จากเลือกตั้งผู้ว่าฯ ถึงจังหวัดจัดการตนเอง

ความเป็นมาเกี่ยวกับคำว่า เลือกตั้งผู้ว่าฯ คำว่า เลือกตั้งผู้ว่าฯ  มีความสำคัญทั้งแนวคิดและการปฏิบัติ สังคมไทยในอดีตเป็นสังคมชนชั้น  คือ  มีเจ้าแผ่นดิน ขุนนางอำมาตย์ ข้าราชการระดับล่าง ต่ำกว่านั้นก็คือไพร่ทาส ที่ระยะหลังๆ เรียกว่าชาวบ้านหรือสามัญชน  จะสังเกตเห็นว่าในอดีต เราไม่มีเสรีชนที่ไม่ต้องสังกัดเจ้าขุนมูลนายคนไหน ในอดีตยุคสังคมศักดินา เนื่องจากชุมชนของเราทุกแห่งมีทุ่งนา แม่น้ำลำคลองและป่าเขา อาหารการกินจึงมีอยู่อุดมสมบูรณ์ คนที่จับปลาหรือมีผักผลไม้มากเกินความจำเป็นในบ้าน ก็เอามาวางขายหรือเอามาแลกกันกับชาวบ้านคนอื่นๆ และในระหว่างหน้าฝน ต้นข้าวกำลังงอกงาม ชาวนารอข้าวออกรวง การค้าขายแลกเปลี่ยนมีมากขึ้น  ภาคเหนือจึงมี พ่อค้าวัวต่าง นำสินค้าไปขาย จากเชียงใหม่ ลำปาง เชียงราย ไปแพร่ น่าน หรือขึ้นเหนือไปพม่า-ลาว-จีน คือ เชียงตุง เชียงรุ่ง แสนหวี และเมืองสิงห์ หรือลงไปทางใต้คือ เถิน ตาก มะละแหม่งในพม่า    ส่วนในภาคอีสาน ก็มีขบวน นายฮ้อย ขนสินค้าจากอีสานไปขายที่เวียงจันทน์ หลวงพระบาง หรือไปโคราช  อยุธยา กรุงเทพฯ   สังคมไทยไม่มีชนชั้นพ่อค้า ไม่มีเสรีชน มีแต่พ่อค้าแม่ค้าชั่วคราว

ทำไมตอนเด็กๆ เราชอบนักฟุตบอล: สังคมแบบไหนที่สามารถรักษาความฝันของผู้คนไว้ได้

เราคงจำได้ว่า เด็กๆ เรามักมีนักฟุตบอลที่เราชื่นชอบ นักร้องที่ชื่นชอบ เราอาจไม่ได้ชอบที่เสียงของพวกเขา ไม่ได้ชอบผลงานในสนามหรือประตูที่พวกเขายิงได้ ถ้วยแชมป์ของพวกเขา แต่การที่เด็กๆ แทบทุกยุคสมัยมีนักฟุตบอลเป็นต้นแบบสาเหตุหลักคือ การที่พวกเขาเห็นคนที่สามารถวิ่งตามความฝันได้ เห็นคนที่ไม่ละทิ้งความฝัน แม้จะเป็นแค่เกมกีฬา การได้เห็นคนมีอารมณ์ร่วมและได้ทำตามความฝันที่ตนได้เลือกนั้น มันจึงนับเป็นสิ่งที่สะท้อนความสำคัญสำหรับมนุษย์ทุกคน คำถามสำคัญอยู่ที่ว่า เด็กทุกคนจะสามารถวิ่งตามความฝันได้เต็มที่ เราต้องการสังคมรูปแบบไหนที่จะทำให้ความสำเร็จและความฝันไม่ได้เป็นเรื่องส่วนตัว แต่เป็นเรื่องส่วนรวมไปพร้อมกัน เมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมาเป็นการเริ่มของเทศกาลฟุตบอลโลก ผมได้มีโอกาสไปบรรยายให้แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมปลายโรงเรียนวังวิเศษ จังหวัดตรัง ในประเด็นการรักษาความฝันของผู้คนในหัวข้อ ไปสู่ฝันและชัยชนะด้วยกัน ด้วยรัฐสวัสดิการ เด็กๆ ล้วนมีนักฟุตบอลที่พวกเขาชอบ และอยากจะวิ่งตามความฝัน ผมยกตัวอย่างนักฟุตบอลที่ผมชื่นชอบคือ มาร์คัส แรชฟอร์ด จากทีมชาติอังกฤษ ผมเริ่มโดยการตั้งคำถามว่า หากเราเกิดในสังคมที่เลือกปฏิบัติจากสีผิว แม่มีลูก 5 คนและต้องทำงาน 3 กะ คนที่มาจากชนชั้นของเขามีโอกาสเพียงแค่ 0.1% ที่จะวิ่งตามความฝันของตนได้ เราจะตัดสินใจอย่างไรเมื่ออายุ 15 ปี เราจะเลือก 1.ลาออกจากโรงเรียน ทำงานที่ได้เงินทันที 2.เล่นฟุตบอลต่อ แม้จะไม่มีรายได้ 3.เลิกเล่นฟุตบอล ตั้งใจเรียนสาขาวิชาชีพ เป็นครู วิศวกร ทนาย คำถามนี้ผมยิงไปยังนักเรียนกว่า

หนึ่งหนึ่งสองกับการจองจำทางความคิด

ดั่งดิ่งจมลงสู่ห้วงลึกโศกศัลย์ ในยุคสมัยที่เราไม่ต้องใช้หินกระแทกกันเพื่อสร้างไฟ ยังมีคนเข้าใจผิดอย่างไม่น่าให้อภัยเกี่ยวกับการรณรงค์ยกเลิก ม.112 ไม่ผิดธรรมดาด้วย ผิดมหันต์ คนมีสติปัญญาเขาไม่คิดกันเยี่ยงนี้ ผมเคยเขียนไว้ในนวนิยายเรื่อง ซิมโฟนียังบรรเลง 1 ใน 9 เรื่องสุดท้าย รางวัลปีศาจว่า บ้านเราไม่ได้ต้องการฝ่ายก้าวหน้าที่แหลมคมอะไร ลำพังอนุรักษนิยมที่เป็นผู้เป็นคนบ้างก็พอแล้ว ม.112 คือกฎหมายอาญาที่เป็นปัญหา กรุณาอย่านำมาพัวพันกับสถาบันอันเป็นที่รักยิ่งของผม   สถาบันคือหนึ่งในเสาหลักของสังคม เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรให้พสกนิกรชาวไทยเช่นผมเช่นท่านมาช้านาน   เห็นไหมครับ มันคนละเรื่อง หนังคนละม้วน ก่อนจะถกเถียงกัน ต้องพยายามปรับโลกทัศน์ให้สอดคล้องต้องตรงเสียก่อน เอาล่ะ! แล้วมันจะเป็นจะตายอะไรนักหนากับมาตรา 112 ทำไมหลายคนต้องดิ้นทุรน เป็นสิครับ เป็นแน่ๆ มาตรา 112 คือการจองจำทางความคิด คือการไต่อยู่บนขอบบ่อหากเผลอพลั้งอาจพลัดหล่นลงสู่กรงขัง กรงจริงๆ ไม่ใช่กรงสำบัดสำนวน ผมขออนุญาตไม่อภิปรายถึงตัวเลขคนที่ติดคุกด้วยมาตรานี้ว่ามีจำนวนเท่าใด รวมเยาวชนอนาคตของชาติหรือไม่ ท่านสามารถสืบค้นได้ไม่ยากจากอินเทอร์เน็ต ในทัศนะของผม มาตรา 112 อัตราโทษจำคุก 3- 15 ปีนั้นสูงเกินไป เทียบเท่าความผิดฐานเตรียมการกบฏ ฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา หรือพรากผู้เยาว์อายุไม่เกิน 15 ปี

เหรียญสองด้านของรัฐราชการญี่ปุ่น-ไทย

นับตั้งแต่การรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติในปี พ.ศ. 2557 คำว่ารัฐราชการได้กลับมาได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายอีกครั้งจากการที่มีนักวิชาการตั้งข้อสังเกตว่าหรือการเมืองไทยกำลังกลับไปเป็นรัฐราชการอีกครั้ง ซึ่งรัฐราชการในที่นี้ เป็นรูปแบบการบริหารปกครองที่มีแนวโน้มรวมอำนาจในการบริหารปกครองและกำหนดนโยบายต่างๆ อยู่ที่รัฐบาล ระบบราชการส่วนกลางและกรุงเทพมหานครอย่างเข้มข้น มีการกระจายอำนาจไปยังการบริหารส่วนท้องถิ่นน้อย ภาคส่วนอื่นๆ โดยเฉพาะภาคสังคม ประชาชนมีบทบาทและส่วนร่วมน้อย ข้าราชการทหารและพลเรือนมีอำนาจในการตัดสินนโยบายสำคัญ ท่านผู้อ่านอาจคุ้นกับลักษณะดังกล่าวและคำอธิบายว่าด้วย รัฐราชการรวมศูนย์ อยู่บ้าง ซึ่งคำว่ารัฐราชการนั้นถูกนำมาใช้อธิบายลักษณะการบริหารปกครองของไทยมาตั้งแต่ในห้วงการปกครองของคณะราษฎรที่อำนาจในการบริหารปกครองอยู่กับข้าราชการทหารและพลเรือน หรือก็คือกลุ่มคณะราษฎร รัฐราชการมีความเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลานำมาสู่การขับเคลื่อนเพื่อลดอำนาจรัฐราชการรวมศูนย์ การกระจายอำนาจไปยังท้องถิ่น และข้อเรียกร้องในการปฏิรูประบบราชการ อย่างไรก็ตามหากมองในบริบทโลกแล้วลักษณะสำคัญของรัฐราชการ ซึ่งก็คือการบริหารปกครองที่พลังฝ่ายข้าราชการทหารและพลเรือนมีอำนาจในการตัดสินใจนโยบายสำคัญและกำหนดทิศทางของประเทศนั้น ไม่ได้ถือเป็นลักษณะเฉพาะที่เกิดในประเทศไทยเท่านั้น ในประเทศอื่นๆ เช่น อินโดนีเซีย อาร์เจนตินา หรือญี่ปุ่นเองก็มีช่วงเวลาที่พลังจากระบบราชการมีอำนาจเหนือฝ่ายการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งเช่นกัน ในบทความนี้ผู้เขียนจะพาผู้อ่านไปรู้จักกับรัฐราชการญี่ปุ่นกลไกขับเคลื่อนรัฐที่ทำให้ญี่ปุ่นเข้าสู่หนึ่งในประเทศที่การพัฒนาทางเศรษฐกิจก้าวกระโดด และเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ญี่ปุ่นถือเป็นประเทศที่มีท้องถิ่นเข้มแข็ง มีการกระจายอำนาจไปยังท้องถิ่นอย่างเข้มข้น ผู้บริหารท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งของประชาชน และมีอำนาจหน้าที่ยึดโยง รับผิดชอบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ เมื่อกล่าวถึงญี่ปุ่นเราจะไม่ได้นึกถึงเพียงโตเกียวที่เป็นเมืองหลวงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเมืองอื่นๆ เช่น โอซาก้า โกเบ ฟุคุโอกะ ฮอกไกโด คุมาโมโตะ ซึ่งนอกจากเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญแล้ว ยังมีสินค้าประจำท้องถิ่นที่ได้รับความนิยมทั้งในและนอกประเทศ เช่น เนื้อวัวโกเบ มาสคอตหมีคุมาโมโตะ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการสร้างแรงจูงใจให้คนกลับไปทำงานในระดับท้องถิ่น เช่น การที่เงินเดือนข้าราชการท้องถิ่นมากกว่าข้าราชการส่วนกลาง การขนส่งสาธารณะโดยเฉพาะรถไฟที่มีค่อนข้างทั่วถึงในเมืองใหญ่ หลังสงครามโลกครั้งที่

พ.ร.บ.เลือกตั้งผู้บริหารสูงสุดของจังหวัดทั่วประเทศ และจังหวัดจัดการตนเอง ฉบับประชาชน

บันทึกหลักการและเหตุผล ประกอบร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ (…) พุทธศักราช… หลักการ แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อยกเลิกบทบัญญัติในหมวด ๑๔ การปกครองส่วนท้องถิ่น ตั้งแต่มาตรา ๒๔๙ ถึงมาตรา ๒๕๔ และเพิ่มบทบัญญัติหมวด ๑๔ การปกครองส่วนท้องถิ่น มาตรา ๒๔๙ ถึง มาตรา ๒๕๔/๖ แทน เหตุผล รัฐธรรมมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มีบทบัญญัติในหมวด ๑๔ การปกครองส่วนท้องถิ่น อันมีเนื้อหาสาระอันเป็นอุปสรรคต่อการกระจายอำนาจ และการจัดตั้งจังหวัดจัดการตนเอง รวมถึงการเลือกตั้งผู้บริหารสูงสุดของจังหวัดทั่วประเทศ ตามหลักแห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขาดอิสระในการกำหนดนโยบาย การบริหาร การจัดทำบริการสาธารณะ การบริหารงานบุคคล การเงินและการคลัง การจัดทำและการใช้จ่ายงบประมาณ อำนาจซ้ำซ้อนกับราชการส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค เพื่อให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงจำเป็นต้องตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนี้ ร่าง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่…) พุทธศักราช … โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑ รัฐธรรมนูญนี้เรียกว่า “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่…)

ข้อเสียของผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการเลือกตั้ง ?

เมื่อเดือนกันยายน 2565 ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสไปกล่าวปาฐกถาและร่วมเสวนาในโครงการสัมมนาปัญหาการเมืองไทย ภายใต้หัวข้อ เนาะแบนอ ผู้ว่าฯ รูเมาะฮ์กีตอ กระแสการเรียกร้องเลือกตั้งผู้ว่าฯ กับการปกครองพิเศษชายแดนใด้ ของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ซึ่งเป็นโครงการฯ ที่ดีมาก มีกิจกรรมของนักศึกษาหลายอย่าง มีการสาธิตการเลือกตั้ง ฯลฯ แต่ที่ผมประทับใจมากที่สุดอย่างหนึ่ง คือ การจัดทำเอกสารประกอบการเสวนาฯ เล่มเล็กๆ เล่มหนึ่ง ซึ่งจัดทำโดยนักศึกษาล้วนๆ มีเนื้อหาที่น่าสนใจมาก และมีการอ้างอิงที่มาในบรรณานุกรมอย่างเป็นระบบ ในเนื้อหาประกอบไปด้วยประวัติศาสตร์การเรียกร้องและการผลักดันการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด/พัฒนาการผู้ว่าราชการจังหวัดของไทย/ปัญหาผู้ว่าราชการจังหวัดจากการแต่งตั้ง/ข้อดีของการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด/ข้อเสียของระบบผู้ว่าราชการจังหวัดจากการเลือกตั้ง/ผู้ว่าราชการจังหวัดของญี่ปุ่น/อิทธิพลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ต่อกระแสความต้องการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด//แนวทางและข้อเสนอการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด/โอกาสและความเป็นไปได้ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด/อุปสรรคการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดและกระแสการเรียกร้องเลือกตั้งผู้ว่าฯ กับการปกครองพิเศษชายแดนใต้ ซึ่งผมเห็นว่าเป็นประโยชน์เป็นอย่างยิ่ง และน่าจะได้นำออกเผยแพร่สู่สาธารณะ โดยผมจะยกเอามาเพียงบางส่วนและตอบข้อสงสัยเหล่านั้น คือ หัวข้อ ข้อเสียของระบบผู้ว่าราชการจังหวัดจากการเลือกตั้ง ซึ่งผมเชื่อว่ายังมีผู้เข้าใจและสงสัยไปในทำนองนี้เป็นจำนวนมาก และมักจะถูกยกมาเป็นข้ออ้างพื่อโต้แย้งกระแสการรณรงค์เลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดอยู่เสมอ คือ 1.ทำให้รัฐบาลขาดเอกภาพในการบริหารการปกครองหากให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะหัวหน้าฝ่ายบริหารขององค์การบริหารส่วนจังหวัดแล้ว จะมีผลทำให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นหน่วยงานปกครองท้องถิ่นที่เต็มรูปซึ่งจะสามารถกำหนดนโยบายและการดำเนินการต่างๆ ในเขตจังหวัดของตนเองได้อย่างเต็มที่ ซึ่งอาจมีสาระสำคัญที่แตกต่างกัน ถ้าเป็นลักษณะเช่นนี้จะก่อให้เกิดความวุ่นวายสับสน องค์การบริหารส่วนจังหวัดแต่ละแห่งก็จะพยายามแยกตนออกเป็นเอกเทศ ตอบ – ไม่จริง ยิ่งเป็นเอกภาพเพราะเป็นการควบรวมราชการส่วนภูมิภาคกับราชการส่วนท้องถิ่นเข้าด้วยกัน ไม่ต้องเกิดการทับซ้อนในอำนาจหน้าที่เช่นในปัจจุบันนี้ ส่วนประเด็นการที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดแต่ละแห่งจะพยายามแยกตนออกเป็นเอกเทศยิ่งเป็นไปไม่ได้ เพราะไม่ใช่รัฐอิสระ 2.จะมีผลต่อประสิทธิภาพและงบประมาณในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดยังมีทีมงานนับตั้งแต่ ปลัดจังหวัดในอำเภอและข้าราชการส่วนภูมิภาคตลอดจนกำนันผู้ใหญ่บ้านที่จะช่วยการปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ให้บังเกิดความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพจะมีผลกระทบต่องบประมาณของจังหวัดซึ่งมีน้อยอยู่แล้ว

ทำไมต้องกระจายอำนาจ

เหตุผลที่เราต้องกระจายอำนาจก็คือ มันจะทำให้ผู้มีอำนาจสูงลิ่วแสบร้อนเหมือนพลัดหล่นลงไปในปล่องภูเขาไฟ ล้อเล่นครับ ในความจริงผมขออนุญาตยกคำครูของผมทั้ง 2 ท่าน อ.ชำนาญ จันทร์เรือง ผู้เชี่ยวชาญเรื่องกระจายอำนาจ และ อ.ธเนศวร์ เจริญเมือง ผู้รณรงค์เรื่องกระจายอำนาจมานาน อ.ชำนาญยกตัวอย่างปัญหารายได้ท้องถิ่นยังไม่เพียงพอ ปัจจุบันเราเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นเก็บภาษีได้เล็กน้อย เช่น ภาษีป้าย ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีล้อเลื่อน ฯลฯ รายได้จึงไม่เพียงพอ แต่หากภาษีที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นทั้งหมดถูกจัดเก็บโดยท้องถิ่น จัดส่งไปส่วนกลาง 50 เปอร์เซ็นต์ เอาไว้ใช้ในท้องถิ่น 50 เปอร์เซ็นต์ 50 เปอร์เซ็นต์นั้นก็จะไปช่วยเหลือที่อื่นที่ยากจน เช่น ญี่ปุ่นก็ส่งไปให้ฮอกไกโดหรือโอกินาวา เมื่อทุกอย่างเข้ารูปเข้ารอย สามารถปรับอัตราเป็นท้องถิ่นเก็บไว้ใช้ 70 เปอร์เซ็นต์ ส่งส่วนกลาง 30 เปอร์เซ็นต์ ลองจินตนาการดูนะครับ ว่าสัดส่วนขนาดนี้ ท้องถิ่นทั่วไทยผู้คนจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขนาดไหน สอดคล้องกับประโยคที่ผมเขียนเสมอๆ ว่า การกระจายอำนาจ คือการกระจายคุณภาพชีวิตที่ดีสู่คนทั้งประเทศ ด้าน อ.ธเนศวร์ ทำนายอนาคตไว้ว่า หากตัวแทนฝ่ายประชาชนได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนทุกอำเภอให้ก้าวขึ้นเป็นผู้ว่าฯ มีการหาเสียงแข่งขันกันระหว่างผู้สมัครหลายคนในตำบลและอำเภอต่างๆ ทั้งจังหวัด จะเป็นบรรยากาศใหม่ที่ส่งผลดีทุกๆ ด้านต่อประชาชนและจังหวัด การไปฟังการปราศรัยหาเสียงจะมีจำนวนมากขึ้น

เมื่อคนรุ่นใหม่และคนจน เลือกผู้นำการเมืองฝ่ายซ้ายเป็นประธานาธิบดีในบราซิล

ย้อนกลับไป 20 ปีก่อน โลกเผชิญกับความเหลื่อมล้ำมหาศาลจากการขยายตัวของลัทธิเสรีนิยมใหม่ นับจากช่วง 1970-1980 อำนาจของกลุ่มทุนขยายตัวเพิ่มมากขึ้น พร้อมกับอำนาจของประชาชนที่ถูกจำกัดน้อยลง กลุ่มชนชั้นนำพร่ำบอกว่าโลกนี้ไม่มีทางเลือก จะชอบหรือจะชัง ยุคทองของรัฐสวัสดิการที่รัฐโอบอุ้มดูแลผู้คนได้ผ่านไปแล้ว ตอนนี้ไม่มีรัฐกับประชาชนอีกต่อไปเหลือเพียงแค่ ตลาดกับผู้ประกอบการ อันเป็นจุดเริ่มต้นของการทำลายระบบรัฐสวัสดิการในยุโรป รวมถึงการขยายอำนาจทุนทั่วทั้งโลก การย้ายฐานการผลิต แทรกแซงกลไกทางการเมืองและกฎหมายในประเทศกำลังพัฒนาเพื่อให้ดำเนินนโยบายต่างๆ เอื้อต่อกลุ่มทุนข้ามชาติ เศรษฐีพันล้านเพิ่มขึ้นมากมาย ผู้คนถูกดึงเข้าสู่ระบบการสะสมทุนแบบใหม่ ซึ่งหมายถึงชั่วโมงการทำงานที่หนักอึ้ง หนี้สินเพื่อเข้าถึงสวัสดิการพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา ที่อยู่อาศัย น้ำ ไฟ การเดินทาง ความบันเทิงล้วนถูกยึดครองโดยกลุ่มทุน เวลานับสิบปี ชุมชนในประเทศยากจนเสียทรัพยากรธรรมชาติ ผู้คนทำงานหนักมากขึ้น แต่ยากจนลง แต่กลุ่มทุนการเงิน กลุ่มทุนเทคโนโลยี และทุนข้ามชาติมั่งคั่งมากขึ้นมหาศาล ต้นศตวรรษที่ 21 กระแสความไม่พอใจที่สะสม การลุกฮือของผู้คนก่อนหน้านี้ คลื่นกระแสการเปลี่ยนแปลงมาถึงในลาตินอเมริกา ไม่ว่าจะเป็นขบวนการชาวนาไร้ที่ดิน (Zapatista) ในเม็กซิโกที่ขัดขืนต่อการเข้ามาควบคุมทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ การลุกฮือนัดหยุดงานในหลายพื้นที่ และการปูพื้นฐานการก้าวสู่อำนาจของพรรคการเมืองฝ่ายซ้าย ไม่ว่าจะเป็น ฮูโก ชาเวซ ของเวเนซูเอลา โฮเซ มูฮิกา จากอุรุกวัย และที่สำคัญ ลูลา ดาซิลวา

ภาษากฎหมาย

เชื่อหรือไม่ว่าประเทศไทยเราน่าจะเป็นประเทศที่มีการเสนอข่าวเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมายผ่านทางสื่อทั้งสื่อกระแสหลักและสื่อสังคมออนไลน์มากที่สุดในโลก ถ้าท่านลองสังเกตดูให้ดี จะพบว่าปัญหาข้อขัดแย้งในสังคมที่ถูกหยิบยกสู่การนำเสนอของสื่อโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการเมืองการปกครอง ล้วนแล้วแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายแทบทั้งสิ้น ผู้ที่ตกเป็นจำเลยก็คือบรรดานักกฎหมายทั้งหลายนั่นเองที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นตัวยุ่ง เป็นตัวสร้างปัญหาให้แก่บ้านเมือง เพราะในการให้ความเห็นในปัญหากฎหมายของนักกฎหมาย (ทั้งของจริงและของไม่จริง) ผ่านสื่อต่างๆ ก็มักมีความเห็นสวนทางกันอยู่เสมอ สุดแล้วแต่ว่าตนเองเชียร์ฝ่ายใด โดยมีธงคำตอบอยู่ในใจไว้ล่วงหน้าแล้วก่อนที่จะตีความปัญหา ข้อกฎหมายนั้นๆ ปัญหาที่น่าปวดหัวของคนทั่วไปที่ไม่ได้ร่ำเรียนมาทางกฎหมายโดยตรง (ในบางครั้งก็รวมถึงนักกฎหมายเองด้วย) ก็คือปัญหาในการตีความศัพท์แสงทางกฎหมาย ซึ่งโดยปกติแล้วการตีความกฎหมายจะมีการตีความตามตัวอักษร (Textual Approach) และการตีความตามเจตนารมณ์ (Purposive Approach) ฉะนั้น จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นจะต้องรู้จัก ภาษา ที่ใช้ในกฎหมาย ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ (1) ภาษาคนหรือภาษาธรรมดาทั่วไป โดยปกติถ้อยคำหรือภาษาในกฎหมายทั่วๆ ไปแล้ว ย่อมมีความหมายตามที่ คนทั่วไปเข้าใจ การตีความก็ต้องตีความไปตามความหมายของศัพท์เหล่านั้น เช่น ฆ่า ก็ย่อมหมายถึงทำให้ตายหรือเสียชีวิต ฯลฯ (2) ภาษากฎหมายหรือภาษาทางเทคนิค หมายถึง ภาษาที่มีความหมายพิเศษ กว้างขวางลึกซึ้ง แตกต่างไปจากภาษาธรรมดา หรือภาษาที่คนใช้อยู่ทั่วๆ ไป ภาษากฎหมายนี้ใช้และเข้าใจกันอยู่ในบรรดาของแวดวงนักกฎหมายที่เข้าใจกันเป็นการเฉพาะ ในประเด็นนี้ ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ์ ได้ยกตัวอย่างในรายงานการวิจัย เรื่อง

ถ้าคนไทยได้เลือกตั้งผู้ว่าฯ ทุกจังหวัด สังคมไทยจะเป็นสังคมที่เจริญก้าวหน้ามากเพียงใด?

ขอให้คิดถึงบรรพชนของเรา  และคิดถึงลูกหลานของเรา (Think of your forefathers, think of your posterity.) John Adams (2nd U.S. President, 1738-1826) การเลือกตั้งผู้ว่าฯ เป็นการเลือกตั้งผู้นำเพียง 1 คนโดยประชาชน เพื่อให้เขาได้บริหารงานของจังหวัดหรือรัฐตามเวลาที่กฏหมายกำหนดไว้ เช่น 4 ปี หรือ 5 ปี (เมื่อครบวาระแล้ว จะสมัครรับเลือกต่อได้หรือไม่  ก็ต้องดูว่ากฎหมายระบุไว้ว่าอย่างไร) เราเรียกระบบนี้ในหลักการบริหารว่าเป็นระบบผู้บริหารสูงสุด (Chief Executive Officer หรือ CEO) คือมีหัวหน้าคนเดียว เป็นผู้บังคับบัญชา และมีอำนาจเด็ดขาดในการบริหารจังหวัดหรือรัฐ ผู้นำคนนี้มีอำนาจแต่งตั้งหัวหน้าสายงานต่างๆ และปลดออกจากตำแหน่งได้ทุกเมื่อ หลายคนเรียกระบบนี้ว่า ระบบผู้บริหารเข้มแข็ง (Strong Executive Officer Form) นี่คือระบบที่เกิดขึ้นครั้งแรกในสหรัฐ ซึ่งมิใช่ระบบที่อยู่ดีๆ ก็ตกลงมาจากฟ้า แต่มีที่มาทางประวัติศาสตร์ คนอเมริกันในอดีตคือคนอังกฤษที่อพยพหลบหนีภัยเผด็จการมา อังกฤษมีกษัตริย์เป็นผู้บริหารสูงสุด แต่จุดอ่อนของระบบดังกล่าวคือ มาจากการแต่งตั้ง