สภาฯ เห็นด้วยรายงานการศึกษาและข้อสังเกตจังหวัดจัดการตนเอง ซึ่งจะมีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดโดยตรง

วานนี้ 16 กันยายน 2565 ณ สภาผู้แทนราษฎร มีการพิจารณา รายงานการศึกษา เรื่อง การบริหารราชการ รูปแบบจังหวัดจัดการตนเอง (Self-governing Province) ต่อจากคราวก่อน เมื่อศุกร์ที่ 2 กันยายน 2565 วาระนี้ถูกบรรจุอยู่แล้ว แต่การที่พวกเราร่วมลงชื่อ รวมถึงส่งตัวแทนไปยื่นรายชื่อและข้อเรียกร้อง ต่อ ซูการ์โน มะทา ประธานคณะกรรมาธิการการกระจายอำนาจ การปกครองส่วนท้องถิ่น และการบริหารราชการรูปแบบพิเศษ จนมีการเชิญให้เข้าประชุมชี้แจงที่สภาฯ ซึ่งมีตัวแทนจากกระทรวงมหาดไทยเข้าร่วมรับฟัง มีส่วนช่วยผลักให้วาระพิจารณามาเร็วขึ้น สามารถอ่านได้ที่ https://thevotersthai.com/voteourgovernor/ และในการประชุมครานั้น มีการประท้วงจนต้องเลื่อนไปเป็นวันที่ 16 กันยายน ดังกล่าว สามารถอ่านได้ที่ https://thevotersthai.com/sorrywenotagree/ ศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 ทำหน้าที่เป็นประธานสภากล่าวถึง รายงานการบริหารราชการรูปแบบจังหวัดจัดการตนเอง ซึ่งคณะกรรมธิการกระจายอำนาจฯ พิจารณาเสร็จแล้ว และเชิญคณะกรรมาธิการเข้าประจำที่ วิวรรธน์ นิลวัชรมณี ส.ส.สุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายก่อนว่า ตนขอสนับสนุนรายงานเล่มนี้

การล้อเลียน คืออำนาจต่อกร เผด็จการ

นอกจากภาพหนูน้อยในชุดแต่งกายเลียนแบบควีนอังกฤษแล้ว ยังมีอีกเรื่องที่เราไม่พูดถึงไม่ได้คือ วงพังค์นาม Sex Pistols God Save The Queen อยู่ในอัลบั้ม Never Mind the Bollocks, Here’s the Sex Pistols ได้รางวัล NME อะวอร์ดส์ สาขาซิงเกิลยอดเยี่ยม John Lydon ฟรอนต์แมนลีลากวนอวัยวะใช้เดินเคยชื่นชมพระราชินีที่สามารถครองราชย์มาได้อย่างยาวนาน แต่ยังเน้นย้ำความคิดของเขาว่า “ผมต่อต้านราชวงศ์ แต่ไม่ได้ต่อต้านความเป็นมนุษย์” ย้อนกลับไปในปี 1977 ควีนครองราชย์ครบ 25 ปี ทางวงได้ลงเรือล่องเเม่น้ำจากท่ากรุงลอนดอน ปล่อยซิงเกิล God Save The Queen เพื่อโปรโมต รวมถึงเย้ยควีนด้วยการซาวด์เช็กสุดหยาบ ครั้นเรือผ่านรัฐสภา พวกเขาถูกตำรวจน้ำล้อมเรือ ตัดไฟ และพาเข้าฝั่ง สมาชิกหลายคนถูกจับ ทั้งหมดทั้งมวลส่งให้ BBC ปฏิเสธจะเปิดเพลง God Save The Queen แต่ช้าไปแล้ว เพลงไต่ขึ้นอันดับ

สหราชอาณาจักร: กระจายอำนาจ เพื่อรวมเป็นหนึ่งไม่ใช่เพื่อแบ่งแยก

หากจะนึกถึงตัวอย่างของรัฐเดี่ยวที่มีการแก้ปัญหาการแยกดินแดนด้วยการกระจายอำนาจให้กับดินแดนในปกครอง สหราชอาณาจักรเป็น 1 ในกรณีศึกษาที่น่าสนใจอย่างยิ่ง สหราชอาณาจักร หรือ United Kingdom มีพื้นที่ทางปกครองครอบคลุมเขตสําคัญอยู่ 4 เขต ได้แก่ อังกฤษ (England) สกอตแลนด์ (Scotland) เวลส์ (Welsh) และไอร์แลนด์เหนือ (Northern Ireland) ทั้ง 4 เขตมีพื้นที่รวมกันทั้งหมด 242,910 ตารางกิโลเมตร มีจํานวนประชากรใกล้เคียงกับประเทศไทยคือประมาณ 58.6 ล้านคน เดิมสกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ ทั้ง 3 ดินแดนนั้น ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของอังกฤษมาตั้งแต่ต้น แต่ถูกยึดครองมาโดยการใช้กำลัง และการทำข้อตกลงระหว่างผู้ปกครองกลุ่มต่างๆ จนเกิดเป็นการรวมดินแดนทั้ง 3 เข้ากับดินแดนแม่อย่างอังกฤษซึ่งเป็นรัฐเดี่ยวที่มีการการปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญระบบรัฐสภา เดิมอังกฤษปกครองดินแดนทั้ง 3 ในฐานะภูมิภาคหนึ่งของอังกฤษและมีองค์กรการบริหารกิจการภายในภายใต้รูปแบบที่คล้ายกับเป็นกระทรวงหนึ่งของรัฐส่วนกลาง โดยมีการแต่งตั้งรัฐมนตรี (Secretary of State) จากส่วนกลางเข้าไปปกครองดูแล ซึ่งในช่วงแรกนั้นยังมีปัญหาในการรวมกันเป็นหนึ่ง อังกฤษไม่สามารถสร้างความเป็นปึกแผ่นให้เกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะช่วงครึ่งหลังของทศวรรษที่ 1990 ได้มีการรณรงค์เรียกร้องความเป็นอิสระในการบริหารปกครองตนเองของประชาชนในทั้ง 3

เผด็จการความคู่ควร

หนังสือเล่มนี้พยายามเล่าให้เข้าใจภาพว่าความแตกแยก ความขัดแย้งทางการเมืองที่เป็นเหตุที่มาจากความเหลื่อมล้ำ มันมีเหตุส่วนหนึ่งมาจากแนวคิดเรื่อง ความคู่ควร ทั้งหมดเล่าถึงที่อเมริกา การเมืองที่นั่น และมีโควตต่างๆ ของประธานาธิบดีท่านต่างๆ มาประกอบกับบทตอนที่เล่าไป (แต่จริงๆ มันก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทั่วโลกเช่นกัน กับการเปลี่ยนแปลงในราวครึ่งศตวรรษที่ผ่านมาและเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์) “คนทุกคนจะไปได้ไกลเท่าที่พรสวรรค์และการทำงานหนักของพวกเขาจะพาไป ไม่ว่าพวกเขาจะมาจากจุดเริ่มต้นใดก็ตาม” เป็นประโยคความฝันแบบอเมริกันที่ก็ชวนให้รู้สึกว่าได้แรงบันดาลใจดี… แต่ขณะเดียวกันมันก็เป็นประโยคที่สะท้อนถึงสถานการณ์ที่กลายมาสู่ความแตกแยกในตอนนี้ ประโยคนี้มันบอกถึงการรับผิดชอบตนเอง เหมือนเราเป็นผู้กุมชะตา และแทบไม่มีเรื่องส่วนรวมอยู่ในประโยคนี้ ทุกคนก็พยายามทำ แต่มันมีระบบคัดกรองผู้ชนะและผู้แพ้อยู่เสมอ คนชนะก็รู้สึกว่าตัวเองคู่ควรกับการได้มาซึ่งสิ่งต่างๆ ขณะที่ผู้แพ้จำต้องยอมรับว่าตัวเองคู่ควรกับความพ่ายแพ้นั้นด้วยหรือ ยังไม่ต้องพูดถึงว่าการตัดสินชนะแพ้ที่เกิดขึ้น มันมาด้วยต้นทุนไม่เท่ากันขนาดไหน จะไม่มีผู้ชนะคนไหนหรอกบอกว่าตนเองไม่ได้ทำงานหนัก แม้จริงๆ ผู้แพ้ก็อาจจะทำงานมาหนักเหมือนกัน ใครทำมาหนักกว่าใครอาจเป็นสิ่งที่บอกได้ยาก และถ้าพูดถึงพรสวรรค์แล้ว ถ้าใครไม่มีหรือมีน้อย โอกาสจะชนะถึงทุ่มเทสักเท่าไรก็อาจจะยากเต็มที… ซึ่งพรสวรรค์ว่าไปแล้วมันอาจไม่ต่างอะไรกับล็อตเตอรีของชีวิตนั่นเอง ผู้ชนะได้ลาภยศสรรเสริญ เงินทอง ความรู้สึกว่าทุกอย่างเกิดขึ้นเพราะตนเองทำมา ง่ายมากที่จะรู้สึกอย่างนั้น ยิ่งถ้าร่ำรวยได้เพราะสำเร็จในสิ่งที่ตลาดต้องการก็อาจรู้สึกถึงการสร้างคุณค่ายิ่งใหญ่ ซึ่งจริงๆ ผลตอบแทนเป็นคนละเรื่องกับคุณค่าและคุณูปการต่อสังคมและส่วนรวม แต่ก็เป็นสิ่งที่คิดแยกส่วนกันได้ยาก กระทั่งคนอื่นๆ ก็มองแยกส่วนกันได้ยาก ผู้แพ้ เสมือนตนเองคู่ควรแล้วที่อยู่จุดนี้ หากมีเม็ดเงินที่เติบโตในเศรษฐกิจ มันก็ไม่เคยกระจายมาสู่พวกเขา นั่นไม่เพียงกระทบต่อความเป็นอยู่และปากท้อง แต่ยังรวมถึงศักดิ์ศรีด้วย มันเหมือนกับการถูกโลกบอกเขาว่าเขาทำในสิ่งที่ไม่มีคุณค่า ไม่สำคัญ ที่สำคัญคือประโยคความฝันแบบอเมริกันไม่ได้ช่วยแก้ความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้น มันเพียงแต่ให้สัญญาถึงโอกาสในการเลื่อนชั้นเปลี่ยนฐานะเท่านั้น แต่ไม่แตะต้องเรื่องคนชนะได้ทุกสิ่ง แต่ผู้แพ้ไม่ได้อะไร

สำรวจแผนที่โลก ส่องอำนาจ ส.ว.

ในห้วงเวลาที่ประชาชนปรารถนาให้ ส.ว.มาจากการเลือกตั้งโดยตรง เพราะยึดโยงกับเจตนารมณ์ของประชาชน Scoop ชิ้นนี้จะพาไปดูกันว่า ส.ว.ในประเทศอื่นมีบทบาทและอำนาจมากน้อยเพียงใด มาจากแต่งตั้งหรือเลือกตั้ง council of state วิวัฒนาการมาเป็นคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ ของคณะกรรมการกฤษฎีกาและส่วนคดีที่คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์รับเรื่องไว้ก็ส่งต่อให้ศาลปกครองในรัฐธรรมนูญปี 40 คณะกรรมการกฤษฎีกาก็ทำหน้าที่ร่างกฎหมายและเป็นที่ปรึกษากฎหมายให้รัฐบาลอย่างเดียว ปัจจุบัน ประเทศไทยมี ส.ว.250 คน จากการแต่งตั้ง นับเป็นสัดส่วน 1 ใน 3 ของรัฐสภา (250 จาก 750 คน) ไปที่ประเทศสหรัฐอเมริกา วุฒิสภา (Senate) หรือ สภาบน มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด มีวาระ 6 ปี จำนวนทั้งหมด 100 คน จากทั้งหมด 50 รัฐ รัฐละ 2 คน ผู้ดำรงตำแหน่งยาวนานสุดคือ คือ Patrick J. Leahy พรรคเดโมแครต รัฐเวอร์มอนต์ ดำรงตำแหน่งมาแล้ว 44

“หากไม่เกิดการกระจายอำนาจ ทุกการตัดสินใจจะเกิดขึ้นในเวสต์มินสเตอร์ และจะพรากชุมชนออกไปจากสิ่งที่พวกเขาได้รับผลโดยตรง” สมาคมการปกครองส่วนท้องถิ่น (Local Government Association: LGA) หลังจากช่วงเวลากว่า 100 ปี ที่อำนาจการปกครองเริ่มต้น และแผ่ขยายจากไวท์ฮอลล์และเวสต์มินสเตอร์ ในกรุงลอนดอน ไปสู่ผู้คนและชุมชน โดยเฉพาะในประเทศอังกฤษ จนทำให้อังกฤษกลายเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการรวมศูนย์อำนาจมากที่สุดในโลกตะวันตก แต่กว่า 20 ปีที่ผ่านมา การกระจายอำนาจก็ค่อยๆ เพิ่มขึ้น จนถึงการมอบอำนาจทางนิติบัญญัติ (Devolution) ให้กับ สก็อตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ รวมถึงการเกิดระบบบริหารราชการส่วนภูมิภาคที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในอังกฤษ ถ่ายโอนอำนาจและงบประมาณระดับชาติไปยังรัฐบาลท้องถิ่น ส่งคืนอำนาจการปกครองไปยังพื้นที่ที่ควรจะเป็น เพื่อให้การบริหารเป็นไปในทางเดียวกันกับที่ผู้คน ชุมชน รวมถึงธุรกิจในท้องถิ่นนั้นจะได้รับผลกระทบ เริ่มคนแรกคือ นายกเทศมนตรีของลอนดอน ตำแหน่งนี้ถูกสร้างขึ้นควบคู่ไปกับสภาลอนดอน หลังจากการลงประชามติในปี 1998 แล้วนายกเทศมนตรีแห่งกรุงลอนดอนทำอะไรได้บ้าง?  นายกเทศมนตรีมีอำนาจในการตัดสินใจว่าจะใช้เงินเท่าไหร่ และจัดลำดับความสำคัญในบางประเด็นสำคัญได้ ทั้งนี้ หลังการลงประชามติก็ได้มีการเพิ่มนายกเทศมนตรีในพื้นที่อื่นๆ ด้วย ซึ่งมีอำนาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ โดย 3 ด้านหลักที่หลายคนจับตามองหลังย้ายอำนาจออกจากไวท์ฮอลล์คือ การเติบโตอย่างยั่งยืนของชุมชน การบริการสาธารณะที่ดีขึ้น และสังคมที่เข้มแข็งขึ้น แล้วเกิดอะไรขึ้นบ้างหลังการกระจายอำนาจเกิดขึ้นในอังกฤษ? มีตัวอย่างมากมายเกิดขึ้นทั่วประเทศ ข้อมูลจาก

UPDATE! ส.ส.เพื่อไทย (บางคน) ค้าน เลื่อนอภิปรายเลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ * เพื่อความเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย ท่านสามารถรับชมการอภิปรายเต็มๆ ที่ https://www.youtube.com/watch?v=JfnpuQalFZs อยู่ในช่วงท้ายๆ ศุกร์ที่ 2 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา สภาผู้แทนราษฎรมีการอภิปรายเกี่ยวกับการ #ให้ประชาชนในต่างจังหวัดทุกจังหวัดมีอำนาจเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดของตนเอง ตลอดทั้งข้อเสนอให้ #ยุบรวมราชการส่วนภูมิภาคเข้าเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามหลักการ เรื่อง ‘จังหวัดจัดการตนเอง’ ซึ่งเป็นข้อเสนอในรายงานคณะกรรมาธิการการกระจายอำนาจฯ สามารถอ่านรายงานย้อนหลังที่ลิงค์ https://thevotersthai.com/voteourgovernor/ เริ่มต้นโดย ชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา กล่าวเปิดถึง รายงานการศึกษา เรื่อง การบริหารราชการ รูปแบบจังหวัดจัดการตนเอง ซึ่งคณะกรรมาธิการการกระจายอำนาจ การปกครองท้องถิ่นและการบริหารราชการรูปแบบพิเศษได้พิจารณาแล้วเสร็จ โดยได้เชิญ บรรณ แก้วฉ่ำ และชำนาญ จันทร์เรือง เข้าร่วมชี้แจง สาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ จังหวัดตรัง อภิปรายก่อนว่า ในคณะกรรมาธิการล้วนเป็นผู้คร่ำหวอด แนวคิดจังหวัดจัดการตนเองเป็นเรื่องที่พูดกันมานาน แต่ไปไม่ถึงฝั่งฝัน โดยบอกว่าประชาธิปัตย์สนับสนุนแนวคิดนี้ น่าเสียดายที่รายงานฉบับนี้

ด่วน! สภาฯ อภิปรายเลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ วันนี้! ถึง… ประชาชนทุกท่านที่ลงชื่อใน Change.org/WeAllVoters (ยอดขณะนี้ 20,107) เรามีข่าวดีมาแจ้งให้ทราบ ในวันศุกร์ที่ 2 กันยายน 2565 (วันนี้) สภาผู้แทนราษฎรจะมีการอภิปรายเกี่ยวกับการ #ให้ประชาชนในต่างจังหวัดทุกจังหวัดมีอำนาจเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดของตนเอง ตลอดทั้งข้อเสนอให้ #ยุบรวมราชการส่วนภูมิภาคเข้าเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ตามหลักการ เรื่อง จังหวัดจัดการตนเอง ซึ่งเป็นข้อเสนอในรายงานคณะกรรมาธิการการกระจายอำนาจฯ โดยมีคณะกรรมาธิการการกระจายอำนาจฯ และ อาจารย์ชำนาญ จันทร์เรือง ที่ปรึกษาแคมเปญเรา จากคณะก้าวหน้า กับ บรรณ แก้วฉ่ำ คณะทำงานเรื่องนี้ เข้าร่วมชี้แจงในที่ประชุม วาระนี้ถูกบรรจุอยู่แล้ว แต่การที่พวกเราร่วมลงชื่อ รวมถึงส่งตัวแทนไปยื่นรายชื่อและข้อเรียกร้อง ต่อ ซูการ์โน มะทา กมธ.กระจายอำนาจ จนมีการเชิญให้เข้าประชุมชี้แจงที่สภาฯ ซึ่งมีตัวแทนจากกระทรวงมหาดไทยเข้าร่วมรับฟัง มีส่วนช่วยผลักให้วาระพิจารณามาเร็วขึ้น แม้เราเป็นเพียงส่วนเล็กๆ แต่เสียงของประชาชนสำคัญเสมอ ขอบคุณประชาชน ย้อนกลับไปใน วันที่ 22 มิถุนายน สันติสุข กาญจนประกร ผู้ตั้งแคมเปญ

สมรสเท่าเทียมบนเส้นด้าย “การที่สมรสเท่าเทียมผ่านพร้อมกับ พ.ร.บ. คู่ชีวิตอีก 3 ร่าง ก็เป็นเรื่องที่เราต้องจับตาติดตามการทำงานตามกระบวนการนี้ต่อไป แต่สิ่งที่สำคัญไม่น้อยกว่าการต่อสู้ในสภาฯ คือการสร้างความเข้าใจทางสังคม แม้ว่าในตอนนี้จะมีแรงสนับสนุนมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ยังต้องทำงานในการสื่อสารต่อไปค่ะ” ดร.อันธิฌา แสงชัย เราสัมภาษณ์มุสลิมคนหนึ่ง โดยถูกขอให้ใช้คำว่า เรื่องเล่าจากอิสลามคนหนึ่งที่ถูกมองว่าเติบโตมาอย่างผิดแปลก และย้ำว่า ไม่ใช่คนที่มีทฤษฎีวิชาการทางศาสนา เพียงพูดในมุมมองของปัจเจก “เกิดมาในครอบครัวที่เป็นอิสลาม เอกสารราชการระบุว่านับถือศาสนาอิสลาม แต่เราเองคงไม่อาจกล่าวได้ว่าตนเป็นมุสลิมที่ดีหรือถูกต้อง จากประเด็นถกเถียงก่อนจะวิพากษ์วิจารณ์กันไปมากมาย เรื่องนี้เป็นเรื่องปัจเจกล้วนๆ แต่เมื่อมีการขยายความกันออกไปกลับมีผู้คนที่บอกนับถือศาสนาอิสลามแบบเราเข้ามาพิพากษาเราอย่างใจดำ “บางคนบอกให้ออกจากศาสนาก็มี สำหรับเราแล้วนี่คือที่มาของการหล่อหลอมให้เราเป็นเรา นอกจากการเป็นอิสลาม เรายังอยากเป็นมนุษย์ที่มีหัวจิตหัวใจด้วยเช่นกัน ยอมรับว่าบางทีก็ไม่เข้าใจว่า ทำไมสังคมมุสลิมเราต้องอยู่กันด้วยความเกรงกลัวคนมุสลิมกันเองขนาดนี้ ทำไมถึงผลักคนที่มีความเห็นต่างออกมาขนาดนี้ “ถามว่าครอบครัวอิสลามที่มีความก้าวหน้ามีมากมั้ย อันนี้ก็ตอบไม่ได้ เพราะไม่รู้จริงๆ แต่ดูจากปริมาณคนที่มาคอมเมนต์หรือทัก inbox มาบอกว่า เราเข้าใจคุณมากๆ นะ เขา relate กับมุมมองของเรา หรือโตมาแบบคล้ายๆ กัน “ก็พอตอบได้ว่ามีคนที่เติบโตมาด้วยประสบการณ์คล้ายๆ กันอยู่ สำหรับเราไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร แต่พวกเขาอาจตกใจที่เราพูดหรือกลัวแทนเราด้วยซ้ำ และขอบคุณมิตรภาพของมุสลิมอีกหลายคนที่โอบรับเราไว้ “ถามว่าเติบโตมาอย่างไร เราโตมาในครอบครัวค่อนข้างเปิดกว้างนะ มีอิสระทางความคิด ทุกเย็นบนโต๊ะอาหารที่บ้านคือพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องทางสังคม การเมือง

เปิด งบ ต่างจังหวัด ชวนทอดถอนใจ อยากรู้ไหม จังหวัด ไหนได้งบประมาณประจำปี 2565 มากที่สุด ‘สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี’ ระบุว่า เงินงบประมาณประจำปี 2565 ตัวเลขกลมๆ คือ 3,100,000,000,000 บาท และใช่ครับ จังหวัดที่ได้มากสุดแบบไม่ต้องเดาคือ กรุงเทพมหานคร 1,704,115,874,600 บาท คิดเป็น 54.97% ส่วนกลาง 587,409,336,900 บาท คิดเป็น 18.95% ส่วนจังหวัดอันดับถัดมาคือ นนทบุรี 216,369,527,800 หรือเพียง 6.98% จากงบประมาณทั้งหมด ถัดมาคือ นครปฐม 29,430,393,800 บาท หรือ 0.95% ตามมาด้วย นครราชสีมา 24,431,188,000 บาท หรือ 0.79% ข้ามไปอันดับ 10 เลยคือ จังหวัดขอนแก่น 17,001,642,500 หรือเพียง 0.55%