เลิกผู้ว่าฯ หรือเลือกตั้งผู้ว่าฯ

มายาคติว่า ถ้ากระจายอำนาจแล้วท้องถิ่นจะโกงกันมาก ซึ่งไม่จริง ยิ่งกระจายอำนาจ ประชาชนยิ่งรู้สึกว่าพวกเขาเป็นเจ้าของท้องถิ่น จะยิ่งเกิดการตรวจสอบ ตัวอย่างชัดๆ คือ เสาไฟกินรี ที่เป็นข่าวโด่งดังได้ เพราะประชาชนช่วยกันตรวจสอบ ไม่เหมือน ซื้อเรือดำน้ำตรวจสอบยากมาก วันนี้ผมได้รับเชิญจาก กลุ่มอาสาวิชาการ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ร่วมวงเสวนา ‘เลือกตั้งผู้ว่าฯ หรือยกเลิกผู้ว่าราชการจังหวัด’ ตามประสาคนรู้ไม่มาก ผมจำต้องทำการบ้านเตรียมคำตอบอย่างรัดกุมที่สุด ดูจากรายชื่อผู้ร่วมวงอย่าง วรภพ วิริยะโรจน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล และ วสันต์ เหลืองประภัสร์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หากประมาทหรือลงตนเองเกินไป จะออกอ่าวออกทะเลเอาได้ ทีมงานส่งคำถามมาให้ผมล่วงหน้า 12 ข้อ ขออนุญาตนำคำตอบมาลงให้ได้อ่านกัน ข้อแรก สาเหตุที่ผมเสนอให้เลิกผู้ว่าฯ เพราะปัจจุบัน เรามีผู้ว่าฯ จากการแต่งตั้ง สังกัดส่วนภูมิภาค ซึ่งถือเป็นมือเป็นไม้ของส่วนกลาง ในการกำกับส่วนท้องถิ่น ทำให้ท้องถิ่น ไม่มีศักยภาพในการสร้างสรรค์คุณภาพชีวิตผู้คน และแน่นอน ผมเสนอให้เลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศแทน ถ้าเลือกเป็นบางจังหวัดเพื่อนำร่อง ยิ่งเป็นการตอกย้ำความเหลื่อมล้ำ ยุคสมัยแห่งการตื่นตัวทางการเมือง The

สถาบันพระมหากษัตริย์ของญี่ปุ่นกับโลกร่วมสมัย

“สมเด็จพระจักรพรรดิทรงเป็นสัญลักษณ์ของประเทศและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับประชาชน พระองค์ทรงมีฐานะเช่นนั้นด้วยเจตนารมณ์ของประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย” มาตรา 1 ของรัฐธรรมนูญปี 1947 ของญี่ปุ่น ได้ระบุสถานะของสถาบันจักรพรรดิเอาไว้อย่างชัดเจน  ด้วยเจตนารมณ์ของสหรัฐอเมริกาโดย นายพลแมคอาเธอร์ ที่ต้องการให้สถาบันจักรพรรดิญี่ปุ่นเป็นสัญลักษณ์ของสันติภาพ และการพัฒนาประชาธิปไตยญี่ปุ่น การเมืองการปกครองญี่ปุ่นนอกจากจะมีการปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้มแข็งจากการกระจายอำนาจในระดับสูงโดยเปรียบเทียบกับในหลายประเทศโดยเฉพาะประเทศไทยแล้ว ความน่าสนใจอีกประการหนึ่งคือญี่ปุ่นปกครองในระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งสถาบันกษัตริย์หรือสถาบันจักรพรรดิของญี่ปุ่นมีความเป็นมาที่ยาวนาน มีความเกี่ยวข้องกับสถาบันศาสนา และมีการปรับตัวต่อความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศ ทำให้สามารถธำรงรักษาสถานะในสังคมการเมืองญี่ปุ่นจวบจนปัจจุบัน แต่ทว่าอะไรเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สถาบันกษัตริย์ญี่ปุ่นมีความเปลี่ยนแปลงและธำรงรักษาสถานะที่อยู่เหนือการเมืองเป็นสิ่งที่ผู้เขียนจะนำมาเล่าผ่านบทความชิ้นนี้ บทบาทของสถาบันจักรพรรดิในสมัยโบราณนั้น มีสถานะเป็นผู้นำกองทัพและผู้นำทางพิธีกรรมต่างๆ โดยฐานที่มาทางอำนาจของระบบจักรพรรดิคือ ความเชื่อทางศาสนา (คำเรียกจักรพรรดิในภาษาญี่ปุ่นคือเทนโนที่แปลว่า อธิปไตยจากสรวงสวรรค์ ดังนั้นจึงมีความเชื่อว่าจักรพรรดิเป็นสมมติเทพ) และระบบการถือครองที่ดินในห้วงที่โครงสร้างการปกครองยังเป็นแบบระบบศักดินาชนชั้นอันประกอบไปด้วยนักรบ ชาวนา ช่างฝีมือและพ่อค้า โดยนักรบ[1] นั้น จักรพรรดิถือว่าอยู่ในชนชั้นนี้ ทว่าในยามที่ประเทศมีสงครามน้อยลง สถานะของจักรพรรดิก็เริ่มถูกลดบทบาทลง ในขณะที่อำนาจของกลุ่มขุนนางมีมากขึ้น เมื่อถึงสมัยเอโดะซึ่งเป็นยุคแห่งการปกครองของรัฐบาลทหาร เกิดระบบการปกครองแบบโชกุนที่ได้ขึ้นมามีอำนาจสูงสุดในการควบคุมและปกครองทุกระดับ คุมอำนาจส่วนกลาง โดยมีไดเมียวเป็นขุนนางที่มีอำนาจในแคว้นต่างๆ อยู่ภายใต้อำนาจของโชกุน ในขณะที่จักรพรรดิดำรงตำแหน่งในฐานะประมุข โชกุนจึงสามารถจำกัดอำนาจของพระจักรพรรดิลง โดยการยึดที่ดิน จำกัดการใช้จ่ายภายในราชสำนัก และออกกฎให้จักรพรรดิเป็นผู้นำทางศาสนาเท่านั้น[2] ต่อมาสถานะของสถาบันจักรพรรดิได้กลับมาฟื้นฟูโดยซามูไรและนักศึกษาลัทธิชินโตที่สนับสนุนราชพิธีในราชสำนักเพื่อให้จักรพรรดิในฐานะผู้นำพิธีกรรมตามหลักศาสนาชินโตมีความเป็นรูปธรรม ปลายยุคเอโดะชนชั้นนักรบได้เสื่อมอำนาจลง ในขณะที่ชนชั้นพ่อค้าขึ้นมามีอำนาจแทนสมัยการปฏิรูปเมจิ พร้อมด้วยการเข้ามาของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมและการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ระบบศักดินาเสื่อมลงไป ทว่าการปฏิรูปเมจินั้นส่งผลดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ญี่ปุ่นเนื่องจากรัฐบาลมีความพยายามฟื้นฟูอำนาจของจักรพรรดิในฐานะผู้นำทางทหาร มีการประกาศใช้กฎหมายให้เคารพเชิดชูจักรพรรดิและศาสนาชินโต การสร้างรัฐญี่ปุ่นสมัยใหม่ในสมัยเมจิ จึงเป็นการคืนอำนาจให้สถาบันจักรพรรดิมีความมั่นคงยิ่งขึ้น

5 ล่มจมหากไม่กระจายอำนาจ กับ บรรณ แก้วฉ่ำ

ข้อเสียหากไม่กระจายอำนาจ ประเทศไทยจะยังคงประสบปัญหา และขาดการพัฒนา ดังนี้ 1.เป็นต้นเหตุทำให้รัฐบาลไทยมีอายุสั้น ขาดเสถียรภาพ  เนื่องจากปัญหาเล็กน้อยของประชาชนอันควรได้รับการแก้ไขให้เสร็จเด็ดขาดในพื้นที่ โดยท้องถิ่น กลับไม่ให้อำนาจไม่ให้งบประมาณแก่ท้องถิ่นในการแก้ไข ก็ทำให้ปัญหาดังกล่าวยังคงถูกส่งไปเรียกร้องที่ส่วนกลาง เกิดการปักหลักประท้วงหน้าทำเนียบ กลายเป็นน้ำผึ้งหยดเดียวที่ลุกลามใหญ่โตจนต้องเปลี่ยนรัฐบาล  2.เป็นต้นเหตุให้เกิดการก่อรัฐประหาร  เนื่องจากทั้งงบประมาณและอำนาจ ที่ยังไม่ถูกกระจายไปให้ในระดับพื้นที่ตัดสินใจได้เอง แต่ยังคงรวมศูนย์อยู่ในส่วนกลาง ทำให้เกิดความดึงดูดใจในการแย่งชิงที่เข้มข้นอยู่ในส่วนกลาง ข้อสังเกตที่เห็นได้ชัดคือ ในประเทศที่มีการกระจายอำนาจ ซึ่งส่วนกลางมีบทบาทอำนาจหน้าที่เฉพาะเรื่องใหญ่ๆ เพียงไม่กี่ด้าน เช่น ด้านการยุติธรรม ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ด้านทหาร หรือด้านระบบการคลังของประเทศ จะไม่มีการรัฐประหารเกิดขึ้นเลย  3.ปัญหาสิ้นเปลืองในการใช้จ่ายงบประมาณ แต่ปัญหาของประชาชนยังไม่ได้รับการแก้ไข  เนื่องจากนโยบายและโครงการที่คิดจากส่วนกลาง แล้วแจ้งทุกพื้นที่ขับเคลื่อนไปเหมือนๆ กันทั่วประเทศ ไม่ได้สนองตอบความต้องการของประชาชนได้ทั้งหมด เพราะแต่ละพื้นที่มีปัญหาไม่เหมือนกัน เช่น โครงการโคกหนองนา ก่อนนี้ที่กระทรวงมหาดไทยแจ้งให้ อบต.ในพื้นที่บางแห่งที่ตั้งอยู่บนยอดดอยใช้งบประมาณขับเคลื่อนโครงการดังกล่าว แทนที่จะให้ทำเรื่องส่งเสริมการปลูกชา หรือกรณีมอบนโยบายแก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ ด้วยการให้โค่นต้นยางพาราเพื่อปลูกสตรอว์เบอร์รีซึ่งพื้นที่ในภาคใต้ปลูกสตรอว์เบอร์รีไม่ได้ผล กรณีการแก้ปัญหาดังตัวอย่าง ต้องจัดสรรงบประมาณไปให้ท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่เขาคิดเองว่าควรแก้ปัญหาให้แก่ประชาชนในแต่ละพื้นที่ของเขาในเรื่องใด อย่างไร  4.ปัญหาการสูญหายหรือเสื่อมสลายของวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีท้องถิ่น  ปัจจุบันแม้กฎหมายให้อำนาจแก่ท้องถิ่นในการส่งเสริมวัฒนธรรม ขนบทำเนียม ประเพณีท้องถิ่นได้ แต่จะส่งเสริมเรื่องอะไร อย่างไร ยังคงรวมศูนย์อำนาจให้ส่วนกลางทำเป็นระเบียบกำหนดให้จึงจะใช้จ่ายงบประมาณของท้องถิ่นได้ ด้วยรูปแบบการรวมศูนย์อำนาจในการตัดสินใจอยู่ที่ส่วนกลางดังกล่าว จะทำให้วัฒนธรรม

ศูนย์เด็กเล็ก-ภาพสะท้อนความเหลื่อมล้ำสวัสดิการจากการกดทับของอำนาจส่วนกลาง

วันที่ 6 ตุลาคม 2565 นับเป็นโศกนาฏกรรมสำคัญสำหรับประเทศไทย ประจวบเหมาะกับการครบรอบ 46 ปี เหตุการณ์สังหารหมู่นักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การกราดยิงในศูนย์เด็กเล็กที่จังหวัดหนองบัวลำภู เป็นความสูญเสียสำคัญที่สะท้อน ความรุนแรงในระดับกลุ่มย่อยที่สูงมากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา การชดเชยเยียวยา ปัญหาอาวุธปืน ภาวะความเป็นชายเป็นพิษ (Toxic Masculinity) รวมถึงจรรยาบรรณและบทบาทของสื่อในการนำเสนอข่าวเหตุการณ์ต่างๆ มีหลายเรื่องที่สะท้อนความบกพร่องจากการถอดบทเรียนในอดีต และจำเป็นต้องมีการเรียนรู้และถอดบทเรียนต่อไป แต่ความสูญเสียนี้ชวนให้เราคิดว่า ชีวิตของเด็กเล็กทั่วประเทศก่อนเหตุการณ์กราดยิง ว่าพวกเขาส่วนมากได้รับการใส่ใจจากรัฐมาน้อยเพียงใด รายจ่ายในการเลี้ยงเด็ก 1 คนจนอายุ 18 ปี เป็นค่าใช่จายโดยเฉลี่ยที่ประมาณ 1,000,000 บาท หรือเดือนละ ประมาณ 4,500 บาท รัฐบาลอุดหนุนเงินเลี้ยงดูเด็กสำหรับกลุ่มผู้มีรายได้น้อยอยู่ที่ เดือนละ 600 บาท หรือเพียงร้อยละ 15 ของค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ย ลักษณะเช่นนี้ไม่แปลกนักที่เด็กที่เกิดในครัวเรือนรายได้น้อยจะมีแนวโน้มหลุดออกจากระบบการศึกษาเรื่อยๆ เด็กที่เข้าเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ราว 100 คน มีโอกาสในการเรียนมหาวิทยาลัยปี 1 เพียงแค่ 30 คน เหตุผลหลักของการตกออกแต่ละช่วงอายุ ยังเป็นเรื่องปัจจัยทางเศรษฐกิจ

นักร้องศรี โน้ส-อุดม ขมประชาธิปไตย  

บิดดิ้นทุรายทุรนแบบคนโดนเพลิงอคติแผดเผา เปล่า, ผมไม่ได้หมายถึง ประยุทธ์ หรือประวิทย์ เพราะคนหลังเองยังออกมาให้สัมภาษณ์ว่า ให้ดูแบบขำๆ ผมจำเพาะเจาะจงลงไปที่เหล่ากองเชียร์ของคนทั้งคู่ (ขออนุญาตไม่เรียกลุง ผมไม่เคยมีลุงนิสัยแบบนี้) ดิ้นกันถึงขนาดยกเลิกช่องหนังชื่อดัง เสียดาย ผมเสียดายแทน เพราะมีภาพยนตร์อีกหลายเรื่อง ที่ช่วยเพิ่มรอยหยักสมองได้ นี่อาจเป็นแรงผลักให้ ศรี​สุวรรณ​ จรรยา นักร้องเรียนประจำยุคสมัย ต้องออกลูกยุบยิบกับกรณีของ โน้ส-อุดม สร้างความรำคาญแก่ วีรวิชญ์ รุ่งเรืองศิริผล จนต้องสาวหมัดเรียกเสียงซี๊ดซ๊าดจากกองเชียร์ มากบ้างน้อยบ้าง ปรากฏการณ์ทั้งหมดคงสร้างรสขมปร่าบนลิ้นของผู้ไม่อภิรมย์กับชั้นบรรยากาศบ้านเมืองแบบประชาธิปไตย ผมไม่เห็นด้วยแน่นอนกับความรุนแรง สมัยเป็น บรรณาธิการ ที่ นิตยสาร WAY ยุคกระดาษ ผมเคยสัมภาษณ์ อาจารย์วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ในประเด็น 112 ซึ่งเป็นความรุนแรงทางกฎหมาย ถ้าความทรงจำผมไม่เลอะเทอะเกินไป ต่อมาเขาถูกชกหน้า เป็นความรุนแรงทางกายภาพที่เราๆ ต่อต้าน ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลอันใดเลยที่ผมจะไม่ต่อต้านความรุนแรงต่อศรี​สุวรรณ      ทั้งองคาพยพสังคมและตัวผมจำเป็นต้องเคี่ยวกรำตนให้ผ่านพ้นพรมแดนที่ถูกครอบงำด้วยด้านมืด ผมไล่อ่านความเห็นของหลายๆ คนบนเฟซบุ๊ค หลายท่านระบุตรงกันว่า เราต่างมีปีศาจสิงสู่ การเกลี่ยกล่อมมันให้เชื่องไม่ใช่เรื่องง่าย ผมเห็นด้วย หลายท่านบอกนี่ไม่เกี่ยวกับปัญหาโครงสร้างใด ตรงนี้ผมเห็นค้าน

สังคมเอียงขวากับการพัฒนาประชาธิปไตยประสบการณ์จากญี่ปุ่น

ในบทความชิ้นก่อน ผู้เขียนได้กล่าวถึงแนวคิดอนุรักษนิยมของญี่ปุ่นที่มีความเข้มข้นขึ้นภายใต้การบริหารประเทศของรัฐบาล พรรคเสรีประชาธิปไตย ที่ครองอำนาจมาอย่างยาวนาน ในบทความนี้ก่อนที่จะพาผู้อ่านไปรู้จักกับสังคมอนุรักษ์ของญี่ปุ่น ผู้เขียนจะขอนิยามความหมายของสังคมอนุรักษนิยมเพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกันเสียก่อน แนวคิดอนุรักษ์ หรือขวา ในที่นี้หมายถึงความนิยมในวัฒนธรรม ศีลธรรม เน้นระเบียบวินัย เน้นการใช้อำนาจบังคับ นิยมชมชอบชนชั้นสูงและขุนนาง มีลักษณะชาตินิยมในเชิงลบสุดขั้ว ให้คุณค่ากับกลุ่มคนหรือชุมชนมากกว่าปัจเจก ต่อต้านความเปลี่ยนแปลงและมุ่งรักษาค่านิยมดั้งเดิมของสังคมเอาไว้ โดยความหมายของมันแล้วอนุรักษนิยมดูจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตยแบบเสรีอยู่มิใช่น้อย ในกรณีของประเทศญี่ปุ่นนั้นทั้งสังคมและการเมืองของญี่ปุ่นล้วนฉายให้เห็นภาพของความอนุรักษ์ที่เข้มข้น จุดเริ่มต้นของแนวคิดอนุรักษนิยมญี่ปุ่นสมัยใหม่เป็นผลมาจากแนวคิดชาตินิยมสุดโต่งแบบญี่ปุ่นในช่วงจักรวรรดิญี่ปุ่นออกล่าอาณานิคมเพื่อหาแหล่งทรัพยากรใหม่ๆ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 นอกจากกองทัพแล้วคนญี่ปุ่นและรัฐบาลยังสนับสนุนแนวคิดของกองทัพที่รู้สึกว่าชนชาติของตนเองมีวิญญาณนักรบ มีความเหนือกว่าชนชาติอื่นๆ ในโลก[1] คล้ายกับชาตินิยมสุดโต่งของนาซีเยอรมันที่เชื่อว่าชาวอารยันคือชนเผ่าที่ดีกว่าชนเผ่าอื่นๆ ในกรณีของญี่ปุ่นนำไปสู่การบุกรุกจีนจนเกิดโศกนาฎกรรมนานกิง รวมถึงการบุกรุกฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และเกาหลี ซึ่งการล่าอาณานิคมของจักรวรรดิญี่ปุ่นก็ยุติลงเมื่อญี่ปุ่นพ่ายแพ้ต่อสหรัฐอเมริกานำมาสู่การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่และการเข้ามามีอิทธิพลในญี่ปุ่นของสหรัฐฯ และทำให้ญี่ปุ่นไม่สามารถมีกองทัพประจำการได้อีกต่อไป อย่างไรก็ตามรากฐานความคิดชาตินิยมของญี่ปุ่นไม่ได้หายไปด้วยแต่ยังคงฝังรากลึกอยู่ในสังคมและการเมืองญี่ปุ่น แนวคิดอนุรักษนิยมทางการเมืองของญี่ปุ่นปรากฏอย่างชัดเจนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498 ระบอบการเมืองของญี่ปุ่นมีความเปลี่ยนแปลงน้อย มีการเปลี่ยนพรรคการเมืองหลักในรัฐบาลเพียงแค่ 4 ครั้ง และไม่มีการเปลี่ยนแปลงพรรคการเมืองหลักในช่วงปี พ.ศ. 2498 – 2536 เลย[2]  ซึ่งพรรคการเมืองหลักที่เป็นพรรครัฐบาลมาอย่างยาวนานในประวัติศาสตร์การเมืองญี่ปุ่นคือพรรคเสรีประชาธิปไตย (LDP) ซึ่งเป็นพรรคที่มีแนวคิดทางการเมืองแบบเอียงขวามาทางอนุรักษนิยม ตัวอย่างเช่น ในการออกฎหมายที่สนับสนุนการสมรสเท่าเทียมของกลุ่มเพศหลากหลาย ขณะที่พรรคร่วมรัฐบาลอื่นๆ สนับสนุนการออกกฎหมายดังกล่าว แต่พรรค LDP ยืนกรานที่จะไม่สนับสนุนข้อกฎหมายนี้[3] นอกจากนี้ยังมีนโยบายหรือการแสดงออกจากรัฐบาลพรรค

ทำไมต้องแก้รัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่น

แม้ว่าการปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ และเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารราชการแผ่นดิน แต่เมื่อวิเคราะห์จากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ เปรียบเทียบกับหลักการกระจายอำนาจหรือการปกครองท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ที่ได้บัญญัติไว้ในหมวด ๕ แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา ๗๖ ซึ่งกำหนดให้รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบาย การตัดสินใจทางการเมือง การวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รวมทั้งการตรวจสอบการ ใช้อำนาจรัฐทุกระดับ นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ มาตรา ๘๗ ก็ได้บัญญัติให้รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายและการมีส่วนร่วมของประชาชนไว้อย่างละเอียดเช่นกัน ส่วนรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ในหมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่บังคับให้รัฐต้องทำ และหมวด ๖ แนวนโยบายแห่งรัฐ ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่กำหนดให้รัฐพึงดำเนินการ แต่ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการส่งเสริมการกระจายอำนาจหรือการปกครองท้องถิ่นบัญญัติไว้เลย ทั้งนี้ เมื่อพิจารณามาตรา ๒๘๒ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ที่บัญญัติว่า “ภายใต้บังคับมาตรา ๑ รัฐจะต้องให้ความเป็นอิสระแก่ท้องถิ่นตามหลักแห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น” ซึ่งเห็นได้ชัดเจนว่ารัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ได้ให้ความสำคัญกับความเป็นอิสระในบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นอย่างมาก นอกจากนี้มาตรา ๒๘๓ วรรคสาม ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ก็ได้กำหนดให้มีกฎหมายกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจสู่องค์ปกครองส่วนท้องถิ่นไว้ด้วย ซึ่งแตกต่างจากรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐

ทางออกของท้องถิ่นไทย: เลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ 

บทเรียนจากสหรัฐอเมริกา ในโลกสมัยใหม่ สหรัฐฯ เป็นชาติแรกที่มีการปกครองท้องถิ่นที่เข้มแข็ง เนื่องจากคนอเมริกันที่ก่อตั้งประเทศส่วนใหญ่เป็นคนอังกฤษที่รักในสิทธิเสรีภาพ พวกเขาคิดต่างด้านศาสนาและอุดมการณ์ทางการเมืองกับผู้นำประเทศ จึงถูกปราบปราม จับกุมคุมขัง ที่เหลือจึงหลบหนีออกมา ไปสร้างชุมชนใหม่ในโลกใหม่ และขยายเพิ่มโดยมีคนยุโรปจากประเทศอื่นๆ ที่มีความเห็นร่วมอพยพตามมา จนจัดตั้งอาณานิคมได้ 13 แห่งยาวเกือบตลอดแนวชายฝั่งตะวันออก และเพราะอยู่ไกลมากจากอังกฤษ จึงปล่อยให้พวกเขาจัดการบริหารท้องถิ่นกันเอง ซึ่งกลายเป็นประชาธิปไตยท้องถิ่นขั้นพื้นฐาน และพัฒนาเป็นขบวนต่อสู้กับลัทธิล่าอาณานิคม ต่อสู้กับอังกฤษ ได้สถาปนาสหรัฐเป็นประเทศเอกราชขึ้นในปี 1776 จัดตั้งระบบการปกครองท้องถิ่นของตนเองแบบใดก็ได้ถึง 4-5 แบบ และยังจัดระบบการศึกษาและโบสถ์ในท้องถิ่นและรัฐของตนเองได้ด้วย ฯลฯ สำหรับสหรัฐฯ ประชาธิปไตยที่ท้องถิ่นเกิดก่อนระดับชาติ และเป็นรากฐานของประชาธิปไตยทั่วประเทศนับตั้งแต่นั้น คนอเมริกันจึงแทบไม่รู้จักคำว่าการกระจายอำนาจ เพราะท้องถิ่นมีแทบทุกอย่าง บทเรียนจากเยอรมนี-ญี่ปุ่น การปฏิวัติอุตสาหกรรมเริ่มครั้งแรกที่อังกฤษในช่วงทศวรรษ 1760-70 ไล่เลี่ยกับการปฏิวัติอเมริกัน โรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้นและอัดแน่นในบริเวณเดียวกัน กรรมกรก็อัดแน่นในบริเวณรอบๆ เพราะตอนนั้นยังไม่มียวดยานใดๆ เมื่ออยู่อย่างแออัด ชุมชนเมืองที่เกิดขึ้นจึงมีปัญหาตามมาตั้งแต่การกินอยู่ เสียงดัง ขยะ ห้องน้ำ  ทางเดิน ระบบประปา พื้นที่ส่วนรวม ฯลฯ วิกฤตสร้างโอกาส การปกครองท้องถิ่นจึงเป็นความจำเป็นที่จะต้องเกิดเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งต่างๆ ในชุมชนเมืองที่นับวันขยายตัว  สำหรับเยอรมนีและอิตาลีซึ่งมีขนาดและพละกำลังพอๆ กับอังกฤษและฝรั่งเศส แต่ตั้งอยู่ห่างออกไปจึงได้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมช้าไปอีก 1

ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่า สนามหลวงนี้เป็นของราษฎร

สนามหลวงถูกล้อมรั้วรอบขอบชิด และถูกประกาศห้ามจัดกิจกรรมทางการเมืองใดๆ ตั้งแต่ปี 2010 หลังพฤษภาอำมหิตเป็นต้นมา ทว่า ช่วงเดือนกันยายน 2020 หรือ 2 ปีที่แล้ว มีการชุมนุมใหญ่ต่อต้านเผด็จการทหาร ประยุทธ์ จันทร์โอชา และแนวร่วมชุมนุมได้ ปักหมุดคณะราษฎรหมุดที่ 2 บนท้องสนามหลวง ประกาศก้อง “นี่คือการปักหมุดหมายทางประชาธิปไตยของประชาชน” ในอดีต สนามหลวงเคยเป็นพื้นที่ที่เกิดกิจกรรมมากมายหลายสิ่ง โดยที่ทุกสิ่งนั้นล้วนเป็นกิจกรรมของประชาชนทั้งสิ้น อีกทั้งเป็น ตลาดนัดขวัญใจคนยาก แหล่งท่องเที่ยวสำคัญของนักท่องเที่ยวนานาชาติ กระทั่งเป็น ศูนย์คนไร้บ้าน เดิมที ท้องสนามหลวง เป็นที่รู้จักกันในฐานะ ทุ่งพระเมรุ เพราะถูกใช้เป็นที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระเจ้าแผ่นดินและพระบรมวงศานุวงศ์ กระทั่งเมื่อปี ค.ศ. 1855 รัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 จึงเปลี่ยนชื่อเรียกจาก ทุ่งพระเมรุ เป็น ท้องสนามหลวง เพื่อไม่ให้เป็น อวมงคล และได้เริ่มมีการประกอบพระราชพิธีพืชมงคลที่ท้องสนามหลวงเป็นครั้งแรกในรัชสมัยของพระองค์นั่นเอง ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 สนามหลวงก็เคยกลายเป็นสนามแข่งม้าและสนามกอล์ฟอีกด้วย ในปี 1948 จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีขณะนั้น

ความเปลี่ยนแปลงคือสัจนิรันดร์

เพียงชนชั้นนำหัวโบราณจำนวนหยิบมือที่ไม่สำเหนียกว่าความเปลี่ยนแปลงกำลังจะมา พวกเขาคิดเหนี่ยวรั้งกระแสธารเวลาที่มีแต่รุดหน้าราวไม่เคยเรียนรู้ประวัติศาสตร์ สิ่งควรนับถือคือชนชั้นนำที่เห็นความผาสุกของบ้านเมือง คราแรกคิดเขียนเปิดบันทึกชิ้นนี้ด้วยกลุ่มประโยคข้างต้น ผมเปลี่ยนใจ และเห็นว่าควรสื่อสารกับประชาชนทุกท่านด้วยที่มาที่ไปของเว็บไซต์สื่อออนไลน์ The Voters สื่อเล็กๆ เกี่ยวกับสังคมการเมือง ประชาธิปไตย และการกระจายอำนาจ รวมถึงการรณรงค์เลือกผู้บริหารสูงสุดของจังหวัดทั่วประเทศ เป็นเวลากว่าเดือนแล้วที่ทุกท่านคงเห็นถึงความเปลี่ยนแปลง จากเพจ We’re all voters: เลือกผู้ว่าฯ ทั่วประเทศต้องเกิดขึ้นจริง ระบัดใบสู่เพจ The Voters ที่มีเว็บไซต์ให้เราเสนอคอนเทนต์ได้ลึกขึ้น ทั้งหลายทั้งปวงมิได้มีอันใดซับซ้อนมากไปกว่า ความปรารถนาสื่อสารว่าการกระจายอำนาจนั้นสำคัญ      การกระจายอำนาจอยู่ในทุกปัญหา หากเรามีอำนาจทางการเมืองจริง มีชั้นบรรยากาศเป็นประชาธิปไตยจริง เสียงทุกเสียงย่อมถูกรับฟัง ตามหลักการสากล การกระจายอำนาจคือการกระจายคุณภาพชีวิตที่ดีให้ผลิบานไปทั่วประเทศ ตรงนี้ผมมิได้จินตนาการขึ้นเอง แต่ผ่านการปรึกษาหารือกับที่ปรึกษาหลายท่าน ผมขออนุญาตเอ่ยชื่อ ทั้ง อาจารย์ชำนาญ จันทร์เรือง ผู้เชี่ยวชาญด้านกระจายอำนาจ คุณภัควดี วีระภาสพงษ์ นักเขียนนักแปล และนักกิจกรรมทางสังคมการเมือง คุณบารมี ชัยรัตน์ ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน คุณชัชฎา กำลังแพทย์ นักศึกษาปริญญาเอกประเทศญี่ปุ่น อาจารย์ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี นักวิชาการผู้ผลักดันรัฐสวัสดิการอย่างเอาจริงเอาจัง อาจารย์ธเนศวร์ เจริญเมือง