เดชรัต สุขกำเนิด: อำนาจทางการเมืองคืออะไร

การจัดสวัสดิการให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น จึงเป็นทั้งการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทย ไปพร้อมๆ กับการสร้างการมีส่วนร่วมและความมั่นคงทางการคลังของประเทศด้วย ขอความรู้จาก เดชรัต สุขกำเนิด ปริญญาโทด้านการพัฒนาการเกษตรและชนบทจาก Institute of Social Studies ประเทศเนเธอร์แลนด์ ปริญญาเอกด้านการวางแผนและพัฒนาจาก Aalborg University ประเทศเดนมาร์ก. อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัย ปัจจุบันคือ ผู้อำนวยการ Think Forward Center นโยบายการพัฒนาประเทศพรรคก้าวไกล อ่านที่อาจารย์เขียนในเว็บคณะก้าวหน้าว่า อำนาจทางการเมืองมีหลายแบบ ถ้าเราจะกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น อำนาจนั้นๆ มีอะไรบ้าง อำนาจทางการเมืองที่สำคัญอาจแบ่งได้เป็น 4 อำนาจใหญ่ๆ นั่นคือ หนึ่ง… อำนาจในการตัดสินใจ ว่าจะเลือกทำอะไร หรือไม่ทำอะไร เช่น การอนุมัติ อนุญาต กิจการ/โครงการ/ผังเมืองต่างๆ หรือจะดำเนินการในรูปแบบใด สอง… อำนาจในการจัดสรรและบริหารทรัพยากร เช่น การจัดสรรงบประมาณในด้านต่างๆ การลงทุน การจัดระบบสวัสดิการ รวมถึงการบริหารงานบุคคล สาม… อำนาจในการกำหนดวาระ/ประเด็นสำคัญในแต่ละพื้นที่ หรือแต่ละช่วงเวลา เช่น การอนุรักษ์/ปรับปรุงนิเวศวัฒนธรรม การพัฒนาเศรษฐกิจใหม่

เรื่องเล่าจากอิสลามคนหนึ่งที่ถูกมองว่าเติบโตมาอย่างผิดแปลก

สัมภาษณ์มุสลิมคนหนึ่ง โดยถูกขอให้ใช้คำว่า เรื่องเล่าจากอิสลามคนหนึ่งที่ถูกมองว่าเติบโตมาอย่างผิดแปลก และย้ำว่า ไม่ใช่คนที่มีทฤษฎีวิชาการทางศาสนา เพียงพูดในมุมมองของปัจเจก-เราคิดว่าคำคำนี้หมายถึงความเป็นมนุษย์ “เกิดมาในครอบครัวที่เป็นอิสลาม เอกสารราชการระบุว่านับถือศาสนาอิสลาม แต่เราเองคงไม่อาจกล่าวได้ว่าตนเป็นมุสลิมที่ดีหรือถูกต้อง จากประเด็นถกเถียงก่อนจะวิพากษ์วิจารณ์กันไปมากมาย เรื่องนี้เป็นเรื่องปัจเจกล้วนๆ แต่เมื่อมีการขยายความกันออกไปกลับมีผู้คนที่บอกนับถือศาสนาอิสลามแบบเราเข้ามาพิพากษาเราอย่างใจดำ “บางคนบอกให้ออกจากศาสนาก็มี สำหรับเราแล้วนี่คือที่มาของการหล่อหลอมให้เราเป็นเรา นอกจากการเป็นอิสลาม เรายังอยากเป็นมนุษย์ที่มีหัวจิตหัวใจด้วยเช่นกัน ยอมรับว่าบางทีก็ไม่เข้าใจว่า ทำไมสังคมมุสลิมเราต้องอยู่กันด้วยความเกรงกลัวคนมุสลิมกันเองขนาดนี้ ทำไมถึงผลักคนที่มีความเห็นต่างออกมาขนาดนี้ “ครอบครัวอิสลามหัวก้าวหน้ามีมากไหม” เราถาม มุสลิมคนหนึ่งตอบว่าไม่อาจระบุได้ ไม่รู้จริงๆ “แต่ดูจากปริมาณคนที่มาคอมเมนต์หรือทัก inbox มาบอกว่า เราเข้าใจคุณมากๆ นะ เขา relate กับมุมมองของเรา หรือโตมาแบบคล้ายๆ กัน “ก็พอตอบได้ว่ามีคนที่เติบโตมาด้วยประสบการณ์คล้ายๆ กันอยู่ สำหรับเราไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร แต่พวกเขาอาจตกใจที่เราพูดหรือกลัวแทนเราด้วยซ้ำ และขอบคุณมิตรภาพของมุสลิมอีกหลายคนที่โอบรับเราไว้ ต่อคำถามคุณเติบโตมาอย่างไร นี่คือคำตอบ “เราโตมาในครอบครัวค่อนข้างเปิดกว้างนะ มีอิสระทางความคิด ทุกเย็นบนโต๊ะอาหารที่บ้านคือพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องทางสังคม การเมือง ถ้าถามว่าความก้าวหน้าเกิดขึ้นเมื่อไร และเกิดขึ้นได้อย่างไรคำตอบคือ มื้อเย็นในครอบครัว ที่จริงก็ไม่อยากใช้คำว่าก้าวหน้าหรืออะไรแบบนั้นนะ “เพราะมันควรเป็นความปกติมากกว่าในการเปิดโอกาสให้ได้สงสัย ตั้งคำถาม และแลกเปลี่ยนความเห็น เราเชื่อว่าในยุคที่ศิลปวิทยากรและวิทยาศาสตร์ในโลกมุสลิมที่เคยรุดหน้ามากที่สุด ซึ่งหลายอย่างเป็นพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ทุกวันนี้ก็มาจากการสงสัยและตั้งคำถาม “เราถูกสอนเสมอว่าสังคมต้องเดินไปข้างหน้า เราเองต้องยอมรับพัฒนาการและปรับตัว

เอ้-กุลจิรา ทองคง: ดนตรีกับการเมือง จำนวนนับที่ส่งเสียงได้

ถ้ามันเป็นสิทธิ เป็นเสียงที่เราได้เลือกด้วยตนเอง อันนี้สำคัญสุดเลย เราได้เลือกในสิ่งที่เราอยากจะได้จริงๆ ค่อยๆ เติบโตไปด้วยกัน แบบว่าถ้ามันเหี้ย เกิดที่เลือกมามันเหี้ย ก็เลือกกันใหม่ ไม่ได้ปกครองยาวตลอดไป แดดบ่ายของเดือนพฤษภาคมยังคงร้อนระอุ ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการเมืองในประเทศนี้ ผมนัดเจอกับนักร้อง เอ้-กุลจิรา ทองคง เธออาจดีใจถ้าทุกคนรู้จักเธอในนามสกุลนี้มากกว่า ในทุกๆ ครั้งที่มีการประท้วงเคลื่อนไหว การต่อต้าน ไม่ว่าในพื้นที่ใดก็ตาม เสียงเพลงย่อมบรรเลงขับขานอยู่เคียงข้างจำนวนนับเหล่านั้นเสมอ แต่วันนี้เราจะไม่ได้ฟังเสียงเธอร้องเพลงใด แต่จะได้รับฟังเรื่องราวบางช่วงบางบทของชีวิตที่ร่วมเดินไปกับขบวนราษฎรในปัจจุบัน ตอนนี้ทำอะไรอยู่ ทำอะไรอยู่ตอนนี้ใช่ไหม ก็เป็นนักร้อง เป็นอาชีพหลักเลย เล่นงานแต่ง เล่นปาร์ตี้ ทำวงเอง แล้วก็หาอะไรทำอย่างอื่นเสริมๆ ไป อย่างล่าสุดก็ไปเล่นละครเวที เรื่อง Hedwig and the Angry Inch กำกับโดยคุณแรปเตอร์ (สิรภพ อัตโตหิ) ไปเจอกันได้ยังไง จำได้ไหม ในม็อบ ช่วงมีบางกลอยข้างทำเนียบ สนใจการเมืองตั้งแต่เมื่อไหร่ จริงๆ ก็สนตั้งแต่เด็กๆ เด็กคือประมาณไหน เด็กแบบ ม.1 ม.2 เลย แต่ว่าไม่ได้ลงรายละเอียดมาก

แก้วใส: กับความฝันที่ (ไม่) สดใส

“บางคนอายที่จะพูดภาษาบ้านตนและไม่กล้าพูดภาษาถิ่นเวลาอยู่ในเมือง เพราะไม่อยากถูกมองว่าเป็นคนบ้านนอกต้อยต่ำ” เจ้าของเพจ แก้วใส : Daily Life Story ‘กชกร บัวล้ำล้ำ’ ปกติจะมาในมาดกวนๆ ยียวนหัวใจ โพสต์นี้เธอมาลุคสวยใสวัยรุ่นชอบ เธอให้สัมภาษณ์ว่า ต้องการสื่อสารกับคนดูในเรื่องวิถีชีวิตของคนชนบท (แบบเรียลๆ) Not Romanticize แบบโฆษณาตามทีวีที่ตอนเด็กเคยดู “เราโตมาในยุคโทรทัศน์และมักเห็นมาตลอดว่ารัฐคุมสื่อและเนื้อหาที่เกี่ยวกับชนบทและภาคอีสานให้อยู่ในภาพของความพออยู่พอกิน ความเรียบง่าย สโลว์ไลฟ์มีความสุข แต่จริงๆ แล้ว ในภาพสวยงามก็ฝังลึกไปด้วยปัญหาเชิงโครงสร้าง “การเข้าถึงการศึกษาที่ไม่มีคุณภาพและเข้าถึงได้น้อย และการเข้าถึงนโยบายรัฐและสวัสดิการมีปัญหามาตลอดหลายสิบปี” แต่ละคลิปในเพจ มีการบรรยายด้วย ภาษาอีสาน ไทย และอังกฤษ ซึ่งนับว่าน่าสนใจมาก “เรามีทั้งกลุ่มคนดูที่สนใจเรื่องภาษาวัฒนธรรมต่างถิ่น ทำให้เราสามารถเล่าเรื่องในแบบของตนเองได้อย่างเต็มที่ มีมุกขำขันบ้าง และค่อยๆ สอดแทรกเรื่องที่อยากเล่าเข้าไป “มองว่านี่ก็อาจเป็นสื่อ Soft Power ที่เราสร้างเองได้โดยไม่ถูกรัฐควบคุมอีกต่อไป ซึ่งยุคนี้ประชาชนเลือกดูสื่อได้ เลือกคิดเองได้ และเลือกที่จะสื่อสารเองได้มันดีมากๆ” “ในการทำเพจ ต้องการสื่อสารอะไรอีกครับ” เราสงสัย “อีกประเด็นที่เราอยากสื่อคืออยากทำให้ภาษาอีสานมันเท่ เพื่อลบล้างความคิดที่ว่าคนพูดภาษาถิ่นดูเหมือนไม่มีการศึกษา ดูเหมือนคนไม่รู้เรื่อง อยากให้ท้องถิ่นภูมิใจกับภาษาบ้านเกิด เราเห็นเพื่อนและคนรู้จักหลายคน พอเรียนจบจะเข้าไปทำงานใน กทม.

กรกนก คำตา: พรรคสามัญชนที่มิได้มีแค่ยกเลิก 112

ก่อนการเลือกตั้ง, กรุงเทพมหานคร, พฤษภาคม 2023 แสงแดดแผดเผาประเทศไทยไม่ต่างกับความร้อนระอุของการเมืองก่อนเลือกตั้ง การเลือกตั้งอันเป็นความหวังของคนจำนวนมากที่ยังมีความหวังว่าประเทศเราจะได้เดินหน้ากันต่อไปยังอนาคตที่สวยงาม ไม่ใช่การเดินถอยหลังเข้าคลองแบบที่ผ่านมาจากพิษรัฐประหารที่ไม่เห็นหัวประชาชนตลอดแปดปี หากใครติดตามการเมืองที่ร้อนระอุมาหลายปีคงได้ยินหลากหลายชื่อพรรคการเมืองที่เห็นการทำงานจริง หลากพรรคที่เล่นเกมการเมือง หรือหลายพรรคที่เป็นฝ่ายค้านในนามของฝ่ายประชาธิปไตยที่โลดแล่นทางการเมืองมาหลายปี ทั้งพรรคเพื่อไทย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคไทยสร้างชาติ พรรคพลังประชารัฐ พรรคก้าวไกล และรวมถึง พรรคสามัญชน พรรคขนาดเล็กที่ส่งสมาชิกพรรคสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อเพียง 6 คน และสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต 1 คน ท่ามกลางความร้อนระอุทางการเมืองและสภาพอากาศนั้น เราได้พูดคุยกับ กรกนก คำตา หรือ ปั๊บ นักกิจกรรมทางการเมือง ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อเบอร์ 51 ลำดับที่ 1 จากพรรคสามัญชน ในเรื่องราวของการเมือง นโยบาย เรื่องของความเท่าเทียมทางเพศ และเรื่องการกระจายอำนาจ. คุณนิยามตนเองอย่างไร เรานิยามตนเองว่าเป็นนักกิจกรรมทางการเมือง เป็นนักกิจกรรมเฟมินิสต์ เป็นนักเคลื่อนไหวเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศแล้วก็เปลี่ยนแปลงสังคม เข้ามาในภาคการเมืองเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง ซึ่งพรรคสามัญชนเป็นบรรยากาศของการที่ขบวนการเคลื่อนไหวมาทำพรรคการเมือง เลยได้เข้ามาอยู่ร่วมทำงานกับพรรคสามัญชน การที่พรรคสามัญชนมีสัดส่วนของผู้หญิงในพรรคเป็นกรรมการถึง 90% มีความหมายอะไรหรือเปล่า มันก็แสดงให้เห็นว่า พรรคได้ให้ความสำคัญให้พื้นที่กับผู้หญิง แล้วก็มีพื้นที่ที่ผู้หญิงสามารถที่จะเข้ามามีส่วนร่วม สามารถที่จะแสดงออกหรือแสดงความคิดเห็นได้อย่างรู้สึกปลอดภัย สามารถเข้ามาในตำแหน่งที่สามารถกำหนดนโยบายได้ ทำให้บรรยากาศพรรคเปลี่ยนไปเป็นบรรยากาศแบบใหม่ที่พรรคเองก็ไม่เคยมีมาเหมือนกัน

ตะวัน-ทานตะวัน ตัวตุลานนท์: เมื่อตะวันแผดเผาเหล่าเผด็จการ

บนสกายวอล์กเหนือสี่แยกกลางเมือง ผมอยู่เบื้องหน้าเจ้าของแววตาเปี่ยมความมุ่งมั่น ทั้งเจิดจ้าและท้าทายราวกับดวงอาทิตย์ ตะวัน-ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ นักกิจกรรม นักเคลื่อนไหวทางการเมือง ไม่ว่าผู้คนจะเรียกขานเธอว่าอะไร ตะวันคือหนึ่งในบรรดาคนรุ่นใหม่ที่ก้าวออกมาพูดถึงปัญหาของประเทศ และแน่นอนว่ารวมถึงเรื่องที่อาจเรียกได้ว่าเป็นใจกลางความขัดแย้งของคนสองฝ่ายอย่างเรื่องสถาบันกษัตริย์ ตะวันถูกแจ้งข้อหามาตรา 112, 116, พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ รวมถึงข้อหาอื่นๆ อีกหลายข้อหา จากการทำโพลตั้งคำถามเกี่ยวกับขบวนเสด็จ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เปิดให้คนทั่วไปแสดงความคิดเห็นผ่านการติดสติกเกอร์ และอีกครั้งจากการทำโพลสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับมาตรา 112 ไม่นานก่อนหน้าการนัดสัมภาษณ์ ตะวันและ แบม-อรวรรณ ภู่พงษ์ ทำการประท้วงด้วยการอดอาหารและน้ำเป็นเวลาทั้งหมด 52 วัน เพื่อเรียกร้องสิทธิการประกันตัว ยุติการดำเนินคดีกับประชาชนที่ใช้เสรีภาพแสดงออกทางการเมือง ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม และเรียกร้องให้พรรคการเมืองเสนอนโยบายยกเลิกมาตรา 112 ซึ่งสุดท้ายแล้วแม้ศาลปล่อยตัวผู้ถูกกล่าวหาบางส่วน กระนั้น ขอเรียกร้องอื่นๆ ยังคงไม่ได้รับการตอบรับแต่อย่างใด “ตอนนี้ดีขึ้น กินข้าวได้ปกติ ตอนแรกคุณหมอจะให้กินเป็นน้ำข้าวก่อน หลังจากนั้นก็เป็นพวกอาหารอ่อน ถึงจะค่อยๆ กลับมากินอาหารปกติได้ ล่าสุดเพิ่งไปเจาะเลือด ยังมีค่าซีดเลือดจาง ส่วนของพี่แบมก็ซีดเหมือนกัน “แต่เขาหนักกว่าตรงที่เขาตับอักเสบด้วย ค่าตับค่อนข้างสูง นอกจากนั้นก็มีหน้ามืด เป็นลมบ่อย เพราะอากาศร้อนด้วย และค่าเลือดเราไม่ค่อยดีด้วย ถามว่ามีผลกระทบกับการใช้ชีวิตไหม คือร่างกายมันอ่อนแอกว่าแต่ก่อน อ่อนเพลียกว่าเดิม

แมกซ์-เจน มานะ: ทัศนะเลือกตั้งผู้ว่าทั่วประเทศ

เรารู้จัก แม็กซ์-ณัฐวุฒิ เจนมานะ ในฐานะเจ้าของบทเพลง วันหนึ่งฉันเดินเข้าป่า แต่วันนี้เราไม่ได้มาชวนเขาคุยเรื่องเพลงหรือเรื่องกีตาร์ แต่เป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กัน นั่นคือ ทำไมเราถึงไม่มีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ คิดอย่างไรที่ จังหวัดอื่นๆ ไม่มีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั้งๆ ที่เสียภาษีเหมือนกัน ทุกๆ คนมีสิทธิ์เท่าเทียมในการโหวตคนเข้ามาทำงานในทุกระดับ ในเมื่อเราทำงานหนักเพื่อจ่ายค่าบริการจากประเทศและเมืองที่เราอยู่ เราก็ย่อมต้องคาดหวังคุณภาพของงานที่ทัดเทียมกับราคาของการอยู่เมืองนั้นๆ ถ้าเจ้าเมืองไม่ได้มีบทบาทจริงๆ ในการพัฒนาเมือง ผลงานฉาบฉวยไม่ยั่งยืน ประชาชนก็ควรเลือกกันใหม่ได้ครับ ถ้ามีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ คิดว่าประเทศจะเจริญอย่างไร เพราะเราเลือกกันจากนโยบายที่แตกต่างกันไปแต่ละท้องถิ่น เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารงบประมาณโดยตรง ภาษีเมือง ค่านักท่องเที่ยว ระบบบริหารเมืองในด้านต่างๆ ถ้ามาจากการเลือกตั้งของประชาชนในพื้นที่แล้ว คิดว่าจะสามารถดึงศักยภาพของเมืองนั้นออกมาได้ แต่อย่างไรก็ตามต้องขึ้นตรงกับ state ภายใต้ระบบการเมืองในระบอบประชาธิปไตย สิ่งใดคือความเจ็บปวดเวลาคุณเดินทางไปต่างจังหวัด เช่น ขนส่งสาธารณะ โรงพยาบาล รบกวนเล่าให้ฟัง สิ่งที่เห็นคือปัญหาเชิงโครงสร้างของระบบการปกครองท้องถิ่นในตอนนี้ สะท้อนการกุมอำนาจของคนในแต่ละพื้นที่หรืออิทธิพลในแต่ละจังหวัด ถ้าให้อำนาจกลับคืนสู่คนในท้องถิ่น การพัฒนาของชุมชนในแต่ละเมืองก็ควรจะไม่ต่างกันมากขนาดนี้ เออ แต่ส่วนตัวตอนนี้ผมรู้สึกเหมือนผมกำลังตอบข้อสอบอาจารย์มากเลยครับ อยากเห็นนโยบายใดพัฒนาคุณภาพชีวิตความเจริญคนต่างจังหวัด นโยบายการศึกษาคืออันดับหนึ่งที่อยากเห็นความเปลี่ยนแปลง เพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้เด็กทุกคนเข้าถึงโรงเรียนให้ได้ ผลิตและพัฒนาครู อัพเดตเทคโนโลยี อีกอย่างคือนโยบายระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ระบบไฟฟ้า ประปา

วินัย ดิษฐจร: นกเหยี่ยวที่บินวนบนท้องฟ้าการเมือง

หากย้อนมองประชาธิปไตยไทย ตั้งแต่แรกวางหมุดหมาย คงพอเห็นว่ามีทั้งเดินหน้าและถอยหลัง สลับกันตลอดช่วงเวลากว่าเก้าสิบปี มีหลายเหตุการณ์ที่ไม่เพียงทำให้ประชาธิปไตยไทยถอยหลัง แต่ยังราวมีมือล่องหนที่ต้องการแช่แข็งไม่ให้เติบโต คล้ายพืชพันธุ์ที่ไม่เคยได้แผ่กิ่งก้านอย่างสมบูรณ์ ด้วยถูกดึงทึ้ง ฉุดรั้ง หวังทำลาย แม้ประชาธิปไตยไทยจะไม่ได้ก้าวไปไกลอย่างที่ควรเป็น แต่ตลอดประวัติศาสตร์ก็เต็มไปด้วยผู้เล่นและกลุ่มคนหลากหลายใบหน้า เมื่อเวลาผ่านไปก็ได้ฉายให้เห็นความเปลี่ยนแปลง ทั้งในเชิงปัจเจกและสังคมโดยรวม ซึ่งหนึ่งในเหตุการณ์ร่วมสมัยที่เป็นจุดเริ่มต้นของปัญหา และความขัดแย้งที่หยั่งลึกในสังคมไทย คงหนีไม่พ้นการรัฐประหารปี 2549 ซึ่งส่งผลอย่างเข้มข้นจนถึงปัจจุบัน วินัย ดิษฐจร หรือพี่วินัยที่ผมเรียก คือช่างภาพที่ติดตามการเมืองไทยมานานกว่าสองทศวรรษ ผู้บันทึกประวัติศาสตร์การชุมนุม ตั้งแต่ก่อนที่ม็อบพันธมิตรฯ จะก่อตัวเป็นรูปเป็นร่าง เรื่อยมาจนเกิดม็อบคนเสื้อแดง สุดท้ายจบด้วยเหตุการณ์สลายการชุมนุม และมีผู้คนเสียชีวิตจำนวนมาก จากนั้นตามด้วยม็อบ กปปส. ที่ชัตดาวน์กรุงเทพฯ นำไปสู่การรัฐประหารครั้งล่าสุดในปี 2557 จนกระทั่งการมาถึงของม็อบที่นำโดยคนรุ่นใหม่ในช่วงสามปีที่ผ่านมา คงไม่เกินเลย หากจะกล่าวว่าเขาคือผู้เฝ้ามองกาลเวลา ผู้เก็บบันทึกความจริงในชั่วขณะหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นเกมการเมืองที่เปลี่ยนไปตามขั้วอำนาจ หรือความคิดความเชื่อของผู้คนที่เลื่อนไหล การกระทำที่อ้างวาทกรรมคนดี การทวงถามความยุติธรรมแทนร่างไร้วิญญาณ รวมถึงเสียงเรียกร้องสิทธิเสรีภาพอันพึงมี เหตุการณ์และมวลความรู้สึกเหล่านี้ถูกบันทึกไว้บนภาพถ่ายของ วินัย ดิษฐจร พี่เริ่มต้นการเป็นช่างภาพการเมืองได้อย่างไร ช่วงปี 2003 ผมทำงานอยู่สำนักข่าว EPA (European Pressphoto Agency) เป็นสำนักข่าวของเยอรมนีที่ตอนนั้นต้องการมาเปิดสาขาในกลุ่มประเทศ

ยกเลิก 112 พวกเราไม่ใช่สัตว์เชื่องๆ

เสียงเรียกร้องให้ยกเลิกกฎหมายอาญา มาตรา 112 ดังขึ้นเรื่อยๆ เรื่องนี้ไม่มีอะไรซับซ้อน เพราะกฎหมายตัวนี้ถูกใช้อย่างพร่ำเพรื่อ เพื่อกลั่นแกล้ง และปิดปากผู้คน ใช่หรือไม่ว่า หลักเบื้องต้นของการมีกฎหมายคือ การให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันด้วยความผาสุก เราคุยกับ สุรพศ ทวีศักดิ์ นักวิชาการด้านปรัชญา ว่าสรุปแล้ว มาตรา 112 ควรยกเลิกด้วยเหตุใด ในมองมุมเชิงปรัชญา อาจารย์มองว่า 112 คืออะไร ถ้ามองจากปรัชญาสายคานท์ (Kantian) 112 คือกฎหมายที่ไม่ควรเป็นกฎหมายเพราะมันขัดกับ ความเป็นมนุษย์ ของเราครับ ความเป็นมนุษย์หมายถึงความเป็น สัตผู้มีเหตุผล (rational being) ที่มีเสรีภาพ ความเสมอภาค และมีจุดหมายหรือศักดิ์ศรีในตนเอง การที่เราคือ being ที่มีจุดหมายหรือศักดิ์ศรีในตนเอง หมายความว่าเราคือผู้ที่มีคุณค่าสูงสุดที่ถูกใช้เป็น เครื่องมือ เพื่อบรรลุจุดหมายอื่นใดไม่ได้ เช่น จะให้ความเป็นมนุษย์ของเราเป็นเครื่องมือเพื่อความมั่นคงของสถานะและอำนาจของชนชั้นปกครองไม่ได้ การมี 112 ก็คือการใช้ความเป็นมนุษย์ของเราเป็นเครื่องมือ ด้วยการไม่ให้เราใช้เสรีภาพแห่งมโนธรรม (freedom of conscience) ตัดสินถูก ผิด เกี่ยวกับสถานะ อำนาจ

วีระศักดิ์ เครือเทพ: กระแสกระจายอำนาจมาแล้วไง “ถ้ากลไกรัฐไม่เอาด้วย”

หลายคนอาจยังจำกระแสการตื่นตัวเรื่องการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นได้ เมื่อมีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร การแลนสไลด์ของผู้ว่า กทม. คนปัจจุบัน ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เริ่มปลุกคำถามที่ว่าจังหวัดอื่นๆ ควรมีผู้ว่าฯ เหมือน กทม. ด้วยหรือไม่ จะเป็นไปได้แค่ไหน การเลือกตั้งครั้งใหญ่ที่กำลังเดินทางมาถึงในไม่ช้านี้ เราเริ่มเห็นการให้ความสำคัญเรื่องการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น ที่เห็นได้ชัดและเริ่มมีการพูดถึงบ้าง เช่น เรื่องการเสนอให้มีนายกจังหวัด หรือเพิ่มอำนาจไปสู่ประชาชนให้มากขึ้น โดยรัฐต้องเป็นผู้สนับสนุน เราเห็นการพยายามกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นของไทยที่ชัดเจนในสมัยรัชกาลที่ 5 ตั้งแต่มีการแบ่งอำนาจให้กับส่วนภูมิภาค การจัดตั้งเทศบาลในปี 2476 การจัดตั้งสุขาภิบาล หรือองค์การบริหารส่วนตัวบล (อบต.) ในเวลาต่อมา จนกระทั่งปี 2540 ที่มีการกำหนดเรื่องการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นอย่างชัดเจนขึ้น มีอิสระในการจัดการบริหารตนเอง และที่สำคัญคือได้ผู้บริหารและสภาท้องถิ่นมาจากการการเลือกตั้งโดยประชาชน ความเป็นชุมชนของไทยจึงยังมีอยู่โดยตลอด แต่ก็ถูกกำกับอยู่ภายใต้อำนาจรัฐมาตลอดเช่นเดียวกัน The Voters ชวน รศ.ดร.วีระศักดิ์ เครือเทพ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คุยถึงเรื่องลักษณะการปกครองและการกระจายอำนาจของท้องถิ่นในประเทศไทย กรอบกฎหมายที่ส่งอิทธิพลให้ท้องถิ่นยังติดกับการกดทับภายใต้กลไกของรัฐ ข้อท้าทายสำคัญที่ท้องถิ่นต้องเจอ ภาคประชาชนสามารถกดดันให้มีการกระจายอำนาจได้มากแค่ไหน หรือท่ามกลางข้อจำกัด การเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ อย่างเป็นรูปธรรม สามารถทำได้อย่างไรบ้าง         คำว่า ‘การกระจายอำนาจ’ ในมุมมองของนักรัฐศาสตร์กับการกระจายอำนาจโดยทั่วไปมีความแตกต่างกันไหม