ระบอบรัฐสภาไทยที่มี 2 สภา และสมาชิกของพรรคการเมืองเสียงข้างมากเป็นผู้เลือกนายกรัฐมนตรี และจัดตั้งรัฐบาลนั้นมีความล้าหลัง และพิสูจน์มาแล้วเป็นเวลา 80 ปี ว่า ล้มเหลว คือมีรัฐบาลที่ไร้เสถียรภาพ มีการซื้อขายเสียงสูง นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ส.ส. และ ส.ว.จำนวนมากไร้คุณสมบัติ ไร้คุณภาพ และไร้คุณธรรม มีการรัฐประหาร หรือพยายามก่อการรัฐประหาร กบฏ เฉลี่ยเกือบทุก 4 ปี (ประมาณ 20 ครั้ง) มีการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่มาใช้ เฉลี่ยเกือบทุก 4 ปี (20 ฉบับ) ระบอบประชาธิปไตยกลายเป็นระบอบธุรกิจการเมือง (Private interest led politics ตรงกันข้ามกับ public interest led politics) ระบอบประชาธิปไตยกลายพันธุ์เป็นระบอบประชาธิปไตยสามานย์ ระบบการเมืองกลายเป็นระบบพวกพ้องบริวาร (Cronyism) คณะรัฐมนตรี กลายเป็นบุฟเฟต์แคบิเนท ที่นักการเมืองเข้ามาตักตวงผลประโยชน์จากงบประมาณแผ่นดิน พรรคการเมืองกลายเป็นบริษัทส่วนตัวของนายทุนพรรค สมาชิกพรรคกลายลูกจ้างของบริษัท มีข้อเสนอมากมายในการปฏิรูประบบการเมืองไทยแต่ส่วนใหญ่ก็ยังอยู่ในกรอบคิดและทฤษฎีเดิมที่ล้าหลัง มีการเสนอแก้ไขทางเทคนิก หรือ
ระบบตำรวจอเมริกันมีชั้นยศน้อยมาก แต่แบ่งอำนาจความรับผิดชอบตามหน้าที่มากกว่า คล้ายๆ กับพนักงานของบริษัท อเมริกาไม่มีระบบหรือโครงสร้างตำรวจแห่งชาติ แต่มีการแบ่งอำนาจและหน้าที่เป็นส่วนงานตามภูมิศาสตร์ 5 โดย มี 5 หน่วยงานหลักดังนี้ 1. Federal 2.State 3.County: Police, Sheriffs 4.Municipal 5.Other 1.Federal: ตำรวจส่วนกลาง ซึ่งขึ้นต่อกระทรวงยุติธรรม The Federal Bureau of Investigation (FBI) หน่วยสืบสวนกลางหรือ เอฟบีไอ มีหน้าที่สืบสวน สอบสวนในทุกระดับทั่วประเทศ เป็นตำรวจส่วนกลางของชาติ ขึ้นต่ออธิบดีกรมอัยการ (Attorney General) และผู้อำนวยการหน่วยสืบราชการลับ (Director of National Intelligence) มีอำนาจครอบคลุมในการสืบสวนและจับในคดีกว่า 200 ประเภท เอฟบีไอแม้ว่าบทบาทหน้าที่หลักมีขอบเขตอยู่ภายในประเทศ แต่ก็มีตัวแทนทำงานเป็นสำนักเล็กๆ ในสถานทูต 60 แห่งทั่วโลก และในสถานกงสุลอีก 15 แห่งเพื่อทำงานลับ 2.State: ตำรวจของรัฐ มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละรัฐ