ทำไมการเรียนฟรีในระดับอุดมศึกษา และล้างหนี้การศึกษา จึงเป็นกระบวนการสร้างประชาธิปไตยในระดับฐานรากที่สุด

เมื่อพูดถึงกระบวนการสร้างประชาธิปไตย เรามักนึกถึงกรอบการออกแบบสถาบันการเมืองที่มีความซับซ้อน การวางเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญ หรืออาจพูดถึงรากฐานความเข้าใจของประชาธิปไตยผ่านระบบวัฒนธรรมต่างๆ ที่ล้วนเป็นเรื่องสำคัญแต่ก็ล้วนเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องใช้เวลาทำความเข้าใจ ในทางกลับกัน หากเราตั้งคำถามใหม่ว่าอะไรคือรูปธรรมของอุดมคติที่ซับซ้อนของคำว่าประชาธิปไตย? มันก็คือระบบการเมืองที่เราอยากให้เราก้าวพ้นจากความเปราะบางทางเศรษฐกิจ ธำรงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ รับรองเสรีภาพในการแสดงออก รวมถึงการทำลายข้อจำกัดที่กีดขวางการเลื่อนลำดับชั้น ลักษณะเช่นนี้ย่อมเกิดขึ้นได้ในสังคมที่มีความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ หรือสวัสดิการพื้นฐานที่จำเป็นให้คนได้เริ่มชีวิตอย่างเท่าเทียมกัน ในบทความนี้ผมอยากชวนผู้อ่านทุกท่านพิจารณาหนึ่งในเงื่อนไขการสร้างประชาธิปไตยในระดับพื้นฐานที่สุดคือ สวัสดิการด้านการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาในระดับอุดมศึกษาและหนี้ที่เกิดจากการศึกษาในระดับอุดมศึกษา เมื่อพูดถึง การเรียนฟรี คำนี้ถูกใช้เป็นคำใหญ่ในสังคมไทย ทั้งนักวิชาการด้านการศึกษา นักการเมือง  นักเคลื่อนไหวทางสังคม หรือสื่อมวลชน ต่างพูดถึงคำคำนี้ราวกับเป็นคำในอุดมคติ เป็นสิ่งที่ดี สิ่งที่ควรเป็น แต่เมื่อถกเถียงกันอย่างจริงจังกับพบว่า มันเป็นเรื่องที่ดี แต่ ไม่ต้องมีก็ได้ นับเป็นข้อสรุปที่มีความย้อนแย้งอย่างยิ่งในประเด็นพื้นฐานเหล่านี้ เพราะเราเชื่ออย่างสนิทใจว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ เป็นไปไม่ได้ มันน่ารักถ้าอยู่ในนโยบาย และแผนยุทธศาสตร์ แต่มักกลายเป็นปีศาจร้ายเมื่อ ถูกนำเสนอและเรียกร้องแบบจริงจัง สำหรับประเทศไทย นักเรียนเพียงร้อยละ 30 เท่านั้นที่มีโอกาสในการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย สาเหตุหลักมาจากความจนและภาระทางเศรษฐกิจ การแก้ไขที่ง่ายที่สุดสามารถเริ่มได้ที่การทำให้การเรียนหนังสือทุกระดับไม่เป็นต้นทุนติดลบ นักเรียนทุกคนในการศึกษาภาคบังคับหากได้รับค่าครองชีพ ประมาณ 3,000 บาทต่อเดือน เงินนี้จะช่วยประคองชีวิต ประคองค่าเดินทางและอาหารเย็น อาหารกลางวันได้ และทำให้ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่กีดขวางชีวิตก่อนถึงการศึกษาในระดับอุดมศึกษาได้หายไป ดังนั้น เมื่อคนส่วนมากสามารถเข้าถึงการศึกษาในระดับอุดมศึกษาโดยไม่ถูกกีดขวางจากปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ สิ่งที่จำเป็นต้องคิดตามมาก็คือ การเปลี่ยนความคิดว่าการศึกษาคือการลงทุน

ทำไมต้อง #เลือกตั้งผู้ว่าทั่วประเทศ

อันดับแรก ยุคสมัยนี้เป็นยุคสมัยของการตื่นตัวทางการเมืองอย่างที่ชนชั้นนำต้องจับตาด้วยระคาย ไม่มีช่วงเวลาไหนเหมาะสมแก่การรณรงค์ #เลือกตั้งผู้ว่าทั่วประเทศ เท่ายุคของพวกเราอีกแล้ว ถึงขนาด วิษณุ เครืองาม ยังเคยให้สัมภาษณ์นักข่าวไทยโพสต์ว่า เป็นไปได้ยาก https://www.thaipost.net/hi-light/153316/ ผมคิดว่าคุณวิษณุคงเข้าใจอะไรผิดไปมาก ไม่มีสิ่งเก่าใดต้านทานกระแสลมโชกเชี่ยวแห่งความเปลี่ยนแปลงของประชาชนได้ 16 กันยายน 2565 ณ สภาผู้แทนราษฎร มีการพิจารณา รายงานการศึกษา เรื่อง การบริหารราชการ รูปแบบจังหวัดจัดการตนเอง (Self-governing Province) ซูการ์โน มะทา ประธานคณะกรรมาธิการกระจายอำนาจฯ กล่าวปิดท้าย จังหวัดจัดการตนเองสรุปง่ายๆ คือ ยกเลิกผู้ว่าราชการจังหวัดจากการแต่งตั้ง โดยกระทรวงมหาดไทย ให้พี่น้องประชาชนเลือก และยกเลิกนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ส่วนที่เหลือเป็นเทศบาลหรือองค์การบริหารส่วนตำบล ประธานสภาสรุปในวันนั้น ถือว่าที่ประชุมเห็นด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการ ตามข้อบังคับที่ 105 ประกอบกับข้อ 88 ถือว่าจบการพิจารณาระเบียบวาระรายงานการศึกษา โดย อาจารย์ชำนาญ จันทร์เรือง ที่ปรึกษาเว็บไซต์เรา จากคณะก้าวหน้า อธิบายกระบวนการต่อไปว่า จะมีการเสนอไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหลายเพื่อดำเนินการ ผลที่ตามมาคือ พรรคการเมืองหรือภาคประชาสังคมสามารถใช้เป็นร่างเริ่มต้นในการเสนอเป็นกฎหมายต่อไป แต่เอาล่ะ ถึงอย่างนั้นก็ยังมีข้อสงสัยว่า ทำไมต้อง

จาก กัลยาณมิตร ถึง ชัชชาติ

ขอเขียนถึง คุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ แบบกัลยาณมิตร ผมค่อนข้างจะสนับสนุนแกและเลือกมากับมือ แต่กำลังคิดว่าน่าจะออกมาพูดสักหน่อย เรื่องแรก ช่วงฮันนีมูนจบแล้ว กระแส Hype สุด ที่ทีมกทม.ชุดนี้ไปถึงคืองานหนังกลางแปลง จากนี้ไปคือการเสมอตัว สิ่งที่ประชาชนต้องการคือผลงานเชิงประจักษ์ ถ้าจะให้ดี พองบผ่าน ย้ายข้าราชการจบ ภายในสิ้นปีควรจะมีอะไรที่จับต้องได้ให้ประชาชนเห็น ให้กำลังใจครับ เรื่องที่สอง ด้วยความที่ใส่หมวกเป็นนักบริหารและนักวิชาการมาก่อน คุณชัชาติต้องเข้าใจว่าอีกหมวกคือ นักการเมือง แม้จะพยายามปฏิเสธ แต่หนีไม่ได้ ดังนั้นการสื่อสารเชิงการเมืองสำคัญ ช่วงพรรคกล้าขย่มเรื่องงบนี่ถ้าไม่ได้ ส.ก. ช่วยสวนนี่กระแสไหลเลย เรื่องงบดูงาน แค่บอกว่าเป็นเรื่องปกติ ไม่สูงมาก และกำกับให้โปร่งใส น่าจะดี เรื่องที่สาม นอกจากแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ต้องถอยออกมาดูภาพใหญ่เอาหลังอิงประชาชน เข้าใจว่าตอนนี้น้ำท่วมทำตั้งหลักยาก ผู้ว่าฯ กทม.อำนาจน้อยต้องเน้นประสานงาน วันที่ไปลงพื้นที่กับประวิตรถือว่าดีนะ คือเอาคนมีอำนาจลงไป อีกทางคือฟ้องประชาชนอ้อมๆ ว่า อำนาจส่วนกลางอยู่ที่รัฐบาลลอยตัว กรมชลฯ อยู่ภายใต้ ปชป. ก็ลอยตัว ถ้าจะเลอะต้องลงมาเลอะด้วยกัน เรื่องที่สี่ เข้าใจธรรมชาติของคนกรุงฯ สวิงโหวต ความอดทนต่ำและเสียงดัง ดังนั้นการสื่อสารกับประชาชนน่าสนใจ

แบบไหนคือเสรีภาพทางวิชาการ

เศร้า, พักใหญ่ผ่านมาผมรู้สึกเศร้ากับ 2 เรื่อง เรื่องแรกเศร้าน้อยเท่าขี้แมลงสาบ จึงขออนุญาตเขียนถึงนิดเดียว เพราะไม่ปรารถนาเปลืองเวลาท่านผู้อ่าน และเปลืองเนื้อที่เว็บไซต์ มีกลุ่มชายฉกรรจ์ราว 2-3 หน่อ พยายามโจมตีแคมเปญ #เลือกตั้งผู้ว่าทั่วประเทศ ของเรา เอ่ยย้อนถึงที่มาเสียหน่อย แคมเปญเกิดจากการที่ผมซึ่งเป็นสื่อสารมวลชนอิสระ เป็นประชาชนคนธรรมดาพำนักในจังหวัดนนทบุรี ต้องการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดบ้าง จึงสร้างการรณรงค์ขึ้นใน Change.org/WeAllVoters มีทีมปรึกษาเป็นทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านกระจายอำนาจ นักกิจกรรมทางสังคมการเมือง รวมถึงเพื่อนสื่อมวลชน ความตั้งใจแรกของผม คือการเปิดเพจเพื่อเป็นสื่อกลางในการนำเสนอคอนเทนต์ รับฟังเสียงของประชาชน ค่อยๆ สะสมข้อเสนอไปเรื่อยๆ เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ ผมไม่อาจตัดสินใจแบบเผด็จการ หากกลุ่มชายฉกรรจ์ดังกล่าว เสียเวลาอันมีค่าในการเมาท์มอย เข้ามาดูเนื้อหาในเพจบ้าง จะทราบว่าผมสัมภาษณ์ผู้คนเอาไว้มากมาย มีทั้งความเห็นให้ยกเลิกราชการส่วนภูมิภาค เราควรมีสิทธิในการเลือกผู้ว่าฯ ของตนเอง กล่าวให้ตรงกว่านั้น หากคิดอยากโจมตีผมไม่มีปัญหา แต่เราควรรู้จักฝั่งตรงข้ามบ้างด้วยการศึกษา มิใช่อ่านแต่พาดหัวแล้วก็นำมาใส่ความ เรื่องของเรื่องคือ หนึ่งในกลุ่มชายฉกรรจ์ดังกล่าว แชร์โพสต์ที่ผมสัมภาษณ์นักวิชาการท่านหนึ่ง โดยระบุแคปชั่นว่า นักวิชาการท่านนี้มิได้พูดถึง #เลือกตั้งผู้ว่าทั่วประเทศเลย ทั้งๆ ที่เพียงคลิกลิงค์ที่แปะไว้ ก็จะรู้ว่า เขาพูด เฮ้อ… อาจด้วยอคติบังตา หนึ่งในกลุ่มชายฉกรรจ์คนเดิม แชร์บทความของทีมที่ปรึกษาซึ่งเขียนเรื่องยกเลิกราชการส่วนภูมิภาค

การปกครองท้องถิ่นญี่ปุ่น: เมื่อการกระจายอำนาจอาจนำไปสู่ความเจริญหลากมิติ

ประเทศญี่ปุ่นเป็น 1 ในประเทศที่คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี ผู้อ่านอาจเคยเดินทางไปยังแดนอาทิตย์อุทัยมาแล้ว หรือมีความคุ้นเคยกับผลิตภัณฑ์ สินค้าต่างๆ เช่น รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารหรือแม้กระทั่งสื่อนิยาย อะนิเมะ เกมต่างๆ ที่มีที่มาจากญี่ปุ่น บางคนอาจพอทราบว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีการปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้มแข็ง แต่หลายคนอาจยังไม่เห็นภาพนักว่าความเข้มแข็งที่ว่านั้นเป็นอย่างไร และส่งผลอย่างไรต่อชีวิตของคนญี่ปุ่น บทความนี้จึงจะพาผู้อ่านไปทำความรู้จักญี่ปุ่นในเรื่องการกระจายอำนาจและการปกครองส่วนท้องถิ่นให้มากขึ้น เพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพว่าเมื่อมีกระจายอำนาจมากขึ้น มีการปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้มแข็งแล้วประชาชนในพื้นที่จะมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไร ส่งผลอย่างไรต่อประชาธิปไตยของประเทศ และจริงหรือไม่ที่กระจายอำนาจแล้วความเจริญจะกระจายไปด้วย โดยจะเริ่มจากการนำเสนอภาพรวมการปกครองท้องถิ่นญี่ปุ่น ตัวอย่างที่เกิดขึ้นในท้องถิ่น และบทสรุปสำหรับประเทศไทย ญี่ปุ่นเป็นรัฐเดี่ยว ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสมเด็จพระจักรพรรดิทรงเป็นประมุข การบริหารราชการแผ่นดินนั้นเป็นระบบสองชั้น (Two tiers system) คือ การบริหารราชการส่วนกลาง ประกอบไปด้วยรัฐสภาเป็นสถาบันสูงสุดของรัฐ มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล โดยนายกรัฐมนตรีได้รับการเลือกจากสมาชิกรัฐสภาซึ่งประกอบด้วย 2 สภา คือสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา และการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ได้แก่ จังหวัดและเทศบาล การจัดการปกครองญี่ปุ่นสมัยใหม่เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงคราม สหรัฐอเมริกาได้เข้ามาในนามคณะยึดครองพร้อมกับปฏิรูประบบเศรษฐกิจ ระบบการเมือง และการบริหารของญี่ปุ่น โดยให้ความสำคัญกับการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น ให้ท้องถิ่นมีอิสระที่จะปกครองตนเองตามหลักการของระบอบประชาธิปไตย โดยบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของญี่ปุ่นที่ประกาศใช้เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ.

ยกเลิกราชการส่วนภูมิภาค และเลือกตั้งผู้ว่าฯ ทุกจังหวัด

กระแสการเรียกร้องให้แต่ละจังหวัดได้มีโอกาสในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นของตนเองนั้น ได้มีเป็นระยะๆ มาช้านานกว่า 30 ปีแล้ว โดยเสียงเริ่มดังขึ้นเรื่อยๆ ดังมากหน่อยก็ตอนมีการรณรงค์เรื่องจังหวัดจัดการตนเองที่วางโครงสร้างให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งแพร่ขยายไปถึง 58 จังหวัด แต่มาดังเป็นพลุแตกกระจายไปทุกจังหวัดในช่วงของการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยคุณชัชชาติเป็นผู้ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งและทำงานอย่างทุ่มเท ทำให้ทุกจังหวัดอยากเลือกตั้งผู้ว่าฯ ของตนเองบ้าง อย่างไรก็ตาม ในสายตาของนักวิชาการผู้เชี่ยวด้านการบริหารราชการแผ่นดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการปกครองท้องถิ่นหรือการกระจายอำนาจได้ให้ความเห็นที่น่าฟังเป็นอย่างยิ่งว่า แม้นจะมีโอกาสเลือกผู้ว่าราชการจังหวัดได้ก็จริง แต่หากยังมี ราชการส่วนภูมิภาค อยู่ก็จะยิ่งเละ หรือยุ่งไปมากกว่าเดิมเสียอีก ในเรื่องของข้อเสนอให้มีการยกเลิกราชการส่วนภูมิภาคนั้น ได้เคยถูกนำเสนอไว้แล้วเมื่อ 18 เมษายน 2554 ในหนังสือปกสีส้ม ข้อเสนอการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ ของคณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) จำนวน 19 คน ที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีกรรมการที่มีชื่อเสียงอีกหลายราย  อาทิ ชัยอนันต์ สมุทรวณิช / นิธิ เอียวศรีวงศ์ / พระไพศาล วิสาโล / เสกสรรค์ ประเสริฐกุล / ม.ร.ว.อคิน รพีพัฒน์ ฯลฯ โดยมีเหตุผลที่สำคัญโดยย่อคือ “…เนื่องจากราชการส่วนภูมิภาคเป็นสายอำนาจบัญชาการที่สำคัญของรัฐบาล

ปรสิต

ไม่ต้องถ่อสังขารถึงจังหวัดไกลปืนเที่ยง ไม่ต้องเป็นคนช่างสังเกต เอาแค่หลืบมุมถูกทอดทิ้งในเมืองหลวง เราก็เห็นชัดถึงคุณภาพชีวิตของผู้คนอันย่ำแย่ ชุมชนแออัด การถูกไล่รื้อที่ซุกหัวนอนในชื่อความเจริญ ผู้ปกครองเป็นหนี้มาเฟียเงินกู้ดอกมหาโหด เยาวชนหลุดระบบการศึกษาเสี่ยงชีวิตบนเบาะมอเตอร์ไซค์ผ่อนนามไรเดอร์ ทั้งหมดนี้มีรากมาจากคำคำเดียว ปรสิต ทางชีววิทยา ปรสิตคือสิ่งมีชีวิตซึ่งมีความจำเป็นต้องอาศัยพักพิงและได้รับอาหารจากสิ่งมีชีวิตอื่น บางครั้งทำร้ายทำลายสิ่งมีชีวิตที่ใช้ประโยชน์จนเจ็บป่วยหรือเสียชีวิต ปรสิตมิใช่ใครคนใดคนหนึ่ง แต่คือเครือข่ายที่พยายามเหนี่ยวรั้งกาลเวลา ดึงฉุดคุณภาพชีวิตของคนทั้งประเทศ ด้วยอำนาจ ด้วยปืน ด้วยวาทกรรมประวัติศาสตร์ทาสรักไว้ผลิตความเกลียดชัง ปรสิตไม่ได้โง่ พวกเขาฉลาดและวางเกมอย่างเป็นระบบ สูบกินภาษีอย่างตะกละตะกลาม สุขสบายบนหยาดเหงื่อของคนจน พูดแบบไม่ห่วงภาพพจน์ ผมเองเป็นชนชั้นกลาง ชนชั้นที่มีโลกทัศน์คับแคบ-บางคน ชนชั้นที่สาดโคลนด่าทอพวกที่ออกมาเสนอนโยบายเรียนฟรีมีเงินเดือนใช้ ยกเลิกหนี้ กยศ. ผมเป็นคนในชนชั้นที่เกลียดชังคำว่ารัฐสวัสดิการเข้ากระดูกดำ ปรนเปรอเข้าไปเดี๋ยวก็ขี้เกียจตาย ปรนเปรอเข้าไปเดี่ยวก็เหลิง ปรนเปรอเข้าไปมันก็เอาไปใช้สุรุ่ยสุร่าย นั่นละทัศนะของชนชั้นผม-บางคน ผมมีอาชีพเป็นสื่อมวลชนอิสระ รักงานสัมภาษณ์ผู้คน หลังออกจากการนั่งประจำที่สำนักงานนิตยสารแห่งหนึ่งนานมาแล้ว แต่เมื่อไม่นานมานี้ราวๆ ฤดูร้อนที่ผ่านพ้น ผมเริ่มต้นรณรงค์ #เลือกตั้งผู้ว่าทั่วประเทศ กับมิตรสหายหลายท่าน โดยมีครูบาอาจารย์ นักวิชาการ นักกิจกรรมทางสังคมการเมืองเป็นที่ปรึกษา มันถูกขยายออกเป็นเว็บไซต์ The Voters ที่ท่านกำลังอ่านอยู่ ตลอดระยะเวลาไม่กี่เดือน ทว่าผมรู้สึกเหมือนมันนานชั่วกัลปาวสาน ผมได้สัมภาษณ์บุคลากรมากมายที่มีความรู้เรื่องการกระจายอำนาจ การบริหารราชการแผ่นดินทั้ง 3 ส่วน

การรณรงค์เรื่องการเลือกตั้งผู้ว่าฯ และการกระจายอำนาจในสังคมไทย นักการเมืองและนักวิชาการจำนวนหนึ่งเริ่มเรียกร้องให้เลือกตั้งผู้ว่าฯ ต่างจังหวัดในปี 2534-2536 มหาดไทยตอบโต้ด้วยการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ให้คนระดับหมู่บ้าน-ตำบลหลงกับงาน อบต. พลังระดับจังหวัดจึงอ่อนลงไป                                                                                 รัฐรวมศูนย์อำนาจมากเกินไป (An Over-Centralized State / OCS) รัฐไทยเป็นรัฐรวมศูนย์อำนาจชนิดพิเศษที่หาได้ไม่ง่ายนักในโลก เรียกว่ารัฐรวมศูนย์อำนาจมากเกินไป (An Over-centralized State หรือ OCS) เป็นตั้งแต่อดีตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน รวมเวลาการเป็นรัฐ OCS มาแล้ว ทั้งหมดนานถึง 130 ปี (พ.ศ. 2435-2565)  ทุกอย่างเกิดแต่เหตุ ไม่ใช่ว่าอยู่ดีๆ รัฐประเภทนี้ก็เกิดขึ้นได้ง่ายๆ ไม่ใช่เลย รัฐไทยในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2325 มีจุดเด่น 3 ข้อ คือ 1. เป็นรัฐเกษตรขนาดเล็กเมื่อเทียบกับ 2 รัฐที่มีอารยธรรมสูง คือ ขอม และมอญ ด้านตะวันออกเฉียงใต้และทิศตะวันตก ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ ราวปี พ.ศ.