ความกลัวคืออุปสรรคการกระจายอำนาจที่มีประสิทธิภาพ

ความกลัว เป็นพื้นฐานอารมณ์ของมนุษย์เพื่อตอบสนองสถานการณ์ที่กระทบกับความรู้สึกปลอดภัยต่อหน้า หรือบางครั้งความกลัวเกิดจากการคิดไปเอง เมื่อกระเเสแนวคิดเรื่องเสรีภาพและการกระจายอำนาจได้ถูกพูดถึงในช่วงศตวรรษที่ 19 และ 20 มากขึ้นเรื่อยๆ และเป็นที่รับรู้ว่าการกระจายอำนาจเป็นวิถีแห่งการเติบโตของประเทศในองค์รวม ทั้งๆ ที่ส่วนกลางของแต่ละประเทศทราบดีอยู่เเล้วว่า การกระจายอำนาจของส่วนกลางให้ส่วนท้องถิ่นได้บริหารการใช้จ่ายและรับรายได้เองนั้น มีแนวโน้มที่จะกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจได้มากกว่า การบริหารทรัพยากรผ่านการกระจายอำนาจนั้น เเสดงออกถึงความโปร่งใสด้านการบริหารของส่วนกลางที่มีต่อการคลัง ผลที่ได้รับจากการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นที่เปิดกว้างนั้น จะขยายขอบเขตความสามารถของท้องถิ่นเพื่อปรับปรุงและเพิ่มเติมได้ตาม ความเหมาะสมที่สุด ของส่วนท้องถิ่นนั้นๆ ทำให้เกิดการเติบโตและความเท่าเทียมในประเทศ แม้แนวคิดการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะยอมรับ อีกทั้งความไม่เต็มใจที่จะส่งต่ออย่างแท้จริงของส่วนกลาง เพราะกลัวสูญเสียการควบคุมทางการเมือง ความกลัวคือตัวรั้งไม่ให้ส่วนท้องถิ่นได้ สิ่งที่เรียกว่า ความเหมาะสมที่สุด ทั้งๆ รู้ดีว่ามันดีได้มากกว่านี้ จนกลายเป็นอุปสรรคในการกระจายอำนาจที่มีประสิทธิภาพสู่ท้องถิ่น  ความกลัว เป็นอารมณ์ตามธรรมชาติของมนุษย์ที่เกิดขึ้นจากการโจมตี ความคิดเมื่อประสบกับภัยคุกคามตามสถานการณ์จริง รวมไปถึงการคิดไปเอง และมีวิธีการตอบสนองที่แตกต่างกันออกไป เมื่อส่วนกลาง กลัว ที่จะเสียการควบคุมเพราะไม่ได้ยินยอมที่จะให้ส่วนท้องถิ่นทำอย่างเต็มที่สะท้อนให้เห็นถึงโครงสร้างการกระจายอำนาจข้างในส่วนกลางว่ามีข้อบกพร่องชัดเจน การกำหนดความรับผิดชอบด้านการคลังที่ชัดเจน เช่น การพึ่งพา การใช้งบประมาณจากส่วนท้องถิ่นเกินความจำเป็น และความไม่มั่นคงทางการเมืองภายในส่วนกลาง อย่าง ประเทศแอฟริกาใต้ ที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็น ผู้นำรัฐบาล ได้มีการถกเถียงเรื่องสำคัญของการพัฒนาระบบการบริหารอย่างการกระจายอำนาจ ในปี 1994  ถึงการบริหารทรัพยากรการเงินผ่านการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ที่ถูกตั้งข้อขัดแย้งและไม่ได้ส่งเสริมการจัดการที่ดีตามมาตรฐานต่อส่วนท้องถิ่น ทำให้เกิดความขัดข้องในการบริหาร และยังเป็นประเด็นถึงปัจจุบัน ที่ส่วนกลางยังคงกลัวที่และไม่ได้ไว้วางใจให้ส่วนท้องถิ่นได้ทำ

ประวัติศาสตร์อเมริกา จากผู้อพยพแสวงหาเสรีภาพดินแดนใหม่ สู่การมีรัฐธรรมนูญเก่าแก่สุด และการกระจายอำนาจ

บทความชิ้นนี้ ไม่ต้องการให้ประเทศไทยเปลี่ยนระบอบการปกครอง เพียงสื่อให้เห็นถึงประวัติศาสตร์การมีรัฐธรรมนูญเก่าแก่ที่สุดของประเทศอเมริกา และการกระจายอำนาจ สหรัฐอเมริกานับเป็นประเทศในโลกยุคใหม่ คือเพิ่งเริ่มต้นเมื่อปี 1760 ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับชาติที่เก่าแก่ทั้งหลายในโลกไม่ว่าจะเป็นประเทศในทวีปยุโรป เอเชีย หรือแม้แต่ประเทศไทย สหรัฐอเมริกาอาจไม่ได้มีประวัติศาสตร์การสร้างชาติที่ยาวนานนัก แต่กลับเป็นประเทศที่มีรัฐธรรมนูญของตนเองที่บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรใช้มายาวนานที่สุด คือตั้งแต่ปี 1791 ก่อนประกาศอิสรภาพในวันที่ 4 กรกฎาคม 1776 สหรัฐอเมริกาเคยอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษมายาวนานถึง 175 ปี พลเมืองส่วนใหญ่กว่า 75% มาจากประเทศอังกฤษ ผู้อพยพที่มาตั้งรกรากและเริ่มต้นประวัติศาสตร์การสร้างชาติใหม่นั้น ล้วนเป็นผู้ที่แสวงหาอิสรภาพ เสรีภาพ เหตุผลสำคัญของการอพยพเข้าสู่ทวีปอเมริกาก็ด้วยความไม่พอใจในระบบการปกครองและต้องการหลีกหนีจากการปกครองแบบเดิมๆ ที่ควบคุมวิถีชีวิต ผู้คนคิดถึงอำนาจอิสระที่ตนพึงมีและต่อต้านระบบอาณานิคมที่มีอยู่ในขณะนั้น การแสวงหาเสรีภาพ การอยู่ร่วมกันอย่างสันติและเป็นอิสระต่อกัน จึงกลายมาเป็นแนวคิดหลักของการสร้างชาติในดินแดนใหม่ ประกอบกับในยุคสมัยนั้นมีการค้นพบในทางวิทยาการใหม่โดยเฉพาะการค้นพบระบบสุริยะจักรวาล ทำให้คนในโลกยอมรับเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ไม่ถูกปิดกั้นด้วยความเชื่อที่มีมายาวนาน ในเชิงสังคมวิทยาผู้คนเริ่มรู้จักใช้เหตุผลในทางสังคมเพื่อการอยู่ร่วมกัน จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้เหตุผลในทางการเมืองที่เป็นประชาธิปไตย ระบบการเมืองการปกครองของอเมริกา ไม่ได้มาจากความคิดหรือความต้องการของผู้มีอำนาจฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่เกิดจากความคิดร่วมกันของนักคิดที่มีความสามารถหลายคนในยุคนั้น ไม่ว่าจะเป็นแฟรงคลิน, เจฟเฟอร์สัน, แฮมิลตัน, วิลสัน และแมดิสัน นักปรัชญาอังกฤษผู้หนึ่งที่มีอิทธิพลต่อนักการเมืองที่ร่างรัฐธรรมนูญอเมริกัน ก็คือ จอห์น ล็อก ผู้ใช้ทฤษฎีสัญญาประชาคม (Social Contract Theory) อธิบายสิทธิเสรีภาพของบุคคลและสัมพันธภาพระหว่างบุคคลกับรัฐ ซึ่งแนวคิดของเขาตรงข้ามกับของ

จากระบบศักดินาสวามิภักดิ์สู่การกระจายอำนาจ: การปรับตัวหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ของญี่ปุ่น

ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีเรื่องราวด้านการปกครองด้วยเจตนารมณ์รวมญี่ปุ่นเป็นแผ่นดินเดียวกันในแต่ละยุคสมัยต่างๆ ได้อย่างน่าสนใจ เพราะในปัจจุบันญี่ปุ่นใช้ระบอบการปกครองเป็นรัฐเดี่ยว ระบบรัฐสภา ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญด้วยระบอบประชาธิปไตย มีจักรพรรดิหรือกษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศ และมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำในการบริหารประเทศ มีกฎหมายสูงสุดคือรัฐธรรมนูญ เช่นเดียวกับ ประเทศไทย แต่ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีการปกครองในระบบรัฐสภาที่มีเสถียรภาพ และญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ใส่ใจและลงมือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมออย่างมากเมื่อเทียบกับหลายประเทศในเอเชีย แต่การที่ญี่ปุ่นจะมาถึงจุดนี้ได้ต้องผ่านเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ทางการเมือง การต่อสู้ สงคราม มาอย่างยาวนาน เเละการแย่งชิงอำนาจทางการเมืองนั้นเกิดขึ้น ช่วงแรกญี่ปุ่นภายใต้ จักรพรรดิ และผู้ที่ดำรงตำแหน่ง โชกุน ที่ดำเนินการบริหารอำนาจการปกครอง โดยผู้ที่ดำรงตำแหน่งโชกุนมาตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1185 เป็นเวลาเนิ่นนานมากกว่า 600 ปี การปกครองแบบระบบฟิวดัล (ระบบศักดินาสวามิภักดิ์) ผ่านการบริหารในรูปแบบจุดอำนาจอยู่ที่เดียว การเกิดกบฏและสงครามกลางเมืองอยู่บ่อยครั้ง นี่เป็นผลสะท้อนของความไม่พึงพอใจของผู้คนในแคว้นต่างๆ ยิ่งช่วงสุดท้ายของยุคเอโดะภายใต้โชกุนที่บริหารด้วยความเผด็จการทางทหารที่ปกครองและยังกระจายอำนาจแบบเลือกพรรคเลือกพวก ทำให้ก่อเกิดสงครามแย่งอำนาจบานปลายกลายเป็นสงครามกลางเมืองหรือสงครามโบะชิง (Boshin) และสิ้นสุดระบอบโชกุนในปี 1868 ในที่สุดเริ่มก้าวใหม่ของการปกครองของญี่ปุ่นแม้ว่าเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์กับราชาธิปไตยในรัฐธรรมนูญเมจิ แต่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญและยิ่งใหญ่มากกว่านั้นได้มาหลังจากการที่ญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ญี่ปุ่นต้องทำตามเสียงเรียกร้องจากฝ่ายชนะสงคราม (สัมพันธมิตร) ที่ต้องการล้างความเชื่อดั้งเดิมว่า จักรพรรดินั้นเป็นเทพเจ้า เป็นเพียงแค่คนธรรมดา การประกาศความเป็นมนุษย์ ของพระจักรพรรดิฮิโรฮิโตะสละสถานะของพระองค์เอง โดยประกาศว่า เขาไม่ใช่พระเจ้าและแนวคิดเรื่องความเป็นพระเจ้าของจักรพรรดินั้นไม่เป็นความจริง ณ วันที่ 1 มกราคม

6 ตุลา จับอาชญากรเบื้องหลัง ขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศ

หกตุลาเวียนมาบรรจบอีกครา แต่ปีนี้ไม่เหมือนปีไหนๆ คนรุ่นใหม่ให้ความสนใจ กระหายรู้ ค้นลึกอดีตประหนึ่งนักธรณีวิทยาค่อยๆ ลอกชั้นดินประวัติศาสตร์บาดแผล เพื่อประจักษ์แจ้งแก่ความจริง ใครอยู่เบื้องหลังการฆ่านักศึกษาอย่างเหี้ยมเกรียม นิทรรศการถูกจัดขึ้น รูปที่ไม่เคยได้เห็น เนื้อหาไม่เคยทราบ ทยอยหลั่งไหลราวขบวนรถไฟแห่งยุติธรรมเคยถูกควันดำโฆษณาชวนเชื่อบดบัง   Current Affair สกู๊ปทันสถาณการณ์ชิ้นนี้ เป็นการทวงถามความจริงอีกรูปแบบหนึ่ง ใช้กล้องจุลทรรศน์ขยายภาพถ่ายขาวดำมากมายสมัย 6 ตุลา 2519 กระทั่งภาพสี พฤษภาคม 2535 ฤดูร้อนแห่งการล้อมปราบ 2553 เพื่อพึ่งเครื่องมือที่เรียกว่ากฎหมาย ดักจับผู้อยู่เบื้องหลังขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศ หรือ ICC ศาลอาญาระหว่างประเทศ หรือ ICC คืออะไร ศาลอาญาระหว่างประเทศคือศาลสำคัญ เป็นกลไกช่วยปกป้องบุคคลให้พ้นไปจากการก่ออาชญากรรมร้ายแรงจากบรรดาเจ้าหน้าที่รัฐ และติดตามดำเนินคดีผู้กระทำความผิด แม้มีการนิรโทษกรรม ก็ไม่อาจทำให้ผู้กระทำความผิดพ้นผิดไปได้ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุด มีการตั้งศาลพิเศษขึ้นที่ เมืองนูเรมเบิร์ก (Nuremberg) ประเทศเยอรมนี นำบุคคลผู้กระทำความผิดมาขึ้นศาลนี้ ต่อมาเห็นตรงกันว่า การตั้งศาลพิเศษเฉพาะกรณีไม่เหมาะสม ประเทศมหาอำนาจหรือประเทศผู้ชนะสงคราม อาจเข้ามาแทรกแซงตั้งศาลเฉพาะรายกรณีได้ ขณะเดียวกัน บรรดาประเทศมหาอำนาจที่อาจมีส่วนร่วมในการก่ออาชญากรรมระหว่างประเทศ มักรอดพ้นจากการพิจารณาคดีเหล่านี้ ต้องมีศาลระหว่างประเทศเพื่อพิจารณาคดีอาญาระหว่างประเทศ

ย้อนเส้นทางศาลรัฐธรรมนูญ ยุบทิ้ง หรือปฏิรูป

เป็นที่ขัดใจมหาชน หลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ พล.อ. ประยุทธ์ ไปต่อ ด้วยมติ 6:3 ฝั่งฝ่ายไม่เห็นด้วยคิดว่านี่คือคำวินิจฉัยไม่ชอบธรรม วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ให้สัมภาษณ์ ถ้าว่ากันตามตัวบทกฎหมาย เราต้องนับตั้งแต่ปี 2560 กระนั้นในสายตาวรเจตน์ ประยุทธ์ไม่มีความชอบธรรมจะเป็นนายกฯ แม้แต่วันเดียว เพราะมาจากการรัฐประหาร Current Affair สกู๊ปทันสถานการณ์ชิ้นนี้ พาไปย้อนดูเส้นทางศาลรัฐธรรมนูญ รวมถึงมองไปข้างหน้าว่า เราควรยุบทิ้ง หรือปฏิรูป กำเนิดศาลรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญ เป็นองค์กรตุลาการจัดตั้งขึ้น ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 แทนคณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่ยุบเลิกไป และมีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ หน้าที่หลักคือ การพิจารณาทบทวนโดยศาล โดยวินิจฉัยว่ากฎหมายใดขัดต่อรัฐธรรมนูญก็เป็นอันตกไป อย่างไรก็ตาม บทบาทของศาลรัฐธรรมนูญในเส้นประวัติศาสตร์ร่วมสมัย มีตั้งแต่การประกาศว่าการเลือกตั้งไม่ชอบด้วยกฎหมาย การยุบพรรคการเมือง และการตัดสินให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพ้นจากตำแหน่ง 30 พฤษภาคม 2550 ยุบพรรคไทยรักไทยและ 3 พรรคเล็กจากคดีจ้างลงเลือกตั้ง 9 กันยายน 2551 วินิจฉัยให้ สมัคร

เราต้องไม่ตายด้วยโควิด 19 อีก: อ่าน ออสเตรเลีย กระจายอำนาจ

การกระจายอำนาจได้รับการสนับสนุนมานาน ว่าเป็นแนวทางในการเสริมสร้างระบบสุขภาพและปรับปรุงผลลัพธ์ด้านสุขภาพ หลายประเทศสามารถดำเนินการในการบรรลุเป้าหมายด้านสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วนั้น ก็ด้วยการดำเนินการผ่านโครงสร้างการกระจายอำนาจ มีตัวอย่างมากมายไม่ว่าจะเป็น เอธิโอเปีย เนปาล รวันดา และเซเนกัล การกระจายอำนาจนั้นให้อำนาจแก่ผู้มีอำนาจการตัดสินใจในท้องถิ่น ในการส่งมอบและจัดสรรทรัพยากรไปให้แก่ผู้ที่มีความจำเป็นเร่งด่วน ทำให้เกิดความเท่าเทียมในการเข้าถึงสวัสดิการพื้นฐานและทำให้ดัชนีวัดผลลัพธ์ทางสุขภาพ (Health outcomes) นั้นพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น อย่างไรก็ดี ในสภาวะวิกฤตที่ไม่คาดฝัน อย่างการแพร่ระบาดของ โควิด 19 ทำให้เกิดการเปรียบเทียบประโยชน์ของระบบสุขภาพแบบรวมศูนย์และแบบกระจายอำนาจอย่างชัดเจน นับเป็นตัวอย่างที่ดีที่ให้บทเรียนแก่หลายประเทศ บทเรียนหนึ่งที่สำคัญคือ การรับมือกับวิกฤตอย่างมีประสิทธิภาพจำเป็นต้องมีการตัดสินใจและการลงมือปฏิบัติการที่รวดเร็วฉับไวในการแก้ปัญหาเชิงรุก การตัดสินใจลงมือทำบางสิ่งอย่างทันท่วงทีเพื่อแก้ปัญหาคือกุญแจสำคัญ แน่นอนว่าการบริหารจัดการระบบสุขภาพแบบรวมศูนย์น่าจะเอื้อต่อการตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วมากกว่า แต่นั่นจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อส่วนกลางต้องมีการตัดสินใจที่เฉียบคม การเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วและครอบคลุมในทุกระดับ ทุกมิติ ในการแก้ปัญหาภาพรวมของประเทศ เมื่อพิจารณากรณีไต้หวันและสิงคโปร์ ซึ่งแม้ว่าทั้ง 2 ประเทศจะทำได้ดีในตอนแรก ด้วยการจัดการแบบรวมศูนย์และเตรียมพร้อมตั้งแต่เริ่มแรกเพื่อดำเนินการอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีประสบการณ์ก่อนหน้านี้กับโรคซาร์สมาก่อน แต่ประเทศเหล่านี้ตอนนี้ก็ยังต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายต่อเนื่อง เมื่อสถานการณ์โควิดยังคงดำเนินไปและสิ่งที่ใช้แก้ปัญหาได้ดีในช่วงแรกอาจไม่ได้ผลเสมอไป โควิดกำลังเคลื่อนจากระยะวิกฤตไปสู่ระยะเรื้อรัง ซึ่งทุกประเทศต้องปรับตัวให้ทัน เพื่อวางแผนรับมือกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นระยะยาว มีหลายปัจจัยที่มีผล เราจึงไม่สามารถพูดได้ว่าการรวมศูนย์จะช่วยแก้แก้ปัญหาในช่วงวิกฤตการระบาดใหญ่ได้ดีที่สุด ในช่วง 2 ปีแรกของการระบาดของโควิด 19 เราได้เห็นรัฐบาลแบบรวมศูนย์ในหลายประเทศที่ล้มเหลวในการบริหารจัดการกับวิกฤต ทั้งในแง่ของการป้องกันโรค การเตรียมตัวรับมือ และการวางแผนตอบโต้โรคระบาดในเชิงรุก ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำและล่าช้า เช่นเดียวกันกับประเทศไทย นับเป็นความท้าทายของการบริหารราชการไทยในภาวะวิกฤตอย่างยิ่ง เพราะการแพร่ระบาดของโควิด

ผสานแนวคิดเก่า-ใหม่โลกมุสลิมด้วยการกระจายอำนาจ

เมื่อเปิดหน้าประวัติศาสตร์ของโลกในมิติศาสนาสำหรับประเทศมุสลิมแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมีความเกี่ยวพันกันอย่างเลี่ยงไม่ได้ ทั้งการมีส่วนร่วมทางการเมือง แนวความคิดที่หลากหลาย และวิถีชีวิต ชาวมุสลิมจำนวนไม่น้อยที่มีแนวคิดใหม่นั้น พวกเขาเชื่อว่ามนุษย์ถูกสร้างมาอย่างเสรี ให้มีสิทธิที่จะเลือกได้ เมื่อชีวิตของมนุษย์ถูกพรากเสรีภาพไปหรือลดทอนเสรีภาพลง นั่นเปรียบเสมือนว่าชีวิตนั้นกำลังขัดแย้งกับธรรมชาติของมนุษย์ และพวกเขามองว่าหลักศาสนาไม่ได้ขัดแย้งกับหลักแห่งเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนแต่อย่างใด ถึงอย่างนั้นก็ยังมีกลุ่มอนุรักษนิยมที่มีความประสงค์ให้วิถีชีวิตเป็นอย่างที่มีมาแต่เดิม ทั้งในบริบทวัฒนธรรมและอารยธรรม พวกเขาไม่เห็นด้วยกับแนวความคิดอื่นเพื่อการเปลี่ยนแปลง นี่คือความท้าทายท่ามกลางความคิดที่แตกต่างกันระหว่างเก่า-ใหม่ เนื่องจากยังมีบางกลุ่มที่ต้องการคัดค้าน ต่อต้านแนวคิดจากประเทศฝั่งตะวันตก เพื่อรักษาวิถีชีวิตและแนวทางแบบเดิม หรืออาจจะเข้มข้นยิ่งกว่าเดิมไว้ ด้วยอุดมคติอันแรงกล้าที่อยากจะเห็นความเจริญและรุ่งโรจน์อย่างในช่วงสมัยการพิชิตดินแดนโดยมุสลิม ดังนั้น การเริ่มต้นของกลุ่มคนที่ต้องการทำสิ่งใหม่ๆ ในสังคมมุสลิม จึงยังคงเป็นเพียงแนวความคิดชายขอบ บางครั้งก็ดูเหมือนว่าจะถูกจำกัดศักยภาพทางการเมืองเพียงเพราะมีความคิดที่แตกต่าง ทั้งที่นั่นน่าจะเป็นการแสดงออกถึงความความหวังทางการเมืองที่เกิดขึ้น เเละยังเป็นสิ่งที่ได้รับความสนใจจากประเทศมุสลิมทั่วโลกอีกด้วย กลุ่มหนึ่งที่มีแนวคิดต่อต้านการปรับเปลี่ยนวิถีใหม่ในโลกมุสลิมอย่างชัดเจนและมีอิทธิพลอย่างมากในประวัติศาสตร์โลกมุสลิม นั่นก็คือ กลุ่มภราดรภาพมุสลิม (Muslim Brotherhood ) ซึ่งมีจุดเริ่มต้นในประเทศอียิปต์ ในปี 1928 นำโดย นายฮันซาน อัลบันนา ผู้ก่อตั้ง นักรณรงค์ และผู้นำกลุ่มภราดรภาพมุสลิมที่เป็นองค์กรที่ทรงอิทธิพล มีเครือข่ายในหลายประเทศและเป็นที่น่าจับตามองเป็นอย่างมากในยุคสมัยนั้น เพราะความคิดของอัลบันนานั้น ไม่เห็นด้วย และต่อต้านวัฒนธรรมตะวันตกจากหลากหลายประเทศมหาอำนาจ ที่แผ่ขยายอิทธิพลทั้งทางการเมืองและวัฒนธรรมเข้ามาในอียิปต์ เขามีเป้าหมายที่จะมีส่วนทางด้านกฎหมายเพื่อรักษารูปแบบแนวทางดั้งเดิมเอาไว้และทำให้ดูเข้มข้นมากกว่าเดิม อีกทั้งมีการเคลื่อนไหวปลุกระดมทางการเมืองกับประชาชน เวลาผ่านไปไม่กี่ปีเท่านั้นก็มีคนมากมายที่เห็นด้วยกับเเนวคิดของเขาและเข้าร่วมกลุ่มภราดรภาพมุสลิม ยิ่งไปกว่านั้นเเนวคิดของเขายังส่งอิทธิพลไปถึงประเทศมุสลิมหลายประเทศในแถบแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง แต่ท้ายที่สุดแล้วฮาซัน อัลบันนาก็ถูกลอบสังหารใน ปี 1949

เชิญแสดงความเห็น ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อเลือกตั้งผู้บริหารสูงสุดของจังหวัดทั่วประเทศ และจังหวัดจัดการตนเอง ฉบับประชาชน ก่อนเปิดให้ลงชื่อ

ขอเชิญทุกท่านร่วมแสดงความเห็นเพื่อการมีส่วนร่วมของประชาชน ในช่องคอมเมนต์ด้านล่างเนื้อหานี้ ประเทศไทยมีการบริหารราชการแผ่นดินแบบรวมศูนย์อำนาจมานาน ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของคนต่างจังหวัด แตกต่างจากกรุงเทพมหานครอย่างมาก การกระจายอำนาจจึงเป็นทางออกของปัญหาดังกล่าว รัฐธรรมมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มีบทบัญญัติในหมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น อันมีเนื้อหาสาระอันเป็นอุปสรรคต่อการกระจายอำนาจ และการจัดตั้งจังหวัดจัดการตนเอง รวมถึงการเลือกตั้งผู้บริหารสูงสุดของจังหวัดทั่วประเทศ ตามหลักแห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น สาระหลักของร่างฯ ท้องถิ่นใดมีลักษณะที่จะปกครองตนเองได้ย่อมมีสิทธิ์จัดตั้งจังหวัดจัดการตนเอง ตามที่กฎหมายบัญญัติ และมีสิทธิ์เลือกตั้งผู้บริหารสูงสุดของจังหวัดตนเอง ยุบรวม นายก อบจ. ให้กลายเป็นผู้บริหารสูงสุดของจังหวัดจากการเลือกตั้ง จังหวัดมี 2 ชั้น คือชั้นบน ผู้บริหารสูงสุดของจังหวัดจากการเลือกตั้ง ชั้นล่าง เทศบาล อบต.ยังดำรงอยู่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สังกัดส่วนท้องถิ่น และมาจากการเลือกตั้งของประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีความเป็นอิสระในการกำหนดนโยบายการบริหาร การจัดทำบริการสาธารณะ การบริหารงานบุคคลการเงินและการคลัง จัดทำและการใช้จ่ายงบประมาณและมีหน้าที่และอำนาจเป็นของตนเอง เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น เกี่ยวกับงบประมาณ การจัดสรรส่วนรายได้ระหว่างราชการส่วนกลางและราชการส่วนภูมิภาคกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องเพิ่มขึ้นโดยคิดเป็นสัดส่วนรายได้สุทธิของรัฐบาลไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ภายใน 3 ปีนับแต่วันที่รัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น มีการกำหนดอำนาจในการจัดเก็บภาษีและรายได้อื่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีวิธีการในการจัดทำบริการสาธารณะได้หลากหลายและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เกี่ยวกับสวัสดิภาพของคนทำงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีสภาท้องถิ่นและคณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้ง ในการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องมีองค์กรพิทักษ์ระบบคุณธรรมของข้าราชการส่วนท้องถิ่น

2519 แขวนคอ 2 ช่างไฟฟ้า 2565 แขวนเสรีภาพ

24 กันยายน 2519 วิชัย เกษศรีพงศ์ษา และ ชุมพร ทุมไมย ช่างการไฟฟ้า 2 คนถูกแขวนคอที่จังหวัดนครปฐม หลังติดโปสเตอร์ต่อต้านการกลับประเทศของ พระถนอม ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ว่า ตำรวจกลุ่มหนึ่งเป็นผู้ลงมือฆ่าช่างการไฟฟ้า สู่การแสดงละครของนักศึกษาในวันที่ 5 ตุลาคม 2519 วันต่อมา ดาวสยาม หนังสือพิมพ์ฝ่ายขวาได้กล่าวหานักศึกษาที่แสดงละครแขวนคอว่าหมิ่นพระบรมโอรสาธิราช พร้อมด้วยข้อหาล้มสถาบันกษัตริย์ ภาพจากหนังสือพิมพ์ดังกล่าว ถูกนำไปปลุกระดมให้ลูกเสือชาวบ้านและกลุ่มฝ่ายขวาอื่นๆ เข้าปิดล้อมธรรมศาสตร์ ที่มีนักศึกษานับพันคนชุมนุมประท้วงกันอยู่ ก่อนเกิดการฆาตกรรมอันโหดเหี้ยม 6 ตุลา โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ 6 ตุลา – October 6 Museum Project โพสต์ว่า ภายหลังการล้อมปราบด้วยอาวุธหนักเช้ามืด 6 ตุลาคม 2519 ผู้ชุมนุมกว่า 3,000 คน ถูกจับและแยกย้ายไปควบคุมตัวตามสถานีตำรวจหลายแห่งในกรุงเทพฯ และโรงเรียนตำรวจทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 9 ตุลาคม 2519

จากเผด็จการยาวนานในอินโดนีเซีย สู่การกระจายอำนาจเพื่อยกระดับประชาธิปไตย

ประเทศอินโดนีเซีย เป็นประเทศที่มีสภาพภูมิศาสตร์เป็นหมู่เกาะ แต่ละเกาะต่างมีชุมชนและการปกครองของตนเองมาก่อน ในแต่ละพื้นที่มีเจ้าหน้าที่ประจำตำบล ในแต่ละตำบลแบ่งออกเป็นหมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้านที่มาจากการเลือกตั้งที่ประชาชนเลือก  แต่การขยายอาณานิคมดัตช์เข้าไปในดินแดนประเทศอินโดนีเซียนับเป็นจุดเปลี่ยน ทำให้ชาวอินโดนีเซียต้องกลายเป็นแรงงานเพื่อทำอุตสาหกรรมการเกษตร ทำให้เกิดการการรวบรวมที่ดิน ต่อมามีกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ได้เรียนรู้และมีแนวความคิดว่าประเทศอินโดนีเซียมีศักยภาพที่จะเติบโตและมีเอกราชจากดัตช์ได้ จนกระทั่งในวันที่ 27 ธันวาคม 1949 ประเทศอินโดนีเซียได้รับเอกราชจากดัตช์ ประธานาธิบดีคนแรก คือ ซูการ์โน เป็นผู้นำความคิดเชื่อมโยงคนในประเทศท่ามกลางความหลากหลายของชุมชน และกลุ่มผู้นำของชุมชนต่างๆ บนเกาะเล็กใหญ่ที่มีมากกว่า 17,000 เกาะ มีภาษาท้องถิ่นที่แตกต่างกันด้วยภาษาหลัก คือ ภาษาบาฮาซา อินโดนีเซีย แต่ประธานาธิบดีซูการ์โน คือ ผู้ทำหน้าที่เป็นทั้งประมุขแห่งรัฐ ผู้นำรัฐบาล และผู้มีอำนาจสั่งการผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองกำลังติดอาวุธแห่งชาติในเวลาเดียวกัน ด้วยการปกครองที่ยาวกว่า 20 ปี ของเขานั้น กลับทำให้การกระจายอำนาจการปกครองท้องถิ่นหยุดชะงักไป ความที่เป็นคนมีแนวความคิดเชื่อมโยงความหลากหลายเข้าด้วยกัน การปกครองนั้นจึงเป็นการปกครองรูปแบบเผด็จการ มากไปกว่านั้น การเมืองภายในยังร้อนระอุมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งเกิดการชิงอำนาจทางการเมืองโดย ซูฮาร์โต ได้เป็นประธานาธิบดีคนที่ 2 ประเทศอินโดนีเซียต้องอยู่ภายใต้การปกครองของจอมเผด็จการยาวนานกว่า 32 ปี แม้ว่าซูฮาร์โตเป็นผู้ที่ประกาศนโยบายระเบียบใหม่ เพื่อสร้างความเป็นระเบียบในบ้านเมือง และสหรัฐอเมริกาได้พยายามสร้างความสัมพันธ์อย่างค่อยเป็นค่อยไปในหลายด้านกับประเทศอินโดนีเซีย รวมไปถึงการกระตุ้นสิทธิมนุษยชนจากความขัดแย้งของติมอร์ตะวันออก แต่การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นกลับถูกลดค่าลงไป ยังถูกเมินเฉย เพราะมุ่งเน้นในการจัดการความขัดแย้งกลุ่มที่ต่อต้านรัฐบาล