื่อไม่นานมานี้ราวๆ ฤดูร้อนที่ผ่านพ้น ผมเริ่มต้นรณรงค์ #เลือกตั้งผู้ว่าทั่วประเทศ กับมิตรสหายหลายท่าน โดยมีครูบาอาจารย์ นักวิชาการ นักกิจกรรมทางสังคมการเมืองเป็นที่ปรึกษา มันถูกขยายออกเป็นเว็บไซต์ The Voters ที่ท่านกำลังอ่านอยู่ ตลอดระยะเวลาไม่กี่เดือน ทว่าผมรู้สึกเหมือนมันนานชั่วกัลปาวสาน ผมได้สัมภาษณ์บุคลากรมากมายที่มีความรู้เรื่องการกระจายอำนาจ การบริหารราชการแผ่นดินทั้ง 3 ส่วน