ดวงฤทัย เอสะนาชาตัง: ร้านหนังสืออิสระในเมืองหลวงฝันสลาย

ลมหนาวพัดผ่านเมืองกรุงและทางตอนเหนือของประเทศ แต่กลับมีพายุฝนโปรยปรายที่ภาคใต้, ในบริเวณป่าคอนกรีตริมแม่น้ำเจ้าพระยา ช่วงเวลายามบ่ายใต้ร่มเงาของต้นไม้ใหญ่ที่แผ่กิ่งก้านกลางพื้นที่โกดังเก่าก่อนถูกเก็บรักษาและพัฒนามาเป็นพื้นที่โครงการ The Jam Factory ที่ซ่อนกายอยู่กลางป่าคอนกรีต ตลาดคลองสาน กรุงเทพ 2022 บรรยากาศโดยรอบมีสภาพอากาศเย็นสบายมากกว่าบรรยากาศร้อนอบอ้าวซึ่งต่างจากในเมืองกรุงในคราวก่อนๆ ที่มีอากาศร้อนสลับกับหยาดฝนโปรยปรายที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของผู้คนตลอดทั้งสัปดาห์ เส้นทางตรงนั้นเป็นเส้นทางฝั่งธนบุรี ที่มีถนนทอดยาวเคียงคู่กับแม่น้ำเจ้าพระยาปลายทางฝั่งหนึ่งไปยังสะพานพุทธเป็นที่ตั้งของปากคลองตลาด การพูดคุยในครั้งนี้ช่วยยืนยันความคิดของผมที่เคยคิดว่าร้านหนังสืออิสระ คือ ร้านหนังสือที่มีหนังสือมากมายหลายหมวดหมู่ให้เราและหนังสือได้ต่างเป็นผู้เลือกโดยไม่ต้องมีการบังคับขัดขืน ร้านดังกล่าวเป็นร้านหนังสืออิสระที่ตั้งอยู่ตรงตลาดคลองสาน ในพื้นที่กว้างและมีธรรมชาติล้อมรอบ อีกชั้นข้างนอกเป็นป่าคอนกรีต โดยที่ตรงกลางมีลานกว้างมีต้นไม้สูงใหญ่แผ่กิ่งก้านให้ความร่มเย็น ซึ่งในแต่ละครั้ง นานๆ ครั้ง จะมีสายลมละล่องละลอยลิ่วพลิ้วผ่าน กับใบไม้ส่งเสียงจากต้นไม้ใหญ่เหมือนกับจะเป็นบทเพลงผ่อนคลายประกอบการอ่านหนังสือ ร้านหนังสืออิสระแห่งนี้ชื่อว่า Candide Books (ร้านหนังสือก็องดิด) ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากนวนิยายเรื่อง Candide (ก็องดิด) ของวอลแตร์ นักปรัชญาชาวฝรั่งเศสเรืองนามของฝรั่งเศสในสมัยศตวรรษที่ 18 โดยเรื่องนี้มีประโยคที่สำคัญอย่าง “We should cultivate our garden.” หรือ “จงทำสวนของเรา” เพื่อที่จะผ่านความทุกข์ยาก ผ่านอุปสรรคต่างๆ ได้ด้วยการทำงาน เป็นประโยคที่นำมาใช้ในการทำร้านหนังสืออิสระแห่งนี้  โดยคนตั้งชื่อร้านจากวรรณกรรมเรื่องนี้ คือ กิตติพล สรัคคานนท์ ดวงฤทัย เอสะนาชาตัง

ปัญหา อุปสรรค และแนวทางการแก้ไขปัญหาในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

สิ่งที่ทำให้ไม่เกิดการกระจายอำนาจคือ 1. กฎหมายล้าหลัง 2. Mind Set ผู้บริหารท้องถิ่น นายพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกเทศมนตรีนครยะลาและประธานสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย หน่วยงานราชการไม่ไว้ใจคนมาจากการเลือกตั้ง นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร กฎหมายออกมาบน Mind set ของรัฐรวมศูนย์… สร้างภาระให้กับพื้นที่ รศ.ดร.วีระศักดิ์ เครือเทพ ผู้เชี่ยวเรื่องการกระจายอำนาจและการคลังท้องถิ่น และคณะกรรมาธิการการกระจายอำนาจ ทะเลเป็นของกรมเจ้าท่า ถนนเป็นของตำรวจ ทางเท้าเป็นของท้องถิ่น นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ นายกเมืองพัทยา การกระจายอำนาจลงสู่ท้องถิ่นกำลังเป็นเรื่องที่มีการพูดถึงมากในสังคมไทยในขณะนี้ นับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันนี้ จากการเก็บสถิติการจัดงานเสวนาที่เกี่ยวกับเรื่องการกระจายอำนาจและการปฏิรูปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนับรวมๆ ได้ประมาณ 80 งาน ซึ่งมีทั้งรูปแบบงานเสวนาวิชาการและการจัดรายการพูดคุยของสื่อมวลชนต่างๆ นอกจากนี้ยังมีการรวมตัวของกลุ่มคนทำการรณรงค์ให้รัฐมีการกระจายอำนาจและเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด เช่น เพจ The voter จนภายหลังกำลังจะรวบรวมรายชื่อยื่นกับสภาพิจารณากฎหมายในประเด็นดังกล่าว ตัวผู้เขียนได้เข้าฟังร่วมฟังงานเสวนาเรื่องการกระจายอำนาจและปฏิรูปท้องถิ่นหลายงาน อย่างไรก็ตามมีงานเสวนางานหนึ่งผู้เขียนคิดว่าตัวของผู้พูดและเนื้อหามีความน่าสนใจมีประโยชน์อย่างมากในการขบคิดเรื่องการกระจายอำนาจและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ รายการเสวนาดังกล่าวชื่อว่า อนาคต…การกระจายอำนาจแบบไทย ผู้เข้าร่วมเสวนา มีทั้งหมด 4 ท่าน 3 ท่านแรกเป็นผู้บริหารของท้องถิ่นที่แตกต่างกันไป ท่านแรกคือ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์

ประชาชนคืออาวุธที่เกาหลีใต้ใช้ต่อสู้กับการคอร์รัปชัน

เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2565 ได้มีการเผยแพร่รายงานผลการจัดอันดับดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชัน (Corruption Perceptions Index: CPI) เป็นดัชนีที่มีการจัดอันดับความโปร่งใสของนานาประเทศทั่วโลกทุกปีต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ. 2538 โดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ โดย Transparency International ซึ่งจัดอันดับประเทศจากระดับความทุจริตในภาครัฐด้วยวิธีการประเมินผลโดยผู้เชี่ยวชาญและเขียนแบบสอบถามความคิดเห็น ผลจากรายงานปี 2564 ชี้ให้เห็นว่าในช่วงระยะเวลา 2 ปีหลังจากการระบาดใหญ่ของไวรัสโควิด-19 ที่สร้างความเสียหายไปทั่วโลกนั้น แม้การคอร์รัปชันในแต่ละประเทศจะมีรูปแบบแตกต่างกัน แต่ผลคะแนนในปีนี้แสดงให้เห็นว่า การต่อสู้กับการทุจริตในทุกภูมิภาคทั่วโลกกำลังย่ำอยู่กับที่ ผลแสดงให้เห็นว่า มากกว่า 131 ประเทศไม่มีความคืบหน้าในการต่อต้านการทุจริตในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา และในปีที่ผ่านมามีอีกกว่า 27 ประเทศมีคะแนน CPI ต่ำเป็นประวัติการณ์ ในขณะเดียวกันสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยทั่วโลกกำลังถูกลิดรอนอย่างมีนัยสำคัญ คอร์รัปชันและสิทธิมนุษยชน หากพิจารณาดูเราจะพบความเกี่ยวเนื่องอย่างชัดเจนระหว่างการทุจริตคอร์รัปชันและสิทธิมนุษยชน การคอร์รัปชันก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน ในทางกลับกันการปกป้องสิทธิและเสรีภาพพื้นฐานก็เป็นปัจจัยสำคัญยิ่งในการต่อสู้กับการทุจริต จากสถิติที่ผ่านมาประเทศที่เสรีภาพพลเมืองได้รับการคุ้มครองอย่างดี มักจะได้คะแนน CPI สูง ขณะที่ประเทศที่ละเมิดเสรีภาพประชาชนและจำกัดสิทธิประชาชนมักจะได้คะแนนต่ำ ซึ่งหมายถึงอัตราการทุจริตที่สูงขึ้น ประเทศที่พลเมืองมีเสรีภาพและมีสภาวะการเมืองที่ได้รับการคุ้มครองอย่างดีมักควบคุมและแก้ปัญหาการทุจริตได้ดีขึ้น สิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานในการแสดงความคิดเห็น และสิทธิเสรีภาพในการตั้งคำถามในการทำงานของภาครัฐ และการสร้างกลไกในการตรวจสอบความโปร่งใสของภาครัฐล้วนเป็นสิ่งสำคัญในการต่อสู้เพื่อโลกที่ปราศจากการทุจริต ผลการจัดอันดับ CPI ปี 2564 แสดงให้เห็นว่าประเทศที่มีคะแนนความโปร่งใสสูงสุดคือ

จากบ้านเกิดสู่ริมทางเท้ากรุงเทพฯ

การรวมทุกสิ่งทุกอย่างไว้ที่ส่วนกลาง ส่งผลให้เมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ เป็นศูนย์รวมของความเจริญทางวัตถุ ที่นำมาซึ่งโอกาส การงาน และความหวังที่จะพยุงชีวิตให้อยู่รอด ท่ามกลางปัญหาทางเศรษฐกิจ ความเหลื่อมล้ำ การไร้สวัสดิการ ระบบทุนผูกขาด ผู้คนตัวเล็กๆ ต่างทำงานหาเช้ากินค่ำแลกกับเงินที่ไม่ได้สัดส่วนกับค่าครองชีพ หลายคนจากบ้านที่ต่างจังหวัดเข้ามาพำนัก บ้างก็ลงหลักปักฐานเป็นประชากรถาวร อาชีพค้าขายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของคนที่ไม่ได้มีต้นทุนมากนัก รวมถึงคนต่างจังหวัดที่เข้ามาหาช่องทางทำกินในกรุงเทพฯ แต่การจะมีหน้าร้านอยู่ในอาคารสักคูหา หรือในห้างสรรพสินค้าติดเครื่องปรับอากาศ ไม่ใช่เรื่องที่คนส่วนมากจะทำได้ ริมทางเท้าจึงเป็นสถานที่ทำงานของพ่อค้าแม่ค้า ไม่ว่าจะเป็นรถเข็น แผงเช่า แผงลอย ซึ่งจากการลงไปสำรวจพูดคุย พ่อค้าแม่ค้ามากกว่าครึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ต่างจากจังหวัด อย่างไรก็ตาม พวกเขาถือเป็นคนกลุ่มสำคัญที่มีส่วนขับเคลื่อนเศรษฐกิจของกรุงเทพฯ เป็นปากท้องของผู้มีรายได้น้อย เราอาจจะพบพ่อค้าแม่ค้าริมทางเท้ากันอยู่ทุกวัน แต่คงไม่บ่อยนักที่เสียงของพวกเขาจะถูกส่งต่อสู่สังคม ทั้งในเรื่องชีวิตที่ผ่านมา ความรู้สึก และความคาดหวังในอนาคต “บ้านอยู่อุบล มาอยู่กรุงเทพฯ ได้ยี่สิบกว่าปี ป้าเช่าบ้านเขาอยู่ แต่เดี๋ยวจะกลับแล้วแหละ อยากกลับไปอยู่บ้าน” “หลายปีที่ผ่านมายังไม่กลับเพราะกลัวลูกเรียนไม่จบ กลัวกลับไปแล้วขายไม่ดีเหมือนกรุงเทพฯ แล้วจะหาค่าเทอมให้ลูกไม่ทัน แต่ตอนนี้ลูกจบแล้ว ว่าจะขายหาเงินอีกสักหน่อยก็จะกลับไปอยู่บ้าน กลับไปขายที่บ้านแค่พอได้กิน ไม่ต้องกลัวจะได้เงินน้อย ลูกมันก็ทำงานทำการแล้ว ไม่ต้องดิ้นรนมากเหมือนที่ผ่านมา” “กรุงเทพฯ มีคนเยอะ เราก็อาศัยขายคนทำงาน นักเรียนนักศึกษา แต่มันไม่ใช่บ้านเรา จะว่าเบื่อก็เบื่อ แต่ตอนลูกยังเรียนไม่จบ

ก้าวหน้าและล้าหลังหลากหลายทางเพศในต่างแดน

– 1 – เดือดมาตั้งแต่รู้ว่าสถานที่จัดฟุตบอลโลก ฟีฟ่าเวิลด์คัพ 2022 คือประเทศกาตาร์ หนึ่งในประเทศที่ติดโผปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน รวมถึงเหตุการณ์การปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมต่อกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+) ที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก ในเดือนตุลาคม 2022 ฮิวแมนไรท์วอทช์ (HRW) มีรายงานว่า กองกำลังความมั่นคงในกาตาร์ได้จับกุมและข่มเหงกลุ่ม LGBTQ+ ชาวกาตาร์โดยพลการ เพียงไม่กี่สัปดาห์ก่อนเริ่มเวิลด์คัพ  ฮิวแมนไรท์วอทช์ได้สัมภาษณ์กลุ่ม LGBTQ+ ชาวกาตาร์ 6 คน มีทั้งหญิงข้ามเพศ 4 คน ไบเซ็กชวล 1 คน และเกย์ 1 คน ที่มีรายงานว่าถูกควบคุมตัวระหว่างปี 2019-2022 พวกเขาบอกว่า ไม่มีการตั้งข้อหาใดๆ โดยเป็นการควบคุมตัวในเรือนจำใต้ดินในกรุงโดฮา ถูกล่วงละเมิดทั้งทางวาจาและร่างกาย รวมทั้งเตะและต่อย หนึ่งในนั้นบอกว่า เขาถูกขังเดี่ยวนาน 2 เดือน และทั้ง 6 คนบอกว่า ตำรวจบังคับให้พวกเขาลงชื่อในสัญญาระบุว่าจะ ‘ยุติกิจกรรมที่ผิดศีลธรรม’ แม้ว่าทางการกาตาร์จะอ้างว่า ยินดีต้อนรับแฟนๆ ชาว LGBTQ+ แต่ก็มีโรงแรมปฏิเสธการบริการคู่รักเพศทางเลือก

มากกว่าการกระจายอำนาจ คือการคืนอำนาจให้ประชาชน

การมีชีวิตของคนหนึ่งคน ไม่ได้หมายถึงการดำรงอยู่อย่างโดดเดี่ยว ไม่ได้หมายถึงแค่การเกิดมาปรากฏบนดาวเคราะห์ นับตั้งแต่วินาทีแรก การมีชีวิตเริ่มต้นขึ้นและดำเนินต่อไป โดยมีการเอาชีวิตรอดเป็นกิจกรรมหลัก มนุษย์เป็นสัตว์สังคม จึงไม่สามารถดำรงชีวิตได้โดยไม่มีมนุษย์คนอื่นๆ อยู่ด้วย เมื่อมาอยู่รวมกัน ไม่ว่าจำนวนมากหรือน้อย การปฏิสัมพันธ์กันระหว่างมนุษย์ต่อมนุษย์หลายๆ คน เป็นสภาพการณ์อัตโนมัติที่จำเป็นต้องสร้างกติกาบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นข้อตกลง ข้อห้าม การกำหนดว่าอะไรถือเป็นสิ่งที่ดีและทำได้ อะไรคือการกระทำที่ต้องได้รับโทษ ความสัมพันธ์ที่โยงใยกันไปมาในกลุ่มบุคคลขนาดต่างๆ สร้างฉากแห่งการดำรงอยู่ของคน ยิ่งพัฒนาการของปฏิสัมพันธ์เคลื่อนผ่านไป ไม่ว่าจะเป็นการข้ามผ่านเวลาและประสบการณ์ ผ่านการขยายกลุ่มสมาชิกของสังคมนั้นๆ ผ่านปฏิสัมพันธ์อันหลากหลาย เหตุแห่งความร่วมมือหรือเหตุแห่งความขัดแย้ง ถูกผลักดันไปโดยกงล้อที่วิ่งวนไปมา ภายใต้สิ่งที่เรียกว่า การเมือง การเมืองในภาษาอังกฤษ คือคำว่า Politic มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก คือคำว่า Polis ที่แปลเป็นไทยได้ว่า รัฐ หรือ ชุมชนทางการเมือง ในแง่ของคำนิยาม คำว่า Politic ถูกตีความไปในความหมายที่หลากหลายทฤษฎี แต่หากพูดกันให้เข้าใจง่ายๆ การเมืองคือการพยายามบริหารจัดการการอยู่ร่วมกันของคนในสังคม พอมนุษย์กลุ่มหนึ่งต้องการสร้างหลักเกณฑ์กติกาการอยู่ร่วมกัน ด้วยความหวังว่าตัวของเราในฐานะปัจเจกจะอยู่รอดปลอดภัย และมีชีวิตที่ดี จึงเกิดกระบวนการกำหนดบรรทัดฐาน อาศัยอำนาจ เพื่อออกแบบสิ่งเหล่านั้น คำว่าอำนาจทางการเมือง สำหรับ ฮาโรลด์ ลาสเวล (

วรเจตน์ ภาคีรัตน์: 112 กับ สังคมไทย

กิจกรรมการบรรยายในวันนี้ของมูลนิธิสิทธิอิสราขออุทิศแด่ 1 ทศวรรษแห่งช่องว่างระหว่างราษฎรกับราษฎรด้วยกัน และระหว่างราษฎรกับสถาบันกษัตริย์ที่ถูกขัดขวางให้คาราคาซังไว้ด้วยกฎหมายมาตราเดียวมาตรานี้ ไอดา อรุณวงศ์ บรรยากาศในห้องพูนศุขเริ่มหนาตาไปด้วยผู้คนที่เข้ามาฟังบรรยายสาธารณะครั้งนี้ เท่าที่ผมเห็นก็มีผู้ต้องหาทางการเมืองและนักต่อสู้เคลื่อนไหวที่ได้รับผลกระทบจากมาตรา 112 นั่งรวมอยู่ในนั้นจำนวนหนึ่ง หลังการกล่าวต้อนรับของรองคณบดีวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์[1] มีการเอ่ยถึงเรื่องขอบเขตของสถาบันการศึกษารวมถึงงานวิจัยเพื่อเผยแพร่ความรู้ และนำความรู้นั้นมาแสวงหาทางออกให้กับสังคม ถัดมา ไอดา อรุณวงศ์ ในฐานะของ ประธานมูลนิธิสิทธิอิสรา ได้เกริ่นนำถึงที่มาที่ไปในการบรรยายสาธารณะครั้งนี้ไว้ 3 ประการ ประการแรก เกิดจากวาระจดทะเบียนมูลนิธิสิทธิอิสราตามกฎหมายได้สำเร็จในปีนี้ หลังจากทำหน้าที่ดูแลเงินประกันตัวผู้ต้องหาคดีการเมืองในนาม กองทุนราษฎรประสงค์ ที่ไอดาและเพื่อนเริ่มทำไอเดียการระดมเงินเพื่อการประกันตัวตั้งแต่หลังรัฐประหาร 2557 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยนโยบายตั้งแต่แรกเริ่มนั้นไอดากล่าวว่า เงินในบัญชีกองทุนจะสงวนไว้เพื่อผู้ต้องหาทางการเมืองเท่านั้น จะไม่มีการเบิกแม้แต่บาทเดียวออกมาเป็นค่าใช้จ่ายหรือค่าตอบแทนในการทำงาน ค่าใช้จ่ายทุกอย่างตลอดหลายปีที่ผ่านมาจึงขึ้นอยู่กับตัวบุคคลที่แบกรับมันไว้ ดังนั้นจึงไม่มีหลักประกันระยะยาวสำหรับผู้ที่จะมาสืบทอดในการต่อไปในนามมูลนิธิ หลังจากที่จดทะเบียนมูลนิธิได้สำเร็จภารกิจต่อเนื่องจึงต้องหาเงินเพื่อใช้จ่ายให้กับคนที่มาทำงานในนามมูลนิธิในดำเนินต่อไปได้ ใครบางคนเสนอว่า เราน่าจะขายบัตรจัดงานระดมทุนให้มูลนิธิ และใครอีกบางคนก็ได้กรุณาเสนอว่า ยินดีจะมาบรรยายพิเศษให้ในวาระระดมทุน แน่นอน ใครบางคนที่ว่านั้นคือ ศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ไอดากล่าวรู้สึกกระดากที่จะขายบัตร เพราะคิดว่า อ.วรเจตน์นั้นเป็นนักกฎหมายที่เป็นสมบัติสาธารณะของราษฎรไปแล้ว ไม่ควรที่ใครจะสามารถติดราคาขายบัตรจับมือ บัตรบรรยายใดๆ ได้ ไอเดียการขายบัตรระดมทุนจึงถูกพับไป ประการต่อมา ในฐานะที่ดูแลกองทุนประกันตัวนั้น ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา เมื่อคดีต่างๆ ที่ได้ประกันไว้

มายาคติเกี่ยวกับการกระจายอำนาจและข้อเท็จจริง

ประเด็นเรื่องการกระจายอำนาจ กลับมาถูกพูดถึงในวงกว้างอีกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการรณรงค์ให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ หรือข้อเสนอปลดล็อกท้องถิ่น ทำประชามติยกเลิกราชการส่วนภูมิภาคและให้อำนาจส่วนท้องถิ่นเพื่อลดความซ้ำซ้อนในการบริหารจัดการ ทั้ง 2 ข้อเสนอแม้ต่างกันในรายละเอียด แต่ก็มีจุดร่วมที่เห็นพ้องต้องกันว่าการกระจายอำนาจคือหนทางแก้ปัญหาในระยะยาวของประเทศ เปิดโอกาสให้คนในท้องถิ่นได้มีโอกาสเลือกผู้นำของตนเอง และเหมือนเช่นทุกครั้งที่มีการผลักดันเรื่องการกระจายอำนาจ แม้ดูเป็นข้อเสนอที่น่าสนใจ กระนั้นก็ยังมีคนจำนวนหนึ่งที่คัดค้าน ไม่เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว ความคิดเห็นที่แตกต่างกันนั้นเป็นเรื่องปกติของผู้คน และการพูดคุยถกเถียงแลกเปลี่ยนด้วยเหตุผลก็เป็นเรื่องปกติในสังคมอารยะ ทว่าหลายครั้ง มายาคติเกี่ยวกับการเมืองก็ยังคงเกาะแน่นแฝงฝัง จะด้วยติดหล่มอยู่กับเรื่องเล่าและประวัติศาสตร์เก่าๆ หรือถูกบอกเล่าต่อกันมาจนกลายเป็นความเชื่อฝังหัว น่าเศร้าที่หลายครั้งมันทำให้การถกเถียงแลกเปลี่ยน ไม่นำไปสู่จุดที่สร้างความเข้าใจหรือฉันทามติร่วมกันเสียที วาทกรรมเก่าๆ ยังถูกหยิบยกมาอ้างถึง เพื่อถกเถียงหักล้างปัดตกข้อเสนอเรื่องการกระจายอำนาจ บ้างเป็นความเข้าใจผิด บ้างเป็นข้อโต้แย้งที่ไม่ได้วางอยู่บนหลักเหตุและผล หรือมีหลักฐานที่สนับสนุนแต่อย่างใด น่าเศร้าที่หลายครั้งวาทกรรมเหล่านั้นกลับส่งความเข้าใจผิดต่อไปยังผู้คนอีกจำนวนมาก พ.ศ. นี้แล้ว เราควรหยิบข้อเท็จจริงมาพูดคุยกัน ไม่ว่าข้อเสนอเรื่องการกระจายอำนาจจะทำให้ประเทศนั้นดีขึ้นได้จริงหรือไม่ อย่างไร เหล่านี้คือมายาคติที่ผมเห็นว่าควรหมดไปจากการถกเถียงได้แล้ว 1.การกระจายอำนาจ เท่ากับทำลายการปกครองแบบรัฐเดี่ยว ถือเป็นการแบ่งแยกดินแดน อาจฟังดูเหลือเชื่อที่ พ.ศ. นี้แล้ว ยังมีข้อกล่าวหาที่รุนแรงทำนองนี้อยู่อีก ทว่าฝ่ายอนุรักษนิยมหลายคนในไทยนั้นคิดและเชื่อแบบนี้จริงๆ ม.ล. จุลเจิม ยุคล เคยโพสต์สเตตัสเมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 2562 ว่า การกระจายอำนาจการปกครอง โดยการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นการล้มล้างราชอาณาจักรไทย แบ่งแยกประเทศออกเป็นหลายรัฐ และเป็นการยกเลิกสถาบันพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรีที่เป็นประมุขประเทศ

ในนามของพ่อที่ไม่ได้ใช้ระรานใคร และความอยุติธรรมอื่นๆ ในภาพยนตร์

เจอร์รี่ คอนลอน หนุ่มไอริชวัย 20 ผู้มีวิถีชีวิตเหลวไหลไม่เอาการงาน ทั้งก่อเรื่องวุ่นวายและเอาแต่ลักขโมยทรัพย์สินของชาวบ้านไปทั่ว ความคึกคะนองของทั้งเขาและเพื่อนฝูงรุ่นราวคราวเดียวกันสร้างความเอือมระอาให้แก่ผู้คนในเบลฟาสต์เป็นอย่างมาก ไอร์แลนด์เหนือในช่วงต้นยุค 70’ เต็มไปด้วยจลาจล การก่อการร้าย และการปะทะกันหลายครั้งระหว่างทหารอังกฤษที่ถูกส่งเข้ามาเพื่อดูแลความสงบเรียบร้อย กับกลุ่มไออาร์เอที่ต้องการปลดแอกให้ไอร์แลนด์เหนือกลับไปเป็นของไอร์แลนด์ เจอร์รี่เติบโตมาในบรรยากาศสภาพสังคมแบบนี้ ใช้ชีวิตอยู่กับเสียงปืนเสียงระเบิดจนกลายเป็นความปกติ อันเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เขาไม่อินังขังขอบกับอนาคตของตนเองนัก วันหนึ่งการขโมยของเจอร์รี่ทำให้เขาถูกเข้าใจผิดจากฝั่งทหารอังกฤษจนต้องวิ่งหนีหัวซุกหัวซุน ความวุ่นวายที่เจอร์รี่ก่อขึ้นกลายเป็นไปขัดขวางแผนการบางอย่างที่ฝั่งไออาร์เอวางเอาไว้ ชาวบ้านบางคนตะโกนบอกผู้นำไออาร์เอให้ยิงเขาทิ้งไปเสียเพื่อตัดปัญหา จน จูเซ็ปเป้ พ่อของเขาผู้เป็นอาจารย์ซึ่งได้รับการนับถือจากชาวเมืองต้องรีบเข้ามาเจรจาขอร้องให้ปล่อยตัวเขาเป็นอิสระ แลกกับคำสัญญาที่ว่านี่จะเป็นครั้งสุดท้ายแล้วที่เขาจะก่อเรื่องสร้างความวุ่นวาย แม้จะช่วยลูกชายให้รอดพ้นจากกระสุนปืนมาได้ แต่จูเซ็ปเป้ก็เล็งเห็นแล้วว่าหากยังปล่อยให้เจอร์รี่อยู่ที่นี่ต่อไปก็คงไม่พ้นลงเอยที่ความตายในวันใดวันหนึ่ง แม้คนในครอบครัวจะทัดทานคัดค้าน แต่สุดท้ายจูเซ็ปเป้ก็ตัดสินใจส่งเจอร์รี่ขึ้นเรือ ข้ามน้ำข้ามทะเลไปอยู่ฝั่งอังกฤษ หวังให้ลูกไปหางานทำ ไปอยู่ในเมืองที่ดีกว่านี้ ไปมีชีวิตที่ดีกว่านี้ “ไปเสียเถอะ ไปมีชีวิต นั่นเป็นคำแนะนำที่ดีที่สุดแล้วที่พ่อจะให้แกได้” พ่อฝากกับเจอร์รี่ไว้ก่อนขึ้นเรือ ทว่าบนเรือนี่เองที่เจอร์รี่ได้พบกับเพื่อนเก่าสมัยเรียนคนหนึ่งที่ชื่อ พอล ฮิลล์ และได้รับคำเชิญจาก แพ็ดดี้ อาร์มสตรอง เพื่อนเก่าชาวไอริชอีกคนให้เข้าไปทำความรู้จักกับสังคมฮิปปี้ในลอนดอน ทำให้จากที่ตั้งใจว่าจะไปพักอาศัยอยู่ที่บ้านญาติคนหนึ่งที่ชื่อ แอนนี่ แม็กไกวร์ และหางานทำจริงจัง ทั้งคู่บอกแอนนี่ว่าจะขอไปอาศัยกับพรรคพวกชาวฮิปปี้แทน เจอร์รี่กับพอลเลือกที่จะเที่ยวเตร่เสเพลเรื่อยเปื่อย พอหมดเงินก็กลับไปลักเล็กขโมยน้อยตามเดิม ใช้ชีวิตไปแบบวันต่อวัน ช่วงเวลานั้นความขัดแย้งระหว่างอังกฤษกับไอร์แลนด์ยังคงร้อนระอุ เกิดเหตุระเบิดขึ้นรายวันในหลายจุดของเมือง ทำให้ตำรวจจำกัดวงผู้ต้องสงสัยว่าต้องเป็นหนึ่งในคนไอริชที่อพยพเข้าเมืองมา และในคืนวันที่ 5

ไม่ว่าจะเกิดการชุมนุมอีกสักกี่ครั้ง ก็ยังต้องออกไปถ่ายภาพ

เวลาราวบ่ายสามโมงในวันธรรมดา การจราจรเป็นไปอย่างปกติ อากาศไม่ร้อนมาก ห่างออกไปไม่กี่สิบเมตรคืออนุสาวรีย์ประชาธิปไตยซึ่งกลายเป็นพื้นที่แห่งการสร้างประวัติศาสตร์ใหม่ขึ้นเรื่อยๆ ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ประชาชนรวมตัวกันเพื่อเรียกร้องความเป็นประชาธิปไตย ทวงคืนสิทธิเสรีภาพในรูปแบบที่แสนหลากหลาย และหากยังจำกันได้ วันที่ 3 สิงหาคม 2563 ทนายอานนท์ นำภา ในชุดเสื้อคลุมแฮร์รีพอตเตอร์ ผ้าพันคอบ้านกริฟฟินดอร์ ปรากฎตัวขึ้นที่นี่ พร้อมข้อเสนอต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ (ที่ถ้าจะเปรียบเทียบให้เข้ากับเสื้อคลุมแฮร์รี พอตเตอร์) คือเขาเสกให้ภูมิทัศน์ทางการเมืองไทยเปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล ช่วงนี้ม็อบอาจไม่เยอะและดุดันเท่าเมื่อก่อน แต่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยก็ยังเป็นจุดนัดหมายที่สำคัญของการชุมนุมทางการเมืองหลายครั้ง วันนี้เราจึงชวนช่างภาพ 2 รุ่น ปฏิภัทร จันทร์ทอง ช่างภาพข่าวประจำช่อง Voice TV และเมธิชัย เตียวนะ ช่างภาพและนักข่าวมัลติมีเดียประจำ 101 World มาที่นี่เพื่อพูดคุยเรื่องสถานการณ์การเมืองที่สะท้อนผ่านการถ่ายภาพท่ามกลางการชุมนุมที่สงบเงียบและชุลมุน แก๊สน้ำตา ห่ากระสุน และอีกสารพัดแห่งความดุเดือด 1. หลายคนที่ตามข่าวการเมืองอาจคุ้นชื่อปฏิภัทรอยู่บ้าง เพราะเขาทำงานถ่ายภาพมาตั้งแต่สมัยที่ยังไม่ได้เข้าใจการเมืองมากนัก แต่ก็เอาตนเองเข้าไปสังเกตการณ์ตั้งแต่ม็อบพันธมิตรในช่วงปี 2552 คลุกคลีและฝึกฝนฝีมือมาเรื่อยๆ จนถึงสลายการชุมนุมที่ราชประสงค์ในช่วงปี 2553 หรือที่รู้จักกันดีในนามการสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงในยุคของรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ปฏิภัทรเริ่มทำงานที่สามารถเรียกได้ว่า เสี่ยงตาย และยังไม่หยุดหน้าที่ช่างภาพจนถึงวันนี้